อิทธิพลของการลงโทษจำคุกกับลักษณะที่มีแนวโน้มต่อการเป็นอาชญากรของผู้ต้องขัง
by ฌ.กะเฌอ มณีเทพ
ชื่อเรื่อง: | อิทธิพลของการลงโทษจำคุกกับลักษณะที่มีแนวโน้มต่อการเป็นอาชญากรของผู้ต้องขัง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The effects of imprisonment on the characteristics related to the tendency to repeat criminal offenses by inmates |
ผู้แต่ง: | ฌ.กะเฌอ มณีเทพ |
ผู้ควบคุมงานวิจัย: | เกษมศานต์ โชติชาครพันธุ์ |
ชื่อปริญญา: | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต |
ระดับปริญญา: | Master's |
คณะ/หน่วยงาน: | คณะรัฐประศาสนศาสตร์ |
หน่วยงานที่ประสาทปริญญา: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
หน่วยงานที่เผยแพร่: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ: |
การศึกษาเรื่องอิทธิพลจากการลงโทษจำคุกต่อลักษณะที่มีแนวโน้มต่อการเป็นอาชญากรของผู้ต้องขัง โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 1) เพื่อศึกษาลักษณะที่มีแนวโน้มต่อการเป็นอาชญากรของผู้ต้องขัง 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการถูกตีตราทางสังคมด้วยการลงโทษจำคุกต่อลักษณะที่มีแนวโน้มต่อการเป็นอาชญากรของผู้ต้องขัง และ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลร่วมระหว่างอายุและโปรแกรมแก้ไขฟื้นฟูกับลักษณะที่มีแนวโน้มต่อการเป็นอาชญากรของผู้ต้องขัง โดยการศึกษาจากเอกสารแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามจากผู้ต้องขังชายที่ต้องขังในคดีที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด จำนวน 444 คน
ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) ผู้ต้องขังส่วนใหญ่มีลักษณะที่มีแนวโน้มต่อการเป็นอาชญากรของผู้ต้องขังในระดับน้อย แต่เมื่อพิจารณาข้อมูลเป็นรายด้าน พบว่า ผู้ต้องขังมีลักษณะของการต่อต้านค่านิยมของสังคม และการยึดตนเองเป็นศูนย์กลางอยู่ในระดับมาก ในขณะที่ลักษณะด้านการหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง และการมีความสามารถในการควบคุมตนเองต่ำอยู่ในระดับน้อย โดยมีลักษณะด้านการขาดกระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบในระดับน้อยที่สุด
2) จำนวนครั้งในการจำคุกและอายุของผู้ต้องขัง เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อลักษณะที่มีแนวโน้มต่อการเป็นอาชญากรของผู้ต้องขัง โดยผู้ต้องขังที่มีจำนวนครั้งมากกว่าจะมีลักษณะที่มีแนวโน้มต่อการเป็นอาชญากรของผู้ต้องขังมากกว่า ซึ่งสะท้อนจำนวนครั้งในการมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนของบุคคลนั้น ๆ ส่งผลให้เกิดการตีตราซ้ำจากสังคมและถูกปฏิเสธจากสังคม และผู้ต้องขังที่มีอายุที่น้อยกว่าจะมีระดับการตีตราตนเองเป็นอาชญากรมากกว่าผู้ต้องขังที่มีอายุมากกว่า เนื่องจากผู้ที่มีอายุมากกว่ามีความมั่นคงทางด้านอารมณ์ ความคิด ทำให้มีภูมิคุ้มกันปฏิกิริยาตอบโต้จากสังคมมากกว่าผู้ที่มีอายุน้อยกว่า
3) ไม่พบว่ามีอิทธิพลร่วมระหว่างอายุและโปรแกรมแก้ไขฟื้นฟูต่อลักษณะที่มีแนวโน้มต่อการเป็นอาชญากรของผู้ต้องขัง |
รายละเอียดเพิ่มเติม: |
วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561 |
หัวเรื่องมาตรฐาน: | นักโทษ
การลงโทษ จิตวิทยาอาชญากร พฤติกรรมอาชญากร |
คำสำคัญ: | e-Thesis
อาชญากร ผู้ต้องขัง การตีตรา |
ประเภททรัพยากร: | วิทยานิพนธ์ |
ความยาว: | 116 แผ่น |
ชนิดของสื่อ: | Text |
รูปแบบแฟ้มข้อมูล: | application/pdf |
ภาษา: | tha |
สิทธิในการใช้งาน: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5038 |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT) |
|
ดู ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|