ประสิทธิภาพในการสื่อสารของป้ายดิจิตัลแสดงคุณภาพอากาศบริเวณรอบนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง
by เวสารัช วรุตมะพงศ์พันธุ์
Title: | ประสิทธิภาพในการสื่อสารