• English
    • ไทย
  • ไทย 
    • English
    • ไทย
  • เข้าสู่ระบบ
ดูรายการข้อมูล 
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

เรียกดูข้อมูล

ข้อมูลทั้งหมดของ คลังปัญญาชุมชน & กลุ่มข้อมูลวันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากรกลุ่มข้อมูลนี้วันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากร

บัญชีของฉัน

เข้าสู่ระบบ

การคุ้มครองแรงงานจากการหยุดกิจการชั่วคราว กรณีกิจการนายจ้างประสบอุทกภัย

by ประภัสสร รัตนวิเชียร

ชื่อเรื่อง:

การคุ้มครองแรงงานจากการหยุดกิจการชั่วคราว กรณีกิจการนายจ้างประสบอุทกภัย

ชื่อเรื่องอื่นๆ:

Labour protection on temporary suspension of business operation in case employer's business affected by flood disaster

ผู้แต่ง:

ประภัสสร รัตนวิเชียร

ผู้ควบคุมงานวิจัย:

วริยา ล้ำเลิศ

ชื่อปริญญา:

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

ระดับปริญญา:

Master's

สาขาวิชา:

กฎหมายและการจัดการ

คณะ/หน่วยงาน:

คณะนิติศาสตร์

หน่วยงานที่ประสาทปริญญา:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันที่เผยแพร่:

2559

หน่วยงานที่เผยแพร่:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:

มหาอุทกภัยปี 2554 นับได้ว่าเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งประวัติศาสตร์ของประเทศไทยสร้างความเดือดร้อนเสียหายทั้งทรัพย์สิน พื้นที่นิคมอุตสาหกรรม ตลอดจนการสูญเสียชีวิตโดยเฉพาะสถานประกอบกิจการที่ได้รับความเสียหายส่งผลให้นายจ้างจำนวนไม่น้อยตัดสินใจหยุดกิจการชั่วคราวด้วยเหตุที่ได้รับผลกระทบจากมหาอุทกภัยครั้งนั้นจนไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ โดยมิได้ประสงค์จะหยุดกิจการเป็นการถาวร เมื่อกิจการนายจ้างประสบอุทกภัยก็ย่อมส่งผลต่อสถานภาพของแรงงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
การหยุดกิจการชั่วคราวกรณีกิจการนายจ้างประสบอุทกภัย เป็นการหยุดกิจการซึ่งไม่ได้เกิดจากความผิดของลูกจ้าง แต่นายจ้างมีความจำเป็น ซึ่งการหยุดกิจการชั่วคราวถือเป็นมาตรการในการชะลอการเลิกจ้าง เพื่อไม่ให้ลูกจ้างได้รับความเดือดร้อนมากเกินควรในขณะที่นายจ้างหยุดกิจการชั่วคราว พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ.2541 มาตรา 75 ได้กำหนดการคุ้มครองลูกจ้างกรณีนายจ้างมีความจำเป็นต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเป็นการชั่วคราวไว้เป็นการเฉพาะจากเดิมที่ต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 6 ว่าด้วยการจ้าแรงงานซึ่งไม่มีลักษณะเป็นการคุ้มครองแรงงาน
ประภัสสร รัตนวิเชียร ผลจากการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 75 กำหนดถึงการให้ความคุ้มครองลูกจ้างในกรณีมีความจำเป็นซึ่งไม่ใช่เหตุสุดวิสัยต้องหยุดกิจการเป็นการชั่วคราว ให้นายจ้างมีหน้าที่ในการจ่ายเงินกรณีนายจ้างหยุดกิจการซึ่งไม่ใช่ค่าจ้างตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงาน อีกทั้งกำหนดให้นายจ้างมีหน้าที่ในการแจ้งแก่ลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงานทราบล่วงหน้านั้น อย่างไรก็ตามการคุ้มครองแรงงานดังกล่าวก็ยังมีช่องว่างให้นายจ้างบางรายยกเหตุมหาอุทกภัยอันเป็นเหตุสุดวิสัย เมื่อความเป็นเหตุสุดวิสัยผ่านพ้นไปแล้วแต่นายจ้างอ้างเหตุสุดวิสัยที่เกิดขึ้นจริงยังคงมีอยู่ เพื่อเลี่ยงไม่จ่ายเงินกรณีนายจ้างหยุดกิจการชั่วคราว ผู้วิจัยจึงเห็นควรให้มีการกำหนดความหมายและระยะเวลาของการหยุดกิจการชั่วคราวและอีกหน้าที่หนึ่งของนายจ้าง คือ หน้าที่การแจ้งแก่ลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงานทราบล่วงหน้าหากเป็นกรณีที่นายจ้างหยุดกิจการชั่วคราวด้วยเหตุสุดวิสัย นายจ้างก็ไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งแก่พนักงานตรวจแรงงานทราบกำหนดให้แจ้งเพียงเฉพาะเป็นหนังสือให้ทราบล่วงหน้าเท่านั้น ผู้วิจัยเห็นควรให้มีการเพิ่มช่องทางการแจ้งด้วยวิธีอื่น ๆ โดยนำช่องทางการสื่อสารผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ลูกจ้างทราบโดยสะดวก รวดเร็วกว่า นอกจากพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 75 แล้ว ยังมีมาตรการให้ความช่วยเหลือแรงงานโดยภาครัฐผ่านโครงการต่าง ๆ แต่ก็ยังไม่บรรเทาความเดือดร้อนของลูกจ้างครอบคลุมในทุกด้านตามความเมาะสมเท่าที่ควรด้วยหลักเกณฑ์และข้อกำหนดในแต่ละโครงการ
ดังนั้นการศึกษาการคุ้มครองแรงงานจากการหยุดกิจการชั่วคราวกรณีนายจ้างประสบอุทกภัย เพื่อประโยชน์ในการให้ความคุ้มครอง ดูแล และให้ความช่วยเหลือลูกจ้างซึ่งนับเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่อไป

รายละเอียดเพิ่มเติม:

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (กฎหมายและการจัดการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559

หัวเรื่องมาตรฐาน:

กฎหมายแรงงาน

คำสำคัญ:

นายจ้าง
ลูกจ้าง

ประเภททรัพยากร:

วิทยานิพนธ์

ความยาว:

109 แผ่น

ชนิดของสื่อ:

Text

รูปแบบแฟ้มข้อมูล:

application/pdf

ภาษา:

tha

สิทธิในการใช้งาน:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5043
แสดงระเบียนรายการแบบเต็ม

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT)

Thumbnail
ดู
  • b194171.pdf ( 1,075.59 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSL: Theses [187]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×