ศรัทธาที่มีต่อสถาบันต่างๆในสังคมไทย
by รชนิศ ทองแดง
Title: | ศรัทธาที่มีต่อสถาบันต่างๆในสังคมไทย |
Other title(s): | Trust towards various institution in Thai society |
Author(s): | รชนิศ ทองแดง |
Advisor: | อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ |
Degree name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | สถิติประยุกต์ |
Degree department: | คณะสถิติประยุกต์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2019 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
สถาบันต่าง ๆ ในสังคมไทย ประกอบด้วยกลุ่มสถาบัน 6 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มนิติบัญญัติ ประกอบด้วย สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กลุ่มรัฎฐาธิปัตย์ ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และรัฐบาล กลุ่มตุลาการ ประกอบด้วย ศาลยุติธรรม (ศย.) ศาลรัฐธรรมนูญ (ศร.) และศาลปกครอง (ศป.) กลุ่มอำนวยความยุติธรรม ประกอบด้วย ตำรวจ และอัยการ กลุ่มองค์กรอิสระ ประกอบด้วย คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) และกลุ่มพรรคการเมือง ประกอบด้วย พรรคเพื่อไทย และพรรคประชาธิปัตย์ การศึกษานี้ได้รับความอนุเคราะห์ข้อมูลจากสถาบันพระปกเกล้า และมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อศรัทธาที่มีต่อสถาบันต่าง ๆ ในสังคมไทย และสร้างตัวแบบทำนายศรัทธาที่ประชาชนมีต่อสถาบันต่าง ๆ ในสังคมไทย โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุ เริ่มจากการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนเพื่อทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความมีนัยสำคัญ เท่ากับ 0.05 แล้วจึงเลือกตัวแปรอิสระในตัวแบบที่มีค่า Beta (β) มากกว่าหรือเท่ากับ |0.10| มาใช้ในการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบปกติอีกครั้งเพื่อทดสอบความมีนัยสำคัญทางปฏิบัติ
ผลการศึกษาตามแนวคิดศรัทธาในองค์กรของ Robert Bruce Shaw ในด้านความสำเร็จและความซื่อตรง พบว่า ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อศรัทธาที่ประชาชนมีต่อกลุ่มนิติบัญญัติ กลุ่มรัฎฐาธิปัตย์ กลุ่มตุลาการ มีเพียงปัจจัยด้านความสำเร็จเท่านั้นที่สัมพันธ์ต่อศรัทธาในเชิงบวก ส่วนปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อศรัทธาที่ประชาชนมีต่อกลุ่มอำนวยความยุติธรรม และกลุ่มพรรคการเมือง มีทั้งปัจจัยด้านความสำเร็จที่สัมพันธ์ต่อศรัทธาในเชิงบวก และปัจจัยด้านความซื่อตรงที่สัมพันธ์ต่อศรัทธาในเชิงลบ ส่วนปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อศรัทธาที่ประชาชนมีต่อกลุ่มองค์กรอิสระ พบว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ผู้ตรวจการแผ่นดิน และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีเพียงปัจจัยด้านความสำเร็จเท่านั้นที่สัมพันธ์ต่อศรัทธาในเชิงบวก ในขณะที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) มีทั้งปัจจัยด้านความสำเร็จที่สัมพันธ์ต่อศรัทธาในเชิงบวก และปัจจัยด้านความซื่อตรงที่สัมพันธ์ต่อศรัทธาในเชิงลบ
ดังนั้นถ้าสถาบันต่าง ๆ ในสังคมไทยบริหารประเทศตามนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภาและสร้างผลงานอย่างเป็นที่ประจักษ์ อีกทั้งใช้หลักธรรมาภิบาลและปฏิบัติตามบทบัญญัติในพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ย่อมเป็นการการันตีได้ว่าประชาชนศรัทธาสถาบันที่มีความสำเร็จและความซื่อตรงอย่างแท้จริง |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (สถิติประยุกต์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562 |
Subject(s): | ศรัทธา
สถาบันสังคม |
Keyword(s): | e-Thesis |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 106 แผ่น application/pdf |
Type: | Text |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Rights holder(s): | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5026 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|