ธรรมาภิบาลในการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษา เขตประกอบการอุตสาหกรรมไออาร์พีซี จังหวัดระยอง
by ณัฐนันท์ เขียวเกษม
ชื่อเรื่อง: | ธรรมาภิบาลในการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษา เขตประกอบการอุตสาหกรรมไออาร์พีซี จังหวัดระยอง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Good governance in sustainable environmental management : a case study of the IRPC Industrial Estate Area, Rayong |
ผู้แต่ง: | ณัฐนันท์ เขียวเกษม |
ผู้ควบคุมงานวิจัย: | จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ |
ชื่อปริญญา: | วิทยาศาตรมหาบัณฑิต |
ระดับปริญญา: | Master's |
สาขาวิชา: | การจัดการสิ่งแวดล้อม |
คณะ/หน่วยงาน: | คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม |
หน่วยงานที่ประสาทปริญญา: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
หน่วยงานที่เผยแพร่: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ: |
การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินการของเขตประกอบการอุตสาหกรรมไออาร์พีซีตามหลักธรรมาภิบาลในการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคเพื่อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงาน งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยคุณภาพ (Qualitative Research) มีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างร่วม (Semi-Structured Interviews) กับการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม (Non-Participation Observation) กับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง และประยุกต์ใช้ตัวชี้วัดจากคู่มือการดำเนินงานตามหลักเกณฑ์ธรรมภิบาลสิ่งแวดล้อมเป็นหลักในการศึกษา ตัวชี้วัดที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินประกอบด้วยหลักธรรมาภิบาลทั้ง 7 หลัก คือ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ หลักประสิทธิภาพและประสิทธิผล หลักความยั่งยืน ผลการศึกษาพบว่า การดำเนินการเขตประกอบการอุตสาหกรรมไออาร์พีซีมีการดำเนินการตามหลักธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับดีมาก และเป็นไปตามกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง ระบบบริหารจัดการด้านคุณภาพ ความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (QSHE) มีแผนรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน มีกระบวนการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางต่าง ๆ รวมถึงการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการและกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม และมีช่องทางในการร้องเรียนเมื่อเกิดผลกระทบจากการดำเนินงาน ทางเขตประกอบการฯ ก็จะมีกระบวนการเยียวยาตามลำดับขั้นตอน อาจเกิดความล่าช้า ส่งผลให้ประชาชนมองว่าเขตประกอบการฯ จัดการปัญหาล่าช้า ทางเขตประกอบการฯ ควรสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ประชาชนในชุมชน รวมถึงผู้บริหารระดับสูงของเขตประกอบการฯ ปรับเปลี่ยนนโยบายให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย |
รายละเอียดเพิ่มเติม: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562 |
หัวเรื่องมาตรฐาน: | การพัฒนาที่ยั่งยืน |
คำสำคัญ: | e-Thesis
ธรรมาภิบาล เขตประกอบการอุตสาหกรรมไออาร์พีซี ธรรมรัฐ |
ประเภททรัพยากร: | วิทยานิพนธ์ |
ความยาว: | 225 แผ่น |
ชนิดของสื่อ: | Text |
รูปแบบแฟ้มข้อมูล: | application/pdf |
ภาษา: | tha |
สิทธิในการใช้งาน: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5107 |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT) |
|
ดู ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|