การคุ้มครองแรงงานจากการหยุดกิจการชั่วคราว กรณีกิจการนายจ้างประสบอุทกภัย
Files
Publisher
Issued Date
2016
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
109 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b194171
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ประภัสสร รัตนวิเชียร (2016). การคุ้มครองแรงงานจากการหยุดกิจการชั่วคราว กรณีกิจการนายจ้างประสบอุทกภัย. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5043.
Title
การคุ้มครองแรงงานจากการหยุดกิจการชั่วคราว กรณีกิจการนายจ้างประสบอุทกภัย
Alternative Title(s)
Labour protection on temporary suspension of business operation in case employer's business affected by flood disaster
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
มหาอุทกภัยปี 2554 นับได้ว่าเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งประวัติศาสตร์ของประเทศไทยสร้างความเดือดร้อนเสียหายทั้งทรัพย์สิน พื้นที่นิคมอุตสาหกรรม ตลอดจนการสูญเสียชีวิตโดยเฉพาะสถานประกอบกิจการที่ได้รับความเสียหายส่งผลให้นายจ้างจำนวนไม่น้อยตัดสินใจหยุดกิจการชั่วคราวด้วยเหตุที่ได้รับผลกระทบจากมหาอุทกภัยครั้งนั้นจนไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ โดยมิได้ประสงค์จะหยุดกิจการเป็นการถาวร เมื่อกิจการนายจ้างประสบอุทกภัยก็ย่อมส่งผลต่อสถานภาพของแรงงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
การหยุดกิจการชั่วคราวกรณีกิจการนายจ้างประสบอุทกภัย เป็นการหยุดกิจการซึ่งไม่ได้เกิดจากความผิดของลูกจ้าง แต่นายจ้างมีความจำเป็น ซึ่งการหยุดกิจการชั่วคราวถือเป็นมาตรการในการชะลอการเลิกจ้าง เพื่อไม่ให้ลูกจ้างได้รับความเดือดร้อนมากเกินควรในขณะที่นายจ้างหยุดกิจการชั่วคราว พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ.2541 มาตรา 75 ได้กำหนดการคุ้มครองลูกจ้างกรณีนายจ้างมีความจำเป็นต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเป็นการชั่วคราวไว้เป็นการเฉพาะจากเดิมที่ต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 6 ว่าด้วยการจ้าแรงงานซึ่งไม่มีลักษณะเป็นการคุ้มครองแรงงาน
ประภัสสร รัตนวิเชียร ผลจากการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 75 กำหนดถึงการให้ความคุ้มครองลูกจ้างในกรณีมีความจำเป็นซึ่งไม่ใช่เหตุสุดวิสัยต้องหยุดกิจการเป็นการชั่วคราว ให้นายจ้างมีหน้าที่ในการจ่ายเงินกรณีนายจ้างหยุดกิจการซึ่งไม่ใช่ค่าจ้างตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงาน อีกทั้งกำหนดให้นายจ้างมีหน้าที่ในการแจ้งแก่ลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงานทราบล่วงหน้านั้น อย่างไรก็ตามการคุ้มครองแรงงานดังกล่าวก็ยังมีช่องว่างให้นายจ้างบางรายยกเหตุมหาอุทกภัยอันเป็นเหตุสุดวิสัย เมื่อความเป็นเหตุสุดวิสัยผ่านพ้นไปแล้วแต่นายจ้างอ้างเหตุสุดวิสัยที่เกิดขึ้นจริงยังคงมีอยู่ เพื่อเลี่ยงไม่จ่ายเงินกรณีนายจ้างหยุดกิจการชั่วคราว ผู้วิจัยจึงเห็นควรให้มีการกำหนดความหมายและระยะเวลาของการหยุดกิจการชั่วคราวและอีกหน้าที่หนึ่งของนายจ้าง คือ หน้าที่การแจ้งแก่ลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงานทราบล่วงหน้าหากเป็นกรณีที่นายจ้างหยุดกิจการชั่วคราวด้วยเหตุสุดวิสัย นายจ้างก็ไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งแก่พนักงานตรวจแรงงานทราบกำหนดให้แจ้งเพียงเฉพาะเป็นหนังสือให้ทราบล่วงหน้าเท่านั้น ผู้วิจัยเห็นควรให้มีการเพิ่มช่องทางการแจ้งด้วยวิธีอื่น ๆ โดยนำช่องทางการสื่อสารผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ลูกจ้างทราบโดยสะดวก รวดเร็วกว่า นอกจากพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 75 แล้ว ยังมีมาตรการให้ความช่วยเหลือแรงงานโดยภาครัฐผ่านโครงการต่าง ๆ แต่ก็ยังไม่บรรเทาความเดือดร้อนของลูกจ้างครอบคลุมในทุกด้านตามความเมาะสมเท่าที่ควรด้วยหลักเกณฑ์และข้อกำหนดในแต่ละโครงการ
