• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
  • GSEDA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
  • GSEDA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การบริหารจัดการและการดำเนินโครงการอุทยานแห่งชาติสีเขียวด้านขยะมูลฝอยของอุทยานแห่งชาติภูเรือ จังหวัดเลย

by ภัทรภรณ์ พิศปั้น

Title:

การบริหารจัดการและการดำเนินโครงการอุทยานแห่งชาติสีเขียวด้านขยะมูลฝอยของอุทยานแห่งชาติภูเรือ จังหวัดเลย

Other title(s):

Waste management and implementation of the Green National Park Project for waste in Phu Ruea National Park, Loei Province

Author(s):

ภัทรภรณ์ พิศปั้น

Advisor:

ฆริกา คันธา

Degree name:

วิทยาศาตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

การจัดการสิ่งแวดล้อม

Degree department:

คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2020

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระบบการจัดการขยะมูลฝอยในปัจจุบัน รวมถึงประเภทและปริมาณของขยะมูลฝอยของอุทยานแห่งชาติภูเรือ จังหวัดเลย การประเมินการปฏิบัติตามเกณฑ์ด้านการจัดการขยะมูลฝอยของโครงการประกวดอุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green national park) และเพื่อเสนอแนะแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสมสำหรับอุทยานแห่งชาติดังกล่าว เป็นการศึกษาแบบผสมผสานทั้งวิธีการศึกษาเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวข้องกับการจัดการขยะมูลฝอยของอุทยานแห่งชาติภูเรือและผู้ผลิตขยะมูลฝอยภายในพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูเรือ รวมถึงข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัย พบว่า อุทยานแห่งชาติภูเรือได้เก็บรวมรวบข้อมูลปริมาณขยะมูลฝอยตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2560 – 2561 ซึ่งในแต่ละปีมีปริมาณขยะมูลฝอยลดลงตามลำดับ ซึ่งช่วงเดือนที่มีปริมาณขยะสูง จะสอดคล้องกับช่วงเทศกาลวันสำคัญต่างๆ และช่วงฤดูหนาวที่เป็นฤดูกาลท่องเที่ยวของอุทยานแห่งชาตินี้ ประเภทขยะมูลฝอยที่มีแนวโน้มปริมาณลดลง คือ ขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย ส่วนขยะมูลฝอยที่มีแนวโน้มปริมาณเพิ่มขึ้น คือ ขยะย่อยสลาย สำหรับขยะทั่วไปนั้น มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2560 - 2561 แต่ลดลงเล็กน้อยในปี พ.ศ. 2562 อุทยานแห่งชาติภูเรือมีการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ทั้งการเก็บรวบรวม การขนส่ง การคัดแยก การกำจัด และการจัดการขยะมูลฝอยตามหลัก 3Rs ได้แก่ ลดการใช้ การใช้ซ้ำ และการนำกลับมาใช้ใหม่ โดยคัดแยกขยะมูลฝอยออกเป็น 4 ประเภท และกำจัดด้วยวิธีการที่แตกต่างกันตามประเภทของขยะมูลฝอย ตลอดจนมีการจัดการขยะมูลฝอยตามหลัก 3Rs ทั้งในส่วนสำนักงาน ร้านค้า/ร้านอาหาร พื้นที่เขตบริการ โดยการประชาสัมพันธ์และขอความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ บุคลากร ผู้ประกอบการ และนักท่องเที่ยว รวมถึงกำหนดมาตรการการจัดการขยะมูลฝอยตามหลัก 3Rs แก่สำนักงาน ร้านค้า/ร้านอาหาร เป็นต้น อุทยานแห่งชาติภูเรือได้ผ่านเกณฑ์การประเมินด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมจากโครงการประกวดอุทยานแห่งชาติสีเขียว ประจำปี พ.ศ. 2562 ซึ่งโครงการประกวดอุทยานแห่งชาติสีเขียวประกอบด้วยเกณฑ์การประเมินด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมทั้งหมด 17 เกณฑ์ โดยมีด้านที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะมูลฝอย 4 เกณฑ์ ได้แก่ การลดปริมาณขยะมูลฝอยโดยใช้หลัก 3Rs การคักแยกขยะมูลฝอย การเก็บรวบรวมขยะมูลฝอย และการกำจัดขยะมูลฝอย โดยอุทยานแห่งชาติภูเรือมีการดำเนินการในภาพรวมได้ดี ไม่มีขยะตกค้าง มีนักท่องเที่ยวและเจ้าหน้าที่บางส่วนมีการคัดแยกขยะมูลฝอยไม่ถูกต้อง รวมถึงการกำจัดขยะทั่วไปยังใช้วิธีการกำจัดที่ไม่เหมาะสม ซึ่งแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสมของอุทยานแห่งชาติภูเรือ เช่น จัดซื้อเครื่องมือ อุปกรณ์สำหรับจัดการขยะให้เพียงพอ เพิ่มมาตรการการการจัดการขยะในช่วงเทศกาล อบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากร และปรับปรุงระบบกำจัดขยะให้ถูกหลักสุขาภิบาล เป็นต้น การดำเนินการบริหารจัดการขยะในพื้นที่อุทยานแห่งชาตินี้ ควรพัฒนาสื่อหรือรูปแบบมาตรการที่จะมีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการลดขยะภายในอุทยานแห่งชาติ รวมถึงการผลักดันมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวสีเขียวให้นำไปใช้กว้างขวางมากยิ่งขึ้นโดยร่วมมือกับหน่วยงานอื่น เกณฑ์อุทยานแห่งชาติสีเขียวควรได้รับการพัฒนาเกณฑ์ในด้านการคุ้มครองและบำรุงรักษาระบบนิเวศและทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงการส่งเสริมและสนับสนุนให้เป็นแหล่งค้นคว้าวิจัยและการศึกษาหาความรู้ด้วย เพื่อพัฒนามาตราฐานของอุทยานแห่งชาติในอนาคต
