• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • หน่วยงาน
  • สำนักบรรณสารการพัฒนา
  • In Processing
  • Dissertations, Theses, Term Papers
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • หน่วยงาน
  • สำนักบรรณสารการพัฒนา
  • In Processing
  • Dissertations, Theses, Term Papers
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

LoginRegister

Legal Measures for Animal Protection and Animal Welfare from Public Display or Exhibitions

มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองและจัดสวัสดิภาพสัตว์จากการนำมาแสดง

by Kanlayanee Theerawongpinyo

Title:

Legal Measures for Animal Protection and Animal Welfare from Public Display or Exhibitions
มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองและจัดสวัสดิภาพสัตว์จากการนำมาแสดง

Author(s):

Kanlayanee Theerawongpinyo

Contributor(s):

NIDA. The Graduate School of Law

Advisor:

Varaporn Vanaphituk

Degree name:

Doctor of Laws

Degree level:

Dissertation

Degree discipline:

Doctor of Laws

Degree grantor:

National Institute of Development Administration

Issued date:

5/17/19

Publisher:

NIDA

Abstract:

          The objectives of this research were the following: 1) to study meanings, concepts, and principles of animal protection and welfare provisions used with animals in shows; 2) to investigate legal measures and animal welfare provisions that apply to animals in shows in the United States, Australia, and Singapore; 3) to study the legal status of animals in foreign countries and in Thailand related to issues of exhibiting animals in shows and the scope of law enforcement scope as well issues related to limiting the rights and freedoms of individuals exhibiting animals in shows; 4) to analyze animal protection criteria in licensing systems for exhibiting animals in the shows of foreign countries as a means of suggesting guidelines for the improvement of Thai laws; 5) to analyze criteria for providing welfare to animals used in shows in terms of nutrition and food, housing, and the environment of the animals as well as illness prevention and treatment; and to propose legal measures for the protection and welfare of animals used in the shows through an amendment to section 24 of Cruelty Prevention and Welfare of Animals Act B.E. 2557 on the issuance of licenses for using animals in shows and implementing a secondary measure to support the primary one, such as issuing a declaration from the Ministry of Agriculture and Cooperatives on the proper licensing and welfare of animals used in shows in Thailand in the future.            For this research, qualitative methodology was applied that consisted of 1) a study of document and related research studies, 2) comparing the laws of the United States, Australia, and Singapore with the laws of Thailand, 3) in-depth interviews with 9 interviewees from three different groups (scholars, foundation or association people, and animal show organizers), and 4) brainstorming in focus group discussions with 16 representatives from the association, the Department of Livestock Development, the Ministry of the Interior, veterinarians, fishery scholars, political science scholars, public administration scholars, and general individuals involved.           The results of the research showed that even though there are many animal-related laws in Thailand, such as the Cruelty Prevention and Welfare of Animals Act B.E. 2557, the existing laws, including B.E. 2557, are not yet integrated, and there are no specific criteria for show animals. The legal status of animals in Thailand is that they are considered part of a given legal estate. Therefore, the owners of the animals can exhibit their animals in shows freely without asking permission from any organizations. This is in contrast to the laws of the United States and Singapore. Although animals in those two countries are considered as part of an estate, as in Thailand, commercial exhibitions or shows cannot be done freely. The rationale behind this limitation is that using animals in shows could affect the public as a whole because showing animals may cause the animal stress, which might lead to diseases that carry to animals.  In addition, using animals in shows might affect the health and safety of people and the environment. Therefore, in accordance with the laws of Australia, before animals are used in shows, a license must be obtained, which allows officials to verify that the animal show organizers have provided the proper welfare to the animals as described in the law.           Suggestions found in this research for animal protection and the provision of animal welfare and public health, as well as for addressing related environmental issues, include amending section 24 of Cruelty Prevention and Welfare of Animals Act B.E. 2557, which should be done by mandating that those who would like to use animals in shows must obtain a license and that they provide proper welfare to the animals used in the shows. The criteria for requesting the license and for providing welfare to the show animals should include proper nutrition, food, and water, housing, environment, health maintenance, and disease treatment. Finally, an official declaration that is appropriate for Thailand should be issued.
          การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความหมาย แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับการคุ้มครองและจัดสวัสดิภาพสัตว์จากการนำมาแสดง 2) ศึกษามาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองและจัดสวัสดิภาพสัตว์จากการนำมาแสดงของสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และสิงคโปร์ 3) ศึกษาสถานภาพของสัตว์ในต่างประเทศกับไทย ทั้งปัญหาการนำสัตว์มาจัดแสดงและปัญหาขอบเขตการบังคับใช้กฎหมาย ตลอดจนการจำกัดสิทธิและเสรีภาพในการนำสัตว์มาแสดง  4) วิเคราะห์หลักเกณฑ์การคุ้มครองสัตว์ด้วยระบบการออกใบอนุญาตในการนำสัตว์มาแสดงของต่างประเทศ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายไทย ตลอดจนวิเคราะห์หลักเกณฑ์การจัดสวัสดิภาพสัตว์จากการนำมาแสดง ด้านโภชนาการและการให้อาหาร ด้านที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมของสัตว์ ตลอดจนการคุ้มครองด้านสุขภาพและการรักษาโรค  5) เพื่อเสนอมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองและจัดสวัสดิภาพสัตว์จากการนำมาแสดงโดยตรง โดยการแก้ไขเพิ่มเติมให้มีการออกใบอนุญาตในการนำสัตว์มาแสดง ในมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 และออกมาตรการทางกฎหมายลำดับรองมารองรับ คือ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรื่องการขอใบอนุญาตและการจัดสวัสดิภาพสัตว์จากการนำมาแสดงที่เหมาะสมกับประเทศไทยต่อไป           วิธีวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย 1) การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) กระบวนการเปรียบเทียบกฎหมายของสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และสิงคโปร์กับไทย 3) การสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีผู้ให้ข้อมูลสัมภาษณ์แบ่งออกเป็นสามกลุ่มคือกลุ่มนักวิชาการ กลุ่มมูลนิธิหรือสมาคมและกลุ่มผู้จัดแสดงสัตว์ จำนวน 9 ราย และ 4) การระดมความคิดเห็นด้วยวิธีการสนทนากลุ่มเจาะจง โดยมีผู้แทนจากสมาคม ผู้แทนจากกรมปศุสัตว์ ผู้แทนจากกระทรวงมหาดไทย ตลอดจนสัตวแพทย์ นักวิชาการด้านประมง นักวิชาการด้านกฎหมาย นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ นักวิชาการด้านรัฐประศาสนศาสตร์และบุคคลทั่วไปที่เกี่ยวข้อง รวมจำนวน 16 คน           ผลการวิจัยพบว่า แม้ประเทศไทยจะมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสัตว์หลายฉบับและมีพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 แต่กฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันยังไม่มีการบูรณาการกัน และยังไม่มีหลักเกณฑ์ในการจัดสวัสดิภาพสัตว์จากการนำมาแสดงโดยตรง ทั้งตามกฎหมายไทยนั้นสัตว์ยังคงมีสถานะเป็นทรัพย์ ทำให้ผู้เป็นเจ้าของสัตว์สามารถนำสัตว์ไปจัดแสดงได้อย่างเสรีโดยไม่ต้องขออนุญาตจากหน่วยงานใด ซึ่งแตกต่างจากกฎหมายของสหรัฐอเมริกาและสิงคโปร์ถึงแม้สัตว์จะมีสถานะเป็นทรัพย์เช่นเดียวกับกฎหมายไทย แต่การนำสัตว์ไปจัดแสดงเพื่อการพาณิชย์ไม่สามารถทำได้อย่างเสรี เนื่องจากการนำสัตว์ไปใช้งานในการแสดงอาจส่งผลกระทบต่อสาธารณชนส่วนรวม ไม่ว่าจะเป็นด้านสวัสดิภาพสัตว์ที่อาจทำให้สัตว์แสดงเกิดความเครียด สุขภาพไม่แข็งแรงและอาจเป็นพาหะนำโรคติดต่อมายังปศุสัตว์อื่น นอกจากนั้น การนำสัตว์ไปใช้ในการแสดงยังอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความปลอดภัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการนำสัตว์ไปจัดแสดงจึงต้องมีการขอใบอนุญาตก่อนซึ่งสอดคล้องกับกฎหมายของออสเตรเลีย เพื่อเป็นการตรวจสอบว่าผู้จัดแสดงสัตว์เหล่านั้นได้มีการจัดการดูแลสวัสดิภาพให้เหมาะสมกับสัตว์ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด           ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นการคุ้มครองและป้องกันสวัสดิภาพของสัตว์และสุขภาพของประชาชน ตลอดจนปัญหาด้านสภาพแวดล้อม การวิจัยนี้เสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมในมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 โดยกำหนดให้การนำสัตว์มาแสดงต้องขอใบอนุญาต และออกประกาศหลักเกณฑ์ เรื่อง การขอใบอนุญาตและการจัดสวัสดิภาพสัตว์จากการนำมาแสดง โดยประกาศดังกล่าวประกอบด้วยหลักเกณฑ์การขอใบอนุญาตและหลักเกณฑ์การจัดสวัสดิภาพสัตว์แสดง ได้แก่ด้านโภชนาการอาหารและน้ำ ด้านที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมของสัตว์ ด้านสุขภาพและการรักษาโรคที่เหมาะสมกับประเทศไทย

Description:

NIDA, 2018

Subject(s):

Social Sciences

Keyword(s):

การแสดงสัตว์
คุ้มครองสัตว์
จัดสวัสดิภาพสัตว์จากการนำมาแสดง

Type:

Dissertation

Language:

th

Rights holder(s):

NIDA

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5018
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
5811931014.pdf ( 7,116.31 KB )

This item appears in the following Collection(s)

  • Dissertations, Theses, Term Papers [75]
Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

‹›×