ดังนั้นการศึกษาการคุ้มครองแรงงานจากการหยุดกิจการชั่วคราวกรณีนายจ้างประสบอุทกภัย เพื่อประโยชน์ในการให้ความคุ้มครอง ดูแล และให้ความช่วยเหลือลูกจ้างซึ่งนับเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่อไป
การหยุดกิจการชั่วคราวกรณีกิจการนายจ้างประสบอุทกภัย เป็นการหยุดกิจการซึ่งไม่ได้เกิดจากความผิดของลูกจ้าง แต่นายจ้างมีความจำเป็น ซึ่งการหยุดกิจการชั่วคราวถือเป็นมาตรการในการชะลอการเลิกจ้าง เพื่อไม่ให้ลูกจ้างได้รับความเดือดร้อนมากเกินควรในขณะที่นายจ้างหยุดกิจการชั่วคราว พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ.2541 มาตรา 75 ได้กำหนดการคุ้มครองลูกจ้างกรณีนายจ้างมีความจำเป็นต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเป็นการชั่วคราวไว้เป็นการเฉพาะจากเดิมที่ต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 6 ว่าด้วยการจ้าแรงงานซึ่งไม่มีลักษณะเป็นการคุ้มครองแรงงาน
ประภัสสร รัตนวิเชียร ผลจากการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 75 กำหนดถึงการให้ความคุ้มครองลูกจ้างในกรณีมีความจำเป็นซึ่งไม่ใช่เหตุสุดวิสัยต้องหยุดกิจการเป็นการชั่วคราว ให้นายจ้างมีหน้าที่ในการจ่ายเงินกรณีนายจ้างหยุดกิจการซึ่งไม่ใช่ค่าจ้างตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงาน อีกทั้งกำหนดให้นายจ้างมีหน้าที่ในการแจ้งแก่ลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงานทราบล่วงหน้านั้น อย่างไรก็ตามการคุ้มครองแรงงานดังกล่าวก็ยังมีช่องว่างให้นายจ้างบางรายยกเหตุมหาอุทกภัยอันเป็นเหตุสุดวิสัย เมื่อความเป็นเหตุสุดวิสัยผ่านพ้นไปแล้วแต่นายจ้างอ้างเหตุสุดวิสัยที่เกิดขึ้นจริงยังคงมีอยู่ เพื่อเลี่ยงไม่จ่ายเงินกรณีนายจ้างหยุดกิจการชั่วคราว ผู้วิจัยจึงเห็นควรให้มีการกำหนดความหมายและระยะเวลาของการหยุดกิจการชั่วคราวและอีกหน้าที่หนึ่งของนายจ้าง คือ หน้าที่การแจ้งแก่ลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงานทราบล่วงหน้าหากเป็นกรณีที่นายจ้างหยุดกิจการชั่วคราวด้วยเหตุสุดวิสัย นายจ้างก็ไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งแก่พนักงานตรวจแรงงานทราบกำหนดให้แจ้งเพียงเฉพาะเป็นหนังสือให้ทราบล่วงหน้าเท่านั้น ผู้วิจัยเห็นควรให้มีการเพิ่มช่องทางการแจ้งด้วยวิธีอื่น ๆ โดยนำช่องทางการสื่อสารผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ลูกจ้างทราบโดยสะดวก รวดเร็วกว่า นอกจากพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 75 แล้ว ยังมีมาตรการให้ความช่วยเหลือแรงงานโดยภาครัฐผ่านโครงการต่าง ๆ แต่ก็ยังไม่บรรเทาความเดือดร้อนของลูกจ้างครอบคลุมในทุกด้านตามความเมาะสมเท่าที่ควรด้วยหลักเกณฑ์และข้อกำหนดในแต่ละโครงการ
ดังนั้นการศึกษาการคุ้มครองแรงงานจากการหยุดกิจการชั่วคราวกรณีนายจ้างประสบอุทกภัย เพื่อประโยชน์ในการให้ความคุ้มครอง ดูแล และให้ความช่วยเหลือลูกจ้างซึ่งนับเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่อไป
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (กฎหมายและการจัดการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559