มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธินักออกแบบท่าเต้น
by สุพัตรา คำภา
Title: | มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธินักออกแบบท่าเต้น |
Other title(s): | Legal measure for the protection on choreographer right |
Author(s): | สุพัตรา คำภา |
Advisor: | วริยา ล้ำเลิศ |
Degree name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree department: | คณะนิติศาสตร์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2018 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ของนักออกแบบท่าเต้น 2. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบกฎหมายของประเทศไทยเกี่ยวกับระดับความสร้างสรรค์ของการออกแบบท่าเต้นโดยการศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายต่างประเทศ 3. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การคุ้มครองสิทธิของนักออกแบบท่าเต้นที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศไทยเปรียบเทียบกับกฎหมายลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศและกฎหมายลิขสิทธิ์ต่างประเทศ 4. เพื่อหามาตรการกฎหมายที่เหมาะสมสำหรับนักออกแบบท่าเต้นในประเทศไทยให้สอดคล้องทางกับหลักสากล
วิธีการศึกษา ศึกษาโดยใช้วิธีการวิจัยทางเอกสาร (Documentary Research) โดยใช้วิเคราะห์เปรียบเทียบ (Comparative Law) ซึ่งทำการศึกษาจากตำรา บทความทางวิชาการ รายงาน งานวิจัย วิทยานิพนธ์ วารสาร และการค้นคว้าจากข้อมูลทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ประเทศไทย ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศออสเตรเลีย
ผลการศึกษาพบว่า การออกแบบท่าเต้นในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่บัญญัติที่กำหนดไว้ชัดเจน แต่บัญญัติที่ใกล้เคียงที่สุด ก็คือ ตาม พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 4 นิยาม คำว่า นาฏกรรม หมายความว่า งานเกี่ยวกับการรำ การเต้น การทำท่า หรือการแสดงที่ประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว และให้หมายความรวมถึงการแสดงโดยวิธีใบ้ด้วย แต่ก็ไม่สามารถนำมาใช้ในลักษณะที่คุ้มครองได้ เมื่อศึกษาเปรียบเทียบกับประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศออสเตรเลีย พบว่า ประเทศดังล่าวมีบทบัญญัติที่กำหนดไว้อย่างชัดเจนเพื่อคุ้มครองการออกแบบท่าเต้นให้เป็นงานที่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ดังนั้น งานในลักษณะการออกแบบท่าเต้นในประเทศไทยจึงยังคงเป็นปัญหาอยู่ จึงมีปัญหาว่างานออกแบบท่าเต้นเป็นงานที่ได้รับการคุ้มครองหรือไม่ และงานออกแบบท่าเต้นในลักษณะใดบ้างที่ควรได้รับการคุ้มครอง
ดังนั้นเห็นว่า 1. ควรกำหนดบทนิยามเพิ่มเติมในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 โดยเพิ่มคำว่า “การออกแบบท่าเต้น” ในคำนิยามของคำว่า นาฎกรรม 2. การออกแบบท่าเต้นที่ได้รับความคุ้มครองนั้นท่าเต้น ต้องไม่ใช่ Social dance ท่าเต้นทางสังคม ที่เคลื่อนไหวทั่วไป อีกทั้งต้องมีการประยุกต์ท่าเต้นเพื่อให้เกิดงานสร้างสรรค์ใหม่ๆเกิดขึ้น และระดับการสร้างสรรค์ที่ได้รับการคุ้มครองสำหรับการออกแบบท่าเต้นควรคำนึงถึง 1.ความวิริยะอุตสาหะในการออกแบบสร้างสรรค์ผลงาน และในการฝึกฝน 2.ระยะเวลาในการใช้เพื่อสร้างสรรค์ 3.ช่วงระยะเวลาในการที่งานสร้างสรรค์สามารถสัมฤทธิ์ผล 4.ต้นทุนที่ใช้เพื่อการสร้างสรรค์ |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561 504 |
Subject(s): | ลิขสิทธิ์ -- การออกแบบท่าเต้น
การออกแบบท่าเต้น นักออกแบบท่าเต้น |
Keyword(s): | การคุ้มครองลิขสิทธิ์
e-Thesis การออกแบบท่าเต้น นักออกแบบท่าเต้น ระดับการสร้างสรรค์ |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 100 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5036 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|