The purpose of this study aimed to study current waste management systems, including the type and amount of waste of Phu Ruea National Park, Loei Province, to assess waste management operation under Green National Park Project, and to recommend appropriate waste management guidelines for the national park. This study is mixed study of both quantitative and qualitative methods. The literature review of related documents, academic articles, so on and semi-structured interview with key informant involving waste management and waste producer in the national park. The study found that the Phu Ruea National Park has collected the amount of waste since 2017. The annual amount of waste decreased from 2018 to 2019. The highest waster rate usually is in various important festival days, long weekend and the winter which is high season for tourists. The types of solid waste which have the tendency of decreasing amount are recyclable and hazardous waste. The increasing amount of solid waste is decomposed waste. For general waste, it has the tendency to increase in 2017 - 2018 but slightly decrease in 2019. Waste management system of Phu Ruea National Park includes waste collection, waste transport, waste separation, waste disposal, and waste management according to 3R principles: Reduce, Reuse and Recycle. Waste is separated into 4 types and disposals with different methods according to the type of waste. As well as waste management in accordance with the 3Rs principles, waste management in national park office, restaurant/shops and service zone area are organized by public relations and requesting cooperation from staffs, personnel, entrepreneurs and tourists. Phu Ruea National Park has certified the environmental management assessment from the Green National Park in 2019. The Green National Park Project consists of 17 criteria for environmental management assessment, with 4 criteria related to waste management; waste reduction according 3Rs principle, separation, collection, and disposal. In general, Phu Ruea National Park has performed sound waste management according to the criteria. There was no remaining waste in the area, however waste separation was partially practiced incorrectly. Moreover, general waste disposal was not appropriate. Recommendations for waste management in the national park were such as appropriate tool procurement, adequate waste management equipment, more waster management measures during high season, waste disposal improvement, etc. Waste management operations in this national park area should develop specific media or measures that will affect the behavior of waste reduction in national parks. The responsible agencies should push the green tourism more widely by collaborating with other agencies. Green national park criteria should be developed for the protection and maintenance of ecosystems and natural resources. As well as, there should be more promotion and supports the national park as a source of research and education in order to develop standards of the national park in the future.

Description:

วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2563

Subject(s):

ขยะและการกำจัดขยะ -- ไทย -- เลย -- ภูเรือ
อุทยานแห่งชาติภูเรือ

Keyword(s):

ขยะมูลฝอย
e-Thesis
การจัดการขยะมูลฝอย
อุทยานแห่งชาติสีเขียว

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

146 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5110
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b210696.pdf ( 4,410.93 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSEDA: Theses [91]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×