แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของมัคคุเทศก์ที่พึงประสงค์ต่อการให้บริการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของประเทศไทย
by พรพิสุทธิ์ ภมรศิริตระกูล
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของมัคคุเทศก์ที่พึงประสงค์ต่อการให้บริการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของประเทศไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Competency development guidelines of tour guides for creative tourism service in Thailand |
ผู้แต่ง: | พรพิสุทธิ์ ภมรศิริตระกูล |
ผู้ควบคุมงานวิจัย: | วรรักษ์ สุเฌอ |
ชื่อปริญญา: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
ระดับปริญญา: | Master's |
สาขาวิชา: | การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ |
คณะ/หน่วยงาน: | คณะการจัดการการท่องเที่ยว |
หน่วยงานที่ประสาทปริญญา: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
หน่วยงานที่เผยแพร่: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ: |
การวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของมัคคุเทศก์ที่พึงประสงค์ต่อการให้บริการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของประเทศไทยเป็นการวิจัยที่ประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Research Methods) มีวัตถุประสงค์ ดังนี้1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะมัคคุเทศก์ในปัจจุบัน 2) เพื่อประเมินสมรรถนะมัคคุเทศก์ที่พึงประสงค์ต่อการให้บริการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของประเทศไทย 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของมัคคุเทศก์ที่พึงประสงค์ต่อการให้บริการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของประเทศไทย โดยวิธีการในการเก็บข้อมูลเริ่มตั้งแต่การสัมภาษณ์มัคคุเทศก์ทั่วไป จำนวน 10 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์แก่นสาระ (Thematic Analysis) จากนั้นนำผลเชิงคุณภาพที่ได้จากการสัมภาษณ์ไปพัฒนาสร้างแบบสอบถามเชิงปริมาณซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลกับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 410 คน และใช้สถิติเชิงพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Statistic) ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ( Inferential Statistic) ได้แก่การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Factor Analysis) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)
สำหรับผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Factor Analysis) พบว่าสมรรถนะมัคคุเทศก์ที่พึงประสงค์ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.905 ค่าน้ำหนักองค์ประกอบตั้งแต่ 0.651-0.934 รวม 21 ตัวแปร จำแนกเป็น 5 องค์ประกอบ คือ ด้านคุณค่าและแนวคิดของตนเอง ด้านลักษณะเฉพาะตน ด้านบทบาทของตนเอง ด้านทักษะ และด้านคุณค่าทางสังคม ส่วนการให้บริการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.920 ค่าน้ำหนักองค์ประกอบตั้งแต่ 0.659-0.890 รวม 15 ตัวแปร จำแนกเป็น 4 องค์ประกอบ คือด้านการร่วมสร้างคุณค่าและประสบการณ์อย่างแท้จริง ด้านความมุ่งมั่นตั้งใจของเจ้าบ้าน ด้านการเข้าถึงประสบการณ์จริง และด้านเรียนรู้ในวัฒนธรรมประเพณีที่แตกต่าง
นอกจากนี้สำหรับผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) จากการนำตัวแปรที่ได้จากการวิเคราะห์องค์ประกอบ จำนวน 21 ตัวแปร พบว่าสมรรถนะมัคคุเทศก์ที่พึงประสงค์เหลือเพียง 19 ตัวแปร จาก 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านคุณค่าและแนวคิดของตนเอง ด้านลักษณะเฉพาะตน ด้านบทบาทของตนเอง ด้านทักษะ และด้านคุณค่าทางสังคม จากผลการวิเคราะห์องค์ประกอบ เหลือเพียง 19 ตัวแปร ที่ส่งผลต่อการให้บริการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และมี 2 ตัวแปรที่ไม่ส่งผล คือ ด้านความรู้เชิงสร้างสรรค์และด้านการมีส่วนร่วมกับชุมชน
ผลการศึกษาพบว่า ด้านคุณค่าและแนวคิดของตนเอง ด้านลักษณะเฉพาะตน ด้านบทบาทของตนเอง ด้านทักษะ และด้านคุณค่าทางสังคม ที่ส่งผลต่อการให้บริการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สามารถนำมาเสนอแนะแนวทางการพัฒนาสมรรถนะมัคคุเทศก์ที่พึงประสงค์ต่อการให้บริการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ประกอบด้วย 5 แนวทาง ได้แก่แนวทางที่ 1 การเสริมสร้างทัศนคติเชิงบวกมัคคุเทศก์ต่อการให้บริการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ แนวทางที่ 2 มุ่งการยกระดับความรู้ของมัคคุเทศก์ต่อการให้บริการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ แนวทางที่ 3 การเสริมสร้างบทบาทคุณลักษณะที่ดีของมัคคุเทศก์ต่อการให้บริการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ แนวทางที่ 4 การพัฒนาทักษะของมัคคุเทศก์ต่อการให้บริการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และแนวทางที่ 5 การส่งเสริมความเข้าใจระหว่างมัคคุเทศก์และพื้นที่ท่องเที่ยวต่อการให้บริการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
จากผลการศึกษาดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยมุ่งหวังว่าจะสามารถนำไปประยุกต์เป็นข้อเสนอแนะในการปรับปรุงพัฒนาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และดำเนินการภายใต้ความร่วมมือในการสร้างเครือข่ายพัฒนาร่วมกันนอกจากกนี้พบว่า ตัวแปรด้านการมีส่วนร่วมกับชุมชน ด้านการใช้ความรู้เชิงสร้างสรรค์ ที่ไม่ส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะมัคคุเทศก์ที่พึงประสงค์ต่อการให้บริการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของประเทศไทยนั้น มัคคุเทศก์ควรให้ความสำคัญกับสมรรถนะในแต่ละด้านในการพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพของตนเองเพื่อส่งมอบการบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างประสบการณ์อันน่าประทับใจให้กับนักท่องเที่ยว |
รายละเอียดเพิ่มเติม: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561 |
หัวเรื่องมาตรฐาน: | มัคคุเทศก์
สมรรถนะ |
คำสำคัญ: | e-Thesis |
ประเภททรัพยากร: | วิทยานิพนธ์ |
ความยาว: | 312 แผ่น |
ชนิดของสื่อ: | Text |
รูปแบบแฟ้มข้อมูล: | application/pdf |
ภาษา: | tha |
สิทธิในการใช้งาน: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4988 |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT) |
|
ดู ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|