ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับหลักความยินยอมไม่เป็นละเมิด: กรณีศึกษาเปรียบเทียบไทย - สหรัฐอเมริกา
by ภานุพงศ์ พงษาชัย
Title: | ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับหลักความยินยอมไม่เป็นละเมิด: กรณีศึกษาเปรียบเทียบไทย - สหรัฐอเมริกา |
Other title(s): | The law of volenti non fit injuria : a comparative study of Thai - United State |
Author(s): | ภานุพงศ์ พงษาชัย |
Advisor: | ฌานิทธิ์ สันตะพัน |
Degree name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree department: | คณะนิติศาสตร์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2018 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
หลักความยินยอมไม่เป็นละเมิด หรือหลัก Volenti non fit injuria เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นจากระบบกฎหมายโรมันที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญต่อการแสดงเจตนาของบุคคล กล่าวคือ หากบุคคลแสดงเจตนาเช่นใดก็ย่อมต้องยอมรับผลที่จะเกิดขึ้นจากการแสดงเจตนานั้นไม่ว่าผลนั้นจะดีหรือไม่ดีก็ตาม โดยประเทศสหรัฐอเมริกาก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับอิทธิพลแนวคิดหลักความยินยอมไม่เป็นละเมิดมาจากระบบกฎหมายโรมันแม้จะได้รับการถ่ายทอดมาจากประเทศอังกฤษอีกทอดหนึ่งก็ตาม แต่ในปัจจุบันประเทศสหรัฐอเมริกาได้ทำการตราบทบัญญัติมาตรา 496A แห่ง Restatement of law (Second), of tort กำหนดคำนิยามให้ความหมายและตั้งข้อจำกัดบางประการในการกล่าวอ้างหลักความยินยอมไม่เป็นละเมิดอย่างละเอียด เช่น การกำหนดให้ว่าหลักความยินยอมไม่เป็นละเมิด กับ หลัก Assumption of risk เป็นหลักกฎหมายเดียวกันต่างแต่เพียงชื่อเรียกเท่านั้น หรือการกำหนดห้ามมิให้นายจ้างกล่าวอ้างความยินยอมของลูกจ้างเพื่อให้พ้นจากความรับผิดทางละเมิดอันเกิดจากการจ้างแรงงาน รวมถึงคำพิพากษาของศาลสหรัฐอเมริกายังคงวางหลักเกณฑ์ในการพิจารณาหลักความยินยอมไม่เป็นละเมิดเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่คู่ความทั้งสองฝ่าย
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักกฎหมายความยินยอมไม่เป็นละเมิดจากประวัติศาสตร์ของหลักความยินยอมไม่เป็นละเมิด และศึกษาเชิงเปรียบเทียบทั้งจากบทบัญญัติกฎหมายและคำวินิฉัยคดีของศาล โดยการศึกษาจะมุ่งเน้นไปที่การเปรียบเทียบแนวทางการปรับใช้และการตีความหลักความยินยอมไม่เป็นละเมิดจากประเทศสหรัฐอเมริกา ต่อ แนวทางการปรับใช้และการตีความหลักความยินยอมไม่เป็นละเมิดของศาลไทยทั้งก่อนและหลังการตราพระราชบัญญัติข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 และทำการรวบรวมข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องจากแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ
ผลการศึกษาพบว่า การปรับใช้หลักความยินยอมไม่เป็นละเมิดในประเทศไทยยังคงมีจุดบกพร่องอยู่ ทั้งในเรื่องการขาดบทบัญญัติกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรสำหรับหลักความยินยอมไม่เป็นละเมิด และปัญหาในการตีความกฎหมายที่ต้องห้ามมิให้ยกหลักความยินยอมไม่เป็นละเมิดขึ้นต่อสู้คดี รวมถึงปัญหาความทับซ้อนของบทบัญญัติมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติข้อสัญญาที่ไม่เป็น 2540 ต่อมาตรา 150 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้นวิทยานิพนธ์นี้จึงทำการเสนอให้มีการแก้ไขและเพิ่มเติมพระราชบัญญัติข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 ด้วยเหตุว่า การที่กำหนดหลักเกณฑ์และข้อจำกัดหรือข้อห้ามในการปรับใช้หลักความยินยอมไม่เป็นละเมิดก็เพื่อสร้างความเป็นธรรมแก่คู่ความทั้งสองฝ่าย และลดช่องว่างความไม่เท่าเทียมของบุคคลในประเทศไทยซึ่งมีอำนาจต่อรองในทางสังคมหรือในขณะที่มีการให้ความยินยอมที่แตกต่างกันซึ่งเป็นเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตั้งแต่ต้น และเพื่อให้เกิดความชัดเจนและเป็นรูปธรรมเหมือนกฎหมายของประเทศที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลอย่างกฎหมายประเทศสหรัฐอเมริกา |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561 |
Subject(s): | ความยินยอม (กฎหมาย) -- ไทย
ความยินยอม (กฎหมาย) -- สหรัฐอเมริกา กฎหมายเปรียบเทียบ -- ไทย กฎหมายเปรียบเทียบ -- สหรัฐอเมริกา |
Keyword(s): | หลักความยินยอมไม่เป็นละเมิด
หลักสมมุติฐานความเสี่ยงภัย ข้อต่อสู้ความรับผิดทางละเมิด e-Thesis |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 197 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Rights holder(s): | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4983 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View b207948.pdf ( 2,810.06 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
|