การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการติดตามผู้กระทำความผิดทางอาญากรณีศึกษาเด็กและเยาวชน
by ขวัญเรือน ลีโคกกลาง
ชื่อเรื่อง: | การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการติดตามผู้กระทำความผิดทางอาญากรณีศึกษาเด็กและเยาวชน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The use of an electronic monitoring device for tracking criminal offenders : a case study of children and youth |
ผู้แต่ง: | ขวัญเรือน ลีโคกกลาง |
ผู้ควบคุมงานวิจัย: | เกียรติพร อำไพ |
ชื่อปริญญา: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
ระดับปริญญา: | Master's |
หน่วยงานที่ประสาทปริญญา: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
หน่วยงานที่เผยแพร่: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ: |
วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงหลักการ แนวคิด ทฤษฎีและที่มาเกี่ยวกับการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับเด็กและเยาวชน ศึกษาเปรียบเทียบหลักเกณฑ์มาตรการเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน โดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายต่างประเทศที่อาจนำมาปรับใช้ในประเทศไทย วิเคราะห์ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับเด็กและเยาวชน และเพื่อเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมในการปรับปรุง แก้ไข และพัฒนาระบบกฎหมายไทยเพื่อให้มีความชัดเจนและมีผลบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อพิจารณากระบวนการยุติธรรมทางอาญาของไทยมีจุดมุ่งหมายที่จะแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดให้กลับเข้าอยู่ในสังคมอย่างแท้จริง เป็นการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดซึ่งได้มีมาตรการที่เหมาะสม คือ การนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดในทางอาญา เพื่อลดปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในสังคม การลดปัญหาความแออัดในสถานพินิจ ลดการตีตราของผู้กระทำความผิด และช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐในระยะยาวในการดูแลบุคคลที่อยู่ในสถานพินิจ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มประเทศที่มีกฎหมายในการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กับเด็กและเยาวชน และกลุ่มประเทศที่ไม่มีการกำหนดกฎหมายไว้เป็นการเฉพาะสำหรับเด็กและเยาวชน พบว่ากลุ่มประเทศที่มีการใช้กฎหมายเฉพาะสำหรับเด็กและเยาวชนประสบความสำเร็จในการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งพบว่ามีข้อดี คือ เป็นการลดปัญหาความแออัดในเรือนจำ ลดการกระทำความผิดซ้ำ การก่ออาชญากรรมลดลง ลดการตีตราผู้กระทำความผิด ช่วยลดค่าจ่ายของรัฐบาล เป็นต้น
ดังนั้นผู้ศึกษาจึงขอเสนอแนวทางในการมีกฎหมายเฉพาะเพื่อให้มีมาตรการที่เหมาะสมในการนำ
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับเด็กและเยาวชนในกรณีการปล่อยตัวชั่วคราว และกรณีภายหลังมีคำพิพากษา เพื่อให้เด็กและเยาวนที่ได้กระทำความผิดสามารถกลับเข้าสู่สังคมได้อย่างแท้จริง |
รายละเอียดเพิ่มเติม: |
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562 |
หัวเรื่องมาตรฐาน: | เด็ก -- การกระทำผิด
เยาวชน -- การกระทำผิด |
คำสำคัญ: | e-Thesis
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ การติดตามผู้กระทำความผิด |
ประเภททรัพยากร: | วิทยานิพนธ์ |
ความยาว: | 224 แผ่น |
ชนิดของสื่อ: | Text |
รูปแบบแฟ้มข้อมูล: | application/pdf |
ภาษา: | tha |
สิทธิในการใช้งาน: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5099 |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT) |
|
ดู ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|