• English
    • ไทย
  • ไทย 
    • English
    • ไทย
  • เข้าสู่ระบบ
ดูรายการข้อมูล 
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

เรียกดูข้อมูล

ข้อมูลทั้งหมดของ คลังปัญญาชุมชน & กลุ่มข้อมูลวันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากรกลุ่มข้อมูลนี้วันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากร

บัญชีของฉัน

เข้าสู่ระบบลงทะเบียน

ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับหลักความยินยอมไม่เป็นละเมิด: กรณีศึกษาเปรียบเทียบไทย - สหรัฐอเมริกา

by ภานุพงศ์ พงษาชัย

ชื่อเรื่อง:

ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับหลักความยินยอมไม่เป็นละเมิด: กรณีศึกษาเปรียบเทียบไทย - สหรัฐอเมริกา

ชื่อเรื่องอื่นๆ:

The law of volenti non fit injuria : a comparative study of Thai - United State 

ผู้แต่ง:

ภานุพงศ์ พงษาชัย

ผู้ควบคุมงานวิจัย:

ฌานิทธิ์ สันตะพัน

ชื่อปริญญา:

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

ระดับปริญญา:

Master's

คณะ/หน่วยงาน:

คณะนิติศาสตร์

หน่วยงานที่ประสาทปริญญา:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันที่เผยแพร่:

2561

หน่วยงานที่เผยแพร่:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:

หลักความยินยอมไม่เป็นละเมิด หรือหลัก Volenti non fit injuria เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นจากระบบกฎหมายโรมันที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญต่อการแสดงเจตนาของบุคคล กล่าวคือ หากบุคคลแสดงเจตนาเช่นใดก็ย่อมต้องยอมรับผลที่จะเกิดขึ้นจากการแสดงเจตนานั้นไม่ว่าผลนั้นจะดีหรือไม่ดีก็ตาม โดยประเทศสหรัฐอเมริกาก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับอิทธิพลแนวคิดหลักความยินยอมไม่เป็นละเมิดมาจากระบบกฎหมายโรมันแม้จะได้รับการถ่ายทอดมาจากประเทศอังกฤษอีกทอดหนึ่งก็ตาม แต่ในปัจจุบันประเทศสหรัฐอเมริกาได้ทำการตราบทบัญญัติมาตรา 496A แห่ง Restatement of law (Second), of tort กำหนดคำนิยามให้ความหมายและตั้งข้อจำกัดบางประการในการกล่าวอ้างหลักความยินยอมไม่เป็นละเมิดอย่างละเอียด เช่น การกำหนดให้ว่าหลักความยินยอมไม่เป็นละเมิด กับ หลัก Assumption of risk เป็นหลักกฎหมายเดียวกันต่างแต่เพียงชื่อเรียกเท่านั้น หรือการกำหนดห้ามมิให้นายจ้างกล่าวอ้างความยินยอมของลูกจ้างเพื่อให้พ้นจากความรับผิดทางละเมิดอันเกิดจากการจ้างแรงงาน รวมถึงคำพิพากษาของศาลสหรัฐอเมริกายังคงวางหลักเกณฑ์ในการพิจารณาหลักความยินยอมไม่เป็นละเมิดเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่คู่ความทั้งสองฝ่าย วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักกฎหมายความยินยอมไม่เป็นละเมิดจากประวัติศาสตร์ของหลักความยินยอมไม่เป็นละเมิด และศึกษาเชิงเปรียบเทียบทั้งจากบทบัญญัติกฎหมายและคำวินิฉัยคดีของศาล โดยการศึกษาจะมุ่งเน้นไปที่การเปรียบเทียบแนวทางการปรับใช้และการตีความหลักความยินยอมไม่เป็นละเมิดจากประเทศสหรัฐอเมริกา ต่อ แนวทางการปรับใช้และการตีความหลักความยินยอมไม่เป็นละเมิดของศาลไทยทั้งก่อนและหลังการตราพระราชบัญญัติข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 และทำการรวบรวมข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องจากแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ ผลการศึกษาพบว่า การปรับใช้หลักความยินยอมไม่เป็นละเมิดในประเทศไทยยังคงมีจุดบกพร่องอยู่ ทั้งในเรื่องการขาดบทบัญญัติกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรสำหรับหลักความยินยอมไม่เป็นละเมิด และปัญหาในการตีความกฎหมายที่ต้องห้ามมิให้ยกหลักความยินยอมไม่เป็นละเมิดขึ้นต่อสู้คดี รวมถึงปัญหาความทับซ้อนของบทบัญญัติมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติข้อสัญญาที่ไม่เป็น 2540 ต่อมาตรา 150 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้นวิทยานิพนธ์นี้จึงทำการเสนอให้มีการแก้ไขและเพิ่มเติมพระราชบัญญัติข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 ด้วยเหตุว่า การที่กำหนดหลักเกณฑ์และข้อจำกัดหรือข้อห้ามในการปรับใช้หลักความยินยอมไม่เป็นละเมิดก็เพื่อสร้างความเป็นธรรมแก่คู่ความทั้งสองฝ่าย และลดช่องว่างความไม่เท่าเทียมของบุคคลในประเทศไทยซึ่งมีอำนาจต่อรองในทางสังคมหรือในขณะที่มีการให้ความยินยอมที่แตกต่างกันซึ่งเป็นเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตั้งแต่ต้น และเพื่อให้เกิดความชัดเจนและเป็นรูปธรรมเหมือนกฎหมายของประเทศที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลอย่างกฎหมายประเทศสหรัฐอเมริกา
Volenti non fit injuria is a concept developed by the Roman legal system that focuses on the presentation of the intent of the person, in other words, if the person expresses his will, it must accept the result. The intent is whether the result is good or bad. The United States is one country that influenced the concept of Volenti non fit injuria of Roman law system, although inherited from England again. At present, the United States has enacted the provisions of Section 496A of the Restatement of law (Second), of tort, defining definitions and restricting certain notions of non-infringement. Such as requiring that the Volenti non fit injuria of the Assumption of risk is the same as the law, but only the name or the regulation prohibiting the employer from claiming the employee's consent to be free from tortious liability arising out of employment. The Court of the United States set the criteria for determining of the Volenti non fit injuria to be fair to both parties. This thesis aims to study the law of Volenti non fit injuria of the history of the Volenti non fit injuria, and the comparative study of both the law and the court's case law. The study will focus on comparing the guidelines for the implementation and interpretation of Volenti non fit injuria from the United States to the guidelines for the implementation and interpretation of Volenti non fit injuria of Thai courts before and after the enactment of the Unfair Contract Terms Act B.E. 2540. And to collect relevant data from reliable sources. The study indicated that The deployment of Volenti non fit injuria in Thailand continues to be a defect. Both the lack of written legislation for Volenti non fit injuria and the problem of interpreting the law forbidding the Volenti non fit injuria to defend in the case. Including the problem of overlap of the provisions of Section 9 of the the Unfair Contract Terms Act B.E. 2540 to Section 150 of the Civil and Commercial Code. Therefore, this thesis is proposed to amend and add to the Unfair Contract Terms Act B.E. 2540 because of that. The determination of the rules and restrictions or interdictions on the Volenti non fit injuria conduct is to ensure fairness to both parties. And reduce the inequalities of individuals in Thailand who have a social bargaining power or when there is a different consensus, which is the intent of the Unfair Contract Terms Act B.E. 2540 from the beginning. And to be as clear and concrete as the laws of countries that are universally accepted as United States law.

รายละเอียดเพิ่มเติม:

วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561

หัวเรื่องมาตรฐาน:

ความยินยอม (กฎหมาย) -- ไทย
ความยินยอม (กฎหมาย) -- สหรัฐอเมริกา
กฎหมายเปรียบเทียบ -- ไทย
กฎหมายเปรียบเทียบ -- สหรัฐอเมริกา

คำสำคัญ:

หลักความยินยอมไม่เป็นละเมิด
หลักสมมุติฐานความเสี่ยงภัย
ข้อต่อสู้ความรับผิดทางละเมิด
e-Thesis

ประเภททรัพยากร:

วิทยานิพนธ์

ความยาว:

197 แผ่น

ชนิดของสื่อ:

Text

รูปแบบแฟ้มข้อมูล:

application/pdf

ภาษา:

tha

สิทธิในการใช้งาน:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ผู้ครอบครองสิทธิ์:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4983
แสดงระเบียนรายการแบบเต็ม

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT)

Thumbnail
ดู
b207948.pdf ( 2,810.06 KB )

This item appears in the following Collection(s)

  • GSL: Theses [99]
Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

‹›×