ผลกระทบจากปรากฏการณ์ El Nino-Southern Oscillation (ENSO) ต่อปริมาณผลผลิตพืชอาหารในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
by กมนทัต มูลศรี
Title: | ผลกระทบจากปรากฏการณ์ El Nino-Southern Oscillation (ENSO) ต่อปริมาณผลผลิตพืชอาหารในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย |
Other title(s): | Effects of El Nino-Southern Oscillation (ENSO) to crop yield in northeastern of Thailand |
Author(s): | กมนทัต มูลศรี |
Advisor: | ภัคพงศ์ พจนารถ |
Degree name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การจัดการสิ่งแวดล้อม |
Degree department: | คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2019 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเป็นภูมิภาคที่มีพื้นที่เพาะปลูกมากที่สุดในประเทศไทย และมักประสบปัญหาภัยแล้งทำให้เกิดความเสียหายต่อปริมาณผลผลิตเมื่อทำการเก็บเกี่ยว โดยการศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ENSO กับผลผลิตพืชอาหารของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเพื่อระบุสาเหตุที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อผลผลิตของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยวิธีการศึกษาใช้ข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ ข้อมูลดัชนีการเกิดปรากฏการณ์ ENSO (Oceanic Nino Index) ข้อมูลอุตุนิยมวิทยา ข้อมูลผลผลิตอ้อยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงระยะเวลา 20 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 - 2558 และทำการวิเคราะห์ข้อมูลแบบแบ่งช่วงตามฤดูกาล ซึ่งผลการศึกษาในส่วนแรกพบว่าผลกระทบที่มากที่สุดจากปรากฏการณ์ ENSO ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนเมษายน และรองลงมาคือ ช่วงเดือนพฤษภาคม ถึง เดือนกรกฎาคม และเดือนสิงหาคม ถึง เดือนตุลาคม โดยพบว่าดัชนี ONI มีความสัมพันธ์เชิงลบกับปริมาณน้ำฝนและความชื้นสัมพัทธ์ และมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับอัตราการระเหยและอุณหภูมิ นอกจากนี้ยังพบว่าดัชนี ONI แทบไม่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงความเร็วลม สำหรับผลการศึกษาในส่วนที่สองพบว่าผลผลิตพืชอาหารของภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับดัชนี ONI แต่มีความสัมพันธ์กับตัวแปรอุตุนิยมวิทยาเช่น ความชื้นสัมพัทธ์ และอุณหภูมิ โดยเฉพาะในปีที่ El Niño / La Niña ซึ่งพบว่าปริมาณผลผลิตพืชอาหาร(ข้าว ข้าวโพด และอ้อย) มีแนวโน้มที่จะลดลงในปีที่เกิดปรากฏการณ์ Elniño (ONI ≥ 0.5) และเพิ่มขึ้นในปีที่เกิดปรากฏการณ์ La Niña (ONI ≤-0.5) ซึ่งพืชอาหารเหล่านี้ส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางอุตุนิยมวิทยาในช่วงเดือนสิงหาคม ถึง เดือนตุลาคม ในขณะที่ปริมาณผลผลิตมันสำปะหลัง พบว่ามีความสัมพันธ์กับตัวแปรทางอุตุนิยมวิทยาคือ ความชื้นสัมพัทธ์ และอุณหภูมิ ในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึง เดือนมิถุนายน โดยมีแนวโน้มของปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นในปีที่เกิดปรากฏการณ์ Elniño (ONI ≥ 0.5) และลดลงในปีที่เกิดปรากฏการณ์ La Niña (ONI ≤-0.5) ในท้ายที่สุดนี้เนื่องจากการชลประทานของพื้นที่เพาะปลูกบางส่วนทำให้การผลิตข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความอ่อนไหวต่อสภาพอากาศน้อยลง ในขณะที่พื้นที่เพาะปลูกในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ไม่มีระบบการชลประทานซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่นั้น ปริมาณผลผลิตพืชอาหารยังคงมีความอ่อนไหวต่อสภาพอากาศมากกว่าพื้นที่เพาะปลูกในเขตชลประทาน |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562 |
Subject(s): | เอลนีโญ -- แง่สิ่งแวดล้อม
พืชผลกับภูมิอากาศ -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) |
Keyword(s): | e-Thesis
ปริมาณผลผลิตพืชอาหาร ปรากฏการณ์ ENSO ปรากฏการณ์ IOD |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 144 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4995 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|