การรับรู้กับการปรับตัวของเกษตรกรต่อความแปรปรวนของภูมิอากาศ: ศึกษาพื้นที่ภัยแล้งซ้ำซาก ตำบลหนองพระ จังหวัดพิจิตร
by จิรัชยา ศิริเลขอนันต์
Title: | การรับรู้กับการปรับตัวของเกษตรกรต่อความแปรปรวนของภูมิอากาศ: ศึกษาพื้นที่ภัยแล้งซ้ำซาก ตำบลหนองพระ จังหวัดพิจิตร |
Other title(s): | Farmers's perception and adaptation to climate variability : a study of recurrent drought area in Tambon Nong Phra, Pichit |
Author(s): | จิรัชยา ศิริเลขอนันต์ |
Advisor: | วิชชุดา สร้างเอี่ยม |
Degree name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การจัดการสิ่งแวดล้อม |
Degree department: | คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2019 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษานี้อาศัยวิธีวิทยาทฤษฎีฐานรากในการศึกษากระบวนการรู้คิดและเงื่อนไขที่กำหนดการรับรู้ความเสี่ยงและความสามารถในการปรับตัวของเกษตรกรต่อความแปรปรวนของภูมิอากาศ โดยมีวัตถุประสงค์ ก) เพื่อศึกษาการรับรู้ความเสี่ยงและความสามารถในการปรับตัวของเกษตรกรต่อความแปรปรวนของภูมิอากาศ ข) เพื่อศึกษาแบบแผนการปรับตัวของเกษตรกรที่เกิดขึ้นจากแนวโน้มการรับรู้ และ ค) เพื่ออธิบายแบบแผนการรับรู้และปรับตัวของเกษตรกรต่อความแปรปรวนของภูมิอากาศ การเก็บข้อมูลใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบไม่มีโครงสร้างกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ เกษตรกรที่ปลูกข้าวเป็นหลักนอกเขตชลประทานที่ประสบกับภัยแล้งซ้ำซากจำนวน 20 รายในตำบลหนองพระ จังหวัดพิจิตร
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการรับรู้ความเสี่ยง การรับรู้ความสามารถในการปรับตัว การรับรู้ผล และการปรับตัวของเกษตรกรมีความสัมพันธ์ระหว่างกันเป็นแบบแผนการรับรู้และปรับตัวที่แตกต่างกัน 4 แบบแผน ได้แก่ แบบแผนรับมือตามปัญหา แบบแผนซ้ำซาก แบบแผนก้าวหน้า และแบบแผนพลิกผัน แบบแผนรับมือตามปัญหาเกิดจากการมองว่าภัยแล้งไม่เป็นภัยต่อตนและสามารถรับมือได้ นำไปสู่การเลือกปรับตัวแบบรับมือที่ให้ผลการปรับตัวตรงตามคาดการณ์ แบบแผนซ้ำซากเกิดจากการมองว่าความเสี่ยงเป็นภัยที่คาดการณ์ได้แต่มองว่าตนขาดความสามารถ เกษตรกรจะเลือกการปรับตัวเท่าที่ตนสามารถกระทำได้ และจำใจต้องยอมรับเมื่อผลการปรับตัวออกมาแย่กว่าที่คาดการณ์ แบบแผนก้าวหน้าเกิดจากการมองว่าความเสี่ยงว่าเป็นภัยที่คาดการณ์ไม่ได้และคิดว่าตนมีความสามารถในการปรับตัว ทำให้เลือกการปรับตัวแบบที่ให้ผลในระยะยาว การรับรู้ผลการปรับตัวก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการรู้คิดและการปรับตัวแตกต่างกัน หากผลการปรับตัวตรงตามคาดการณ์ ทำให้เกษตรกรจะเปลี่ยนการปรับตัวไปเป็นแบบแผนรับมือตามปัญหา หากผลการปรับตัวแย่กว่าคาดการณ์แต่ยังสามารถยอมรับได้ เกษตรกรจะเปลี่ยนการปรับตัวของตนไปตามแบบแผนซ้ำซาก สุดท้ายแบบแผนพลิกผันเกิดจากการรับรู้ความเสี่ยงว่าเป็นภัยที่คาดการณ์ไม่ได้และคิดว่าตนเองมีความสามารถในการปรับตัว หากผลการปรับตัวไม่สามารถทำให้ยอมรับได้ ทำให้เกษตรกรต้องหาวิธีเพิ่มความสามารถในการปรับตัวจนเกิดการปรับตัวแบบปรับรากฐาน
แบบแผนเหล่านี้เป็นผลจากเงื่อนไขการรับรู้ที่เป็นตัวกำหนดวิถีการปรับตัว ได้แก่ 1) ความรู้สึกปลอดภัย 2) ความไม่กล้าเสี่ยง 3) การเปิดรับต่อข่าวสารด้านภูมิอากาศ และ 4) ความไม่ย่อท้อ เงื่อนไขการรับรู้บางประการอาจเป็นกับดักทางความคิดที่ก่อให้เกิดการปรับตัวในทางเสื่อม ซึ่งไม่สามารถช่วยลดเปราะบางต่อความแปรปรวนของภูมิอากาศ ดังนั้น ในการส่งเสริมการรับรู้ของเกษตรกรให้ลดการปรับตัวในทางเสื่อม จึงจำเป็นต้องให้เกษตรกรตระหนักถึงความเสี่ยงอย่างสมเหตุสมผล นั่นคือ การรับรู้ความเสี่ยงที่ไม่มากเกินหรือไม่น้อยเกินไป รวมถึงการกระทำเพื่อเพิ่มการรับรู้ความสามารถในการปรับตัว ผ่านการนำเสนอวิถีการปรับตัวที่เหมาะสมกับความเสี่ยงในพื้นที่ โดยเน้นถึงผลลัพธ์ที่ช่วยลดผลกระทบอย่างแน่นอนเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ไปปฏิบัติ ตลอดจนสนับสนุนด้านทรัพยากรสำหรับเกษตรกรที่ขาดแคลน |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562 |
Subject(s): | การจัดการภัยแล้ง
เกษตรกร -- ผลกระทบจากภัยแล้ง การเกษตร |
Keyword(s): | e-Thesis
การรับรู้ความเสี่ยง การรับรู้ความสามารถในการปรับตัว การปรับตัว ทฤษฎีฐานราก |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 121 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4996 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|