การคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ของประเทศไทยระยะ 10 ปี จากปัจจัยการเติบโตทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างแหล่งกำเนิด และการเปลี่ยนแปลงของประชากร
by วราทิพย์ วัฒนวินิจฉัย
ชื่อเรื่อง: | การคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ของประเทศไทยระยะ 10 ปี จากปัจจัยการเติบโตทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างแหล่งกำเนิด และการเปลี่ยนแปลงของประชากร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Projection of change in the quantity of carbondioxides of Thailand following changes in economic factors, source, and population over the period of 10 years |
ผู้แต่ง: | วราทิพย์ วัฒนวินิจฉัย |
ผู้ควบคุมงานวิจัย: | สมพจน์ กรรณนุช |
ชื่อปริญญา: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
ระดับปริญญา: | Master's |
สาขาวิชา: | การจัดการสิ่งแวดล้อม |
คณะ/หน่วยงาน: | คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม |
หน่วยงานที่ประสาทปริญญา: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
หน่วยงานที่เผยแพร่: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ: |
ประเทศไทยมีปริมาณ CO2 เพิ่มขึ้น 1.96 เท่า จาก 161,154 กิโลตัน เป็น 316,213 กิโลตัน ในระยะเวลา 20 ปี จาก พ.ศ. 2538-2557 โดยมีแหล่งกำเนิดจำแนกเป็นภาคอุตสาหกรรม ภาคการผลิตไฟฟ้า ภาคการขนส่ง และอื่น ๆ คิดเป็นสัดส่วนในปี พ.ศ. 2538 ร้อยละ 22.75 ร้อยละ 37.79 ร้อยละ 33.43 และ ร้อยละ 6.02 ตามลำดับ และมีสัดส่วนในปี พ.ศ. 2557 ร้อยละ 20.89 ร้อยละ 46.60 ร้อยละ 24.27 และ ร้อยละ 7.79 ตามลำดับ การศึกษานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อคาดประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจเพื่อคาดประมาณปริมาณ CO2 ของประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2558-2568 โดยวิธีสมการแนวโน้มแบบเชิงเส้น แบบกำลังสอง และแบบลูกบาศก์ จากฐานข้อมูลอนุกรมเวลาเผยแพร่โดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารโลก การคาดประมาณผลผลิตมวลรวมภายในประเทศจากอัตราส่วนของปัจจัยทุนกับปัจจัยแรงงานประกอบด้วย 2 ทิศทาง ได้แก่ ทิศทางที่ 1 การเติบโตอัตราต่ำแบบเชิงเส้น และทิศทางที่ 2 การเติบโตอัตราสูงแบบเอกซ์โปเนนเชียล การคาดประมาณมูลค่าเพิ่มจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ พบว่ามีแนวโน้มต่ำลงสำหรับภาคอุตสาหกรรม สูงขึ้นสำหรับภาคการผลิตไฟฟ้า และภาคการขนส่งทั้ง 2 ทิศทาง เป็นผลให้ในกรณีที่ 1 ปริมาณ CO2 ภาคอุตสาหกรรม และภาคการผลิตไฟฟ้า ซึ่งมีแนวโน้มลดลงแบบกำลังสอง มีปริมาณเพิ่มขึ้นในระยะสั้นและลดลงในระยะยาว และภาคการขนส่ง ซึ่งมีแนวโน้มลดลงแบบเชิงเส้น มีปริมาณเพิ่มขึ้นในระยะสั้นและในระยะยาว และในกรณีที่ 2 ปริมาณ CO2 ภาคอุตสาหกรรม มีปริมาณเพิ่มขึ้นในระยะสั้นและลดลงในระยะยาว ภาคการผลิตไฟฟ้า และภาคการขนส่ง มีปริมาณเพิ่มขึ้นในระยะสั้นและในระยะยาว สำหรับปริมาณ CO2 จากแหล่งอื่น ๆ จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นในระยะสั้นและลดลงในระยะยาว การชะลอการเติบโตของปริมาณ CO2 จึงอาจจะประกอบด้วยนโยบายส่งเสริมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ใช้เองทดแทนการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล และการส่งเสริมการใช้ยานพาหนะพลังงานไฟฟ้า |
รายละเอียดเพิ่มเติม: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562 |
หัวเรื่องมาตรฐาน: | ประชากร -- ไทย -- ผลกระทบจากคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ
คาร์บอนไดออกไซด์ -- แง่สิ่งแวดล้อม พยากรณ์ประชากร -- ไทย |
คำสำคัญ: | e-Thesis
โครงสร้างเศรษฐกิจ การคาดประมาณ CO2 โครงสร้าง CO2 |
ประเภททรัพยากร: | วิทยานิพนธ์ |
ความยาว: | 67 แผ่น |
ชนิดของสื่อ: | Text |
รูปแบบแฟ้มข้อมูล: | application/pdf |
ภาษา: | tha |
สิทธิในการใช้งาน: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4999 |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT) |
|
ดู ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|