dc.contributor.advisor | วริยา ล้ำเลิศ | th |
dc.contributor.author | สุพัตรา คำภา | th |
dc.date.accessioned | 2020-06-12T08:53:15Z | |
dc.date.available | 2020-06-12T08:53:15Z | |
dc.date.issued | 2018 | th |
dc.identifier.other | b208154 | th |
dc.identifier.uri | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5036 | th |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561
504 | th |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ของนักออกแบบท่าเต้น 2. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบกฎหมายของประเทศไทยเกี่ยวกับระดับความสร้างสรรค์ของการออกแบบท่าเต้นโดยการศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายต่างประเทศ 3. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การคุ้มครองสิทธิของนักออกแบบท่าเต้นที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศไทยเปรียบเทียบกับกฎหมายลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศและกฎหมายลิขสิทธิ์ต่างประเทศ 4. เพื่อหามาตรการกฎหมายที่เหมาะสมสำหรับนักออกแบบท่าเต้นในประเทศไทยให้สอดคล้องทางกับหลักสากล
วิธีการศึกษา ศึกษาโดยใช้วิธีการวิจัยทางเอกสาร (Documentary Research) โดยใช้วิเคราะห์เปรียบเทียบ (Comparative Law) ซึ่งทำการศึกษาจากตำรา บทความทางวิชาการ รายงาน งานวิจัย วิทยานิพนธ์ วารสาร และการค้นคว้าจากข้อมูลทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ประเทศไทย ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศออสเตรเลีย
ผลการศึกษาพบว่า การออกแบบท่าเต้นในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่บัญญัติที่กำหนดไว้ชัดเจน แต่บัญญัติที่ใกล้เคียงที่สุด ก็คือ ตาม พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 4 นิยาม คำว่า นาฏกรรม หมายความว่า งานเกี่ยวกับการรำ การเต้น การทำท่า หรือการแสดงที่ประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว และให้หมายความรวมถึงการแสดงโดยวิธีใบ้ด้วย แต่ก็ไม่สามารถนำมาใช้ในลักษณะที่คุ้มครองได้ เมื่อศึกษาเปรียบเทียบกับประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศออสเตรเลีย พบว่า ประเทศดังล่าวมีบทบัญญัติที่กำหนดไว้อย่างชัดเจนเพื่อคุ้มครองการออกแบบท่าเต้นให้เป็นงานที่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ดังนั้น งานในลักษณะการออกแบบท่าเต้นในประเทศไทยจึงยังคงเป็นปัญหาอยู่ จึงมีปัญหาว่างานออกแบบท่าเต้นเป็นงานที่ได้รับการคุ้มครองหรือไม่ และงานออกแบบท่าเต้นในลักษณะใดบ้างที่ควรได้รับการคุ้มครอง
ดังนั้นเห็นว่า 1. ควรกำหนดบทนิยามเพิ่มเติมในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 โดยเพิ่มคำว่า “การออกแบบท่าเต้น” ในคำนิยามของคำว่า นาฎกรรม 2. การออกแบบท่าเต้นที่ได้รับความคุ้มครองนั้นท่าเต้น ต้องไม่ใช่ Social dance ท่าเต้นทางสังคม ที่เคลื่อนไหวทั่วไป อีกทั้งต้องมีการประยุกต์ท่าเต้นเพื่อให้เกิดงานสร้างสรรค์ใหม่ๆเกิดขึ้น และระดับการสร้างสรรค์ที่ได้รับการคุ้มครองสำหรับการออกแบบท่าเต้นควรคำนึงถึง 1.ความวิริยะอุตสาหะในการออกแบบสร้างสรรค์ผลงาน และในการฝึกฝน 2.ระยะเวลาในการใช้เพื่อสร้างสรรค์ 3.ช่วงระยะเวลาในการที่งานสร้างสรรค์สามารถสัมฤทธิ์ผล 4.ต้นทุนที่ใช้เพื่อการสร้างสรรค์ | th |
dc.description.abstract | The primary purposes of this research are (1) to study the concept of theory of copyright protection of choreographers, (2) to investigate and compare the Laws of Thailand regarding the creative level of choreography by comparing studies with the international law, (3) to study and analyze the protection of Choreographers’ rights that are currently protected by copyright laws in Thailand by making comparisons between copyright laws of Thailand and international copyright law abroad (United States and Australia), and (4) to find solutions and measures that are appropriate for choreographers in accordance with the international standards.
Documentary Research is the method used for conducting this study. All the selected data is analyzed by applying Comparative Law. The data derives from textbooks, academic articles, research reports, theses, journals, and research via electronic media data from various countries such as Thailand, Australia, and United States.
The results showed that choreography in Thailand is not yet clearly defined. However, the closest commandment is the Copyright Act BE 2537, Section 4 in which defines the term "Dance" as movements or acts that are made into a story. It shall also include performances by sign language. However, it cannot be used in a manner that can be protected. When comparing to the laws in United States and Australia, it was found that these countries have clearly defined provisions to protect choreography as a copyright protected work. On the contrary, choreography in Thailand remains a problem as there are some controversial issues whether choreography is a work and should be protected.
As a result of this research, it is given that (1) additional definitions should be clearly defined in the Copyright Act BE 2537 by adding the word “Choreography" in the definition of the word dance, and (2) the choreographed movements must be original and must not be related to social dance or general movements. In addition, the level of Choreography protection must be considered depending on (1) perseverance in the design and the creation of works, (2) time input for creativity, (3) period in which creative work can be achieved, and (4) costs used for producing such creative works. | th |
dc.description.provenance | Made available in DSpace on 2020-06-12T08:53:15Z (GMT). No. of bitstreams: 2
5811911012.pdf: 2020151 bytes, checksum: 02e456c703d5620d4622c86ffecd0dde (MD5)
license.txt: 115 bytes, checksum: 2047cfd32b272b6ffc853575a013e11b (MD5)
Previous issue date: 8 | th |
dc.format.extent | 100 แผ่น | th |
dc.format.mimetype | application/pdf | th |
dc.language.iso | tha | th |
dc.publisher | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
dc.rights | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) | th |
dc.subject | การคุ้มครองลิขสิทธิ์ | th |
dc.subject | e-Thesis | th |
dc.subject | การออกแบบท่าเต้น | th |
dc.subject | นักออกแบบท่าเต้น | th |
dc.subject | ระดับการสร้างสรรค์ | th |
dc.subject.other | ลิขสิทธิ์ -- การออกแบบท่าเต้น | th |
dc.subject.other | การออกแบบท่าเต้น | th |
dc.subject.other | นักออกแบบท่าเต้น | th |
dc.title | มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธินักออกแบบท่าเต้น | th |
dc.title.alternative | Legal measure for the protection on choreographer right | th |
dc.type | Text | th |
mods.genre | วิทยานิพนธ์ | th |
mods.physicalLocation | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา | th |
thesis.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | th |
thesis.degree.level | Master's | th |
thesis.degree.grantor | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
thesis.degree.department | คณะนิติศาสตร์ | th |