แนวคิดการพัฒนากฎหมายแรงงานของไทย: ศึกษากรณีแรงงานเด็กเคลื่อนย้ายถิ่นฐานในอุตสาหกรรมงานก่อสร้าง
by ปานวาด ทับทัง
Title: | แนวคิดการพัฒนากฎหมายแรงงานของไทย: ศึกษากรณีแรงงานเด็กเคลื่อนย้ายถิ่นฐานในอุตสาหกรรมงานก่อสร้าง |
Other title(s): | The development of Thai labor law : a case study of migrant child in the construction industry |
Author(s): | ปานวาด ทับทัง |
Advisor: | วัชรชัย จิรจินดากุล |
Degree name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree department: | คณะนิติศาสตร์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2018 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษากฎหมายกับนโยบายว่าด้วยแนวคิดการพัฒนากฎหมายแรงงานของไทย โดยศึกษากรณีปัญหาแรงงานเด็กเคลื่อนย้ายถิ่นฐานในอุตสาหกรรมงานก่อสร้าง เนื่องจากประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่เข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economics Community : AEC) ที่มีนโยบายส่งเสริมให้เกิดการเคลื่อนย้ายเสรีทั้งสิ่งของและคนในภูมิภาค ส่งผลให้ปัจจุบันมีแรงงานเคลื่อนย้ายถิ่นฐานเข้ามาทำงานในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก โดยหนึ่งในนั้นเป็นแรงงานเด็กเคลื่อนย้ายถิ่นฐานที่เข้าทำงานในอุตสาหกรรมก่อสร้าง
ทั้งนี้การคุ้มครองสิทธิเด็กและแรงงานเด็กเป็นหนึ่งในเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ที่องค์การสหประชาชาติร่วมมือกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศกำหนดขึ้นเพื่อยุติการใช้แรงงานเด็ก อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันยังพบว่ามีการใช้แรงงานเด็กเกิดขึ้นอยู่ ผู้เขียนจึงต้องการมุ่งสำรวจและวิเคราะห์สถานการณ์แรงงานเด็กในประเทศไทย โดยสำรวจทั้งปัญหาทางข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ทั้งในระดับกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายใน ทั้งนี้การศึกษาในหัวข้อนี้เป็นการศึกษากฎหมายในมิติของกฎหมายกับการพัฒนา (Law and Development) โดยมุ่งวิเคราะห์พัฒนาการข้อความคิด กรณีศึกษา และสถานการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นในบริบทของประเทศไทยปัจจุบัน โดยผู้เขียนได้ปรับใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสารทางนิติศาสตร์เป็นแนวทางการในการวิเคราะห์ปัญหา
จากการศึกษาพบว่า 1) ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีคำนิยาม “แรงงานเด็กเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน” ที่ชัดเจน ก่อให้เกิดช่องว่างทางกฎหมายในการปรับใช้และตีความ ทำให้แรงงานเด็กเคลื่อนย้ายถิ่นฐานไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ผู้เขียน จึงเสนอเห็นควรบัญญัติคำนิยามของเด็กกลุ่มนี้ไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ให้ชัดเจน
2) การใช้แรงงานเด็กเป็นหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ควรที่จะมีการกำหนดหลักเกณฑ์อายุของการใช้แรงงานเด็ก และรายละเอียดของงานที่เด็กสามารถทำได้สำหรับกรณีของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่มีความจำเป็นที่ต้องใช้แรงงานเด็กเป็นการเฉพาะ
3) แรงงานเด็กเคลื่อนย้ายถิ่นฐานในอุตสาหกรรมก่อสร้างจำพวกต้อง ยก แบก หาม หาบ สิ่งของที่มีน้ำหนักมากนั้น ไม่ระบุเป็นงานอันตรายในกฎหมายคุ้มครองแรงงานของไทย ควรที่จะมีการบัญญัติงานในลักษณะดังกล่าวเป็นงานอันตรายสำหรับการใช้แรงงานเด็กในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
4) มาตรการกลไกของไทยต่อการปฏิบัติตามพันธกรณีอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีการรับพันธกรณี อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติไม่สามารถปฏิบัติได้เต็มประสิทธิภาพทำให้เกิดช่องว่างทางกฎหมาย ควรที่จะมีการกำหนดมาตรการทางกฎหมายในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 โดยการแก้ไขบทบัญญัติกฎหมายหมวดการใช้แรงงานเด็กในส่วนบทลงโทษให้หนักขึ้น |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561 |
Subject(s): | กฎหมายแรงงาน
แรงงานเด็ก -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย การย้ายถิ่นของแรงงานเด็ก |
Keyword(s): | e-Thesis
แรงงานเด็กเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน แรงงานอุตสาหกรรมก่อสร้าง เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 158 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4982 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|