• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
  • GSEDA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
  • GSEDA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ของประเทศไทยระยะ 10 ปี จากปัจจัยการเติบโตทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างแหล่งกำเนิด และการเปลี่ยนแปลงของประชากร

by วราทิพย์ วัฒนวินิจฉัย

Title:

การคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ของประเทศไทยระยะ 10 ปี จากปัจจัยการเติบโตทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างแหล่งกำเนิด และการเปลี่ยนแปลงของประชากร

Other title(s):

Projection of change in the quantity of carbondioxides of Thailand following changes in economic factors, source, and population over the period of 10 years

Author(s):

วราทิพย์ วัฒนวินิจฉัย

Advisor:

สมพจน์ กรรณนุช

Degree name:

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

การจัดการสิ่งแวดล้อม

Degree department:

คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2019

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

ประเทศไทยมีปริมาณ CO2 เพิ่มขึ้น 1.96 เท่า จาก 161,154 กิโลตัน เป็น 316,213 กิโลตัน ในระยะเวลา 20 ปี จาก พ.ศ. 2538-2557 โดยมีแหล่งกำเนิดจำแนกเป็นภาคอุตสาหกรรม ภาคการผลิตไฟฟ้า ภาคการขนส่ง และอื่น ๆ คิดเป็นสัดส่วนในปี พ.ศ. 2538 ร้อยละ 22.75 ร้อยละ 37.79 ร้อยละ 33.43 และ ร้อยละ 6.02 ตามลำดับ และมีสัดส่วนในปี พ.ศ. 2557 ร้อยละ 20.89 ร้อยละ 46.60 ร้อยละ 24.27 และ ร้อยละ 7.79 ตามลำดับ การศึกษานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อคาดประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจเพื่อคาดประมาณปริมาณ CO2 ของประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2558-2568 โดยวิธีสมการแนวโน้มแบบเชิงเส้น แบบกำลังสอง และแบบลูกบาศก์ จากฐานข้อมูลอนุกรมเวลาเผยแพร่โดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารโลก การคาดประมาณผลผลิตมวลรวมภายในประเทศจากอัตราส่วนของปัจจัยทุนกับปัจจัยแรงงานประกอบด้วย 2 ทิศทาง ได้แก่ ทิศทางที่ 1 การเติบโตอัตราต่ำแบบเชิงเส้น และทิศทางที่ 2 การเติบโตอัตราสูงแบบเอกซ์โปเนนเชียล การคาดประมาณมูลค่าเพิ่มจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ พบว่ามีแนวโน้มต่ำลงสำหรับภาคอุตสาหกรรม สูงขึ้นสำหรับภาคการผลิตไฟฟ้า และภาคการขนส่งทั้ง 2 ทิศทาง เป็นผลให้ในกรณีที่ 1 ปริมาณ CO2 ภาคอุตสาหกรรม และภาคการผลิตไฟฟ้า ซึ่งมีแนวโน้มลดลงแบบกำลังสอง มีปริมาณเพิ่มขึ้นในระยะสั้นและลดลงในระยะยาว และภาคการขนส่ง ซึ่งมีแนวโน้มลดลงแบบเชิงเส้น มีปริมาณเพิ่มขึ้นในระยะสั้นและในระยะยาว และในกรณีที่ 2 ปริมาณ CO2 ภาคอุตสาหกรรม มีปริมาณเพิ่มขึ้นในระยะสั้นและลดลงในระยะยาว ภาคการผลิตไฟฟ้า และภาคการขนส่ง มีปริมาณเพิ่มขึ้นในระยะสั้นและในระยะยาว สำหรับปริมาณ CO2 จากแหล่งอื่น ๆ จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นในระยะสั้นและลดลงในระยะยาว การชะลอการเติบโตของปริมาณ CO2 จึงอาจจะประกอบด้วยนโยบายส่งเสริมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ใช้เองทดแทนการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล และการส่งเสริมการใช้ยานพาหนะพลังงานไฟฟ้า
The release of CO2 of Thailand has increased 1.96 folds from 161,154 Kilo tons to 316,213 Kilo tons over 20 years between years 1995 to 2014. The sources of CO2 are manufacturing, electricity generation, transport, and others, which in 1995 accounts for 22.75 %, 37.79 %, 33.43 % and 6.02 % respectively, and in 2014 accounts for 20.89 %, 46.60 %, 24.27 % and 7.79 % respectively. The aim of this study was to project the volume of Thailand’s economy to be used for the projection of the quantity of CO2 for years 2015-2025, using trend equations including linear, quadratic, and cubic forms from time series database released by the Office of National Economic and Social Development Board, and the World Bank. The projection of chain volume measures gross domestic products (CVMGDP) from the ratio of capital stock and labor force consists of 2 paths: linear and exponential growth paths. The projection of value added from CVMGDP gave a declining path for manufacturing, and increasing for electricity generation, and transport for the 2 paths. The CO2 quantity was projected in case 1 to increase in near term and decline in the long term for the manufacturing and electricity generation, as the trend for the two sectors is in quadratic declining form, and to increase in both near and long terms for the transport, as the trend is linear increasing. The CO2 quantity was projected in case 2 to increase in near term and decline in the long term for the manufacturing and to increase in both near and long terms for the electricity generation and transport. The CO2 quantity from other sources was projected to increase in near term and decline in the long term. Measures to curb the growth of CO2 can originate from policies that promote users’ own generation of electricity from solar energy which has fewer limitations compared to other clean energy, and promote transportation powered by electricity.

Description:

วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562

Subject(s):

ประชากร -- ไทย -- ผลกระทบจากคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ
คาร์บอนไดออกไซด์ -- แง่สิ่งแวดล้อม
พยากรณ์ประชากร -- ไทย

Keyword(s):

e-Thesis
โครงสร้างเศรษฐกิจ
การคาดประมาณ CO2
โครงสร้าง CO2

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

67 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4999
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b207935.pdf ( 2,075.40 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSEDA: Theses [91]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×