แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการบริการของพนักงานต้อนรับภาคพื้นดินสายการบินต้นทุนต่ำ กรณีศึกษา ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต
by กิตติพิชญ์ หนูทอง
Title: | แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการบริการของพนักงานต้อนรับภาคพื้นดินสายการบินต้นทุนต่ำ กรณีศึกษา ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต |
Other title(s): | The development guideline on service competencies of low cost airline ground staffs : a case study of Phuket International Airport |
Author(s): | กิตติพิชญ์ หนูทอง |
Advisor: | ไพฑูรย์ มนต์พานทอง |
Degree name: | การจัดการมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ |
Degree department: | คณะการจัดการการท่องเที่ยว |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2018 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความเชื่อมั่นของผู้โดยสารที่มีผลต่อคุณภาพการบริการของพนักงานต้อนรับภาคพื้นดินสายการบินต้นทุนต่ำ 2) เพื่อประเมินสมรรถนะขีดความสามารถการบริการของพนักงานต้อนรับภาคพื้นดินสายการบินต้นทุนต่ำ 3) แนวทางการพัฒนาขีดความสามารถของพนักงานต้อนรับภาคพื้นดินของสายการบินต้นทุนต่ำ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้โดยสารชาวไทยที่ใช้บริการจากพนักงานต้อนรับภาคพื้นดินสายการบินต้นทุนต่ำ ณ ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต จำนวน 400 ตัวอย่าง ซึ่งเป็นวิจัยเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t-test และสถิติ One-Way ANOVA
จากผลการวิจัย พบว่าระดับความเชื่อมั่นต่อสมรรถนะการบริการของพนักงานต้อนรับภาคพื้นดินสายการบินต้นทุนต่ำ อยู่ในระดับมาก เมื่อแยกผลการศึกษารายด้านทั้ง 2 ด้าน ด้านสมรรถนะขีดความสามารถการบริการของพนักงานต้อนรับภาคพื้นดินสายการบินต้นทุนต่ำ คือ ทักษะ ความรู้ และพฤติกรรมที่มีความจำเป็นต่อการทำงานในแต่ละบุคคล กลุ่มตัวอย่างประเมินสมรรถนะขีดความสามารถในการให้บริการของพนักงานต้อนรับภาคพื้นดินสายการบินต้นทุนต่ำด้านความรู้มาก และด้านความเชื่อมั่นของผู้โดยสารที่มีผลต่อคุณภาพการบริการของพนักงานต้อนรับภาคพื้นดินสายการบินต้นทุนต่ำ จาก 5 มิติหลัก มิติด้านความน่าเชื่อถือ มิติด้านความการตอบสนอง มิติด้านความความมั่นใจ มิติด้านความการเอาใจใส่ มิติด้านความการสัมผัสได้ เมื่อพิจารณารายด้าน กลุ่มตัวอย่างมีความเชื่อมั่นต่อคุณภาพการบริการด้านการสัมผัสได้มากที่สุด โดยที่ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านช่วงเพศ ด้านอายุ และด้านรายได้ ของกลุ่มตัวอย่างมีผลทำให้แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการบริการของพนักงานต้อนรับภาคพื้นดินสายการบินต้นทุนต่ำ มีความแตกต่างกัน
เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะการบริการของพนักงานต้อนรับภาคพื้นดินสายการบินต้นทุนต่ำ สามารถนำผลการวิจัยมาพัฒนาสมรรถนะการบริการของพนักงานต้อนรับภาคพื้นดินเพื่อคุณภาพการบริการในด้านความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะส่วนบุคคล ให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาให้เกิดภาวการณ์เป็นผู้นำ (Leadership) ในองค์กรสายการบิน โดยถือได้ว่าเป็นการต่อยอดจากองค์ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) พฤติกรรมที่พึงปรารถนา (Attributes) แล้วนำไปสู่การจัดการการปฏิบัติให้มีการพัฒนาให้เกิดการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องทันต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงและแข่งขัน โดยมีช่วงของระยะเวลาที่กำหนดและหล่อหลอมจากการปฏิบัติจนเกิดเป็นสมรรถนะของบุคคลในด้านนั้นๆ และสามารถเชื่อมโยงรูปแบบการทำงานเป็นทีม (Team Working) อย่างมีประสิทธิภาพ จะส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะการบริการและคุณภาพการบริการของพนักงานต้อนรับภาคพื้นดินสายการบินต้นทุนต่ำต่อไป
|
Description: |
วิทยานิพนธ์ (กจ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561 |
Subject(s): | สมรรถนะ
อุตสาหกรรมการบิน |
Keyword(s): | e-Thesis
พนักงานต้อนรับภาคพื้นดิน สายการบินต้นทุนต่ำ |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 163 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5052 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|