การวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม ระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งลอยน้ำ บริเวณสระเก็บน้ำพระรามเก้า อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ปทุมธานี
by ขนิษฐา สุวรรณประภากร
Title: | การวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม ระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งลอยน้ำ บริเวณสระเก็บน้ำพระรามเก้า อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ปทุมธานี |
Other title(s): | Environmental economic and social impact assessment of floating photovoltaic generation plant : a case study of Rama IX reservoir Pathum Thani Province |
Author(s): | ขนิษฐา สุวรรณประภากร |
Advisor: | ฆริกา คันธา |
Degree name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การจัดการสิ่งแวดล้อม |
Degree department: | คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2018 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม ของระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งลอยน้ำ บริเวณสระเก็บน้ำพระรามเก้า อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดปทุมธานี โดยได้เก็บข้อมูลภาคสนาม เพื่อนำมาวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการดังนี้ ค่าออกซิเจนละลายน้ำ ความขุ่น บีโอดี ความเป็นกรด-ด่าง ของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำ (Total Dissolved Solid) บีโอดี (Biochemical Oxygen Demand) ค่าการนำไฟฟ้า ความเค็ม ของแข็งแขวนลอย แบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด แบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์ม และ อุณหภูมิ ซึ่งเก็บตัวอย่างน้ำ 3 ครั้งในเดือน ธันวาคม 2559 มีนาคม 2560 และ มิถุนายน 2560 สำหรับการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ ทำการวิเคราะห์โดยใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ คือ ระยะเวลาคืนทุน มูลค่าปัจจุบันสุทธิ อัตราผลตอบแทนภายใน และ อัตราผลตอบแทนต่อค่าใช้จ่าย โดยการเปรียบเทียบจากการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ในน้ำและบนบกภายในโครงการ นอกจากนั้น การวิเคราะห์ทางสังคมได้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ คือ ประชาชนรอบพื้นที่โครงการ พนักงานพื้นที่โครงการ และกลุ่มผู้บริหารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ
ผลการวิจัยพบว่า การติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งลอยน้ำ ไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำในสระเก็บน้ำ เนื่องจากโครงการมีขนาดเล็กมาก จึงไม่สามารถบ่งชี้ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน การวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ พบว่า การติดตั้งแบบลอยน้ำของโครงการมูลนิธิชัยพัฒนา ไม่คุ้มทุนในการติดตั้ง เนื่องจากมีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูงจากการติดตั้งโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ในหลายๆด้าน อาทิเช่น การเพิ่มเติมในส่วนโครงสร้างบริเวณทางเดินรอบ ๆพื้นที่ติดตั้งเพื่อใช้เป็นทางเดินศึกษาดูงานแก่หน่วยงานอื่น ๆหรือ ผู้มาศึกษาดูงาน การเพิ่มเติมในส่วนโครงการในการออกแบบเพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อคุณภาพน้ำบริเวณติดตั้ง เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้การติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ลอยน้ำมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูงกว่าการสร้างขึ้นในเชิงพานิชย์ ส่งผลให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นด้วย แต่เมื่อตัดค่าใช้จ่ายบางส่วนออกพบว่า การติดตั้งแบบลอยน้ำของโครงการมีความคุ้มทุน และผลตอบแทนทางสังคมพบว่า ประชาชนภายในพื้นที่ไม่รับรู้ว่ามีโครงการดังกล่าวเกิดขึ้น เนื่องจากเป็นโครงการภายใน ไม่ได้มีประชาชนทั่วไปเข้ามาเกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตามประชาชนเห็นด้วยกับการดำเนินโครงการดังกล่าว เนื่องจากสามารถพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้พลังงานทดแทนในอนาคต และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในบริเวณพื้นที่ดังกล่าวอีกด้วย ในด้านการขยายผลโครงการ พบว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ใช้ประโยชน์โครงการ เป็นแหล่งศึกษาและนำข้อมูลไปต่อยอดขยายผลในพื้นที่อื่น ๆ โดยเฉพาะการจัดการทรัพยากรน้ำทางการเกษตร |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561 |
Subject(s): | โรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ -- แง่สิ่งแวดล้อม -- ไทย -- ปทุมธานี |
Keyword(s): | e-Thesis |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 219 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4994 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|