การศึกษาวัฒนธรรมทางการเมืองของพลเมือง 4 รุ่น:กรณีศึกษาอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
by อรวรรณ สว่างอารมณ์
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาวัฒนธรรมทางการเมืองของพลเมือง 4 รุ่น:กรณีศึกษาอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | A study of four generations' political cultures: a case study of Wangnoi District of Phra Nakhon Sri Ayutthaya |
ผู้แต่ง: | อรวรรณ สว่างอารมณ์ |
ผู้ควบคุมงานวิจัย: | สุวิชา เป้าอารีย์ |
ชื่อปริญญา: | ศิลปศาตรมหาบัณฑิต |
ระดับปริญญา: | Master's |
สาขาวิชา: | การเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา |
คณะ/หน่วยงาน: | คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม |
หน่วยงานที่ประสาทปริญญา: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
หน่วยงานที่เผยแพร่: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ: |
การศึกษาวัฒนธรรมทางการเมืองของพลเมือง 4 รุ่น: กรณีศึกษาอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการศึกษาตามแนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาวัฒนธรรมทางการเมืองของพลเมืองทั้ง 4 รุ่น ได้แก่ เบบี้บูมเมอร์ส, เจเนอเรชั่นเอ็กซ์, เจเนอเรชั่นวาย, และ เจเนอเรชั่นแซด ในพื้นที่อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ 2) เพื่อเปรียบเทียบวัฒนธรรมทางการเมืองของพลเมืองทั้ง 4 รุ่น ใช้วิธีการศึกษาโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และใช้วิธีการสัมภาษณ์เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล รวมถึงการสังเกตการณ์ร่วมด้วย โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 20 คน แบ่งออกเป็น 4 รุ่น ได้แก่ เบบี้บูมเมอร์ส, เจเนอเรชั่นเอ็กซ์, เจเนอเรชั่นวาย, และ เจเนอเรชั่นแซด รุ่นละ 5 คน โดยในแต่ละรุ่นผู้ให้ข้อมูลแต่ละคนมีอาชีพต่างกัน
จากการศึกษาพบว่า วัฒนธรรมทางการเมืองของพลเมืองทั้ง 4 รุ่น มีความคล้ายคลึงกัน และความแตกต่างกันไปในบางประการ โดยแต่ละรุ่นต่างมีวัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟ้าผสมการมีส่วนร่วม (The Subject-Participant Culture) เหมือนกันในทั้ง 4 รุ่น แตกต่างที่ในเจเนอเรชั่นวาย และเจเนอเรชั่นแซดมีพฤติกรรมที่มีแนวโน้มว่าเข้าใกล้รูปแบบวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วม (The Participant Political Culture) มากกว่าเบบี้บูมเมอร์ส และเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ ซึ่งความแตกต่างนี้เป็นผลมาจากกระบวนการกล่อมเกลาที่ต่างกันนั้น สร้างความเชื่อ ค่านิยม และทัศนคติทางการเมือง กลายเป็นแบบแผนพฤติกรรมทางการเมืองที่แตกต่างกันไปด้วย อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมทางการเมืองยังถือเป็นสิ่งที่มีบทบาทต่อการสร้างความเหมือน และความต่างของวัฒนธรรมทางการเมืองของคนในแต่ละรุ่น |
รายละเอียดเพิ่มเติม: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2563 504 |
หัวเรื่องมาตรฐาน: | วัฒนธรรมทางการเมือง
ประชาธิปไตย |
คำสำคัญ: | e-Thesis
พลเมือง 4 รุ่น |
ประเภททรัพยากร: | วิทยานิพนธ์ |
ความยาว: | 148 แผ่น |
ชนิดของสื่อ: | Text |
รูปแบบแฟ้มข้อมูล: | application/pdf |
ภาษา: | tha |
สิทธิในการใช้งาน: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5104 |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT) |
|
ดู ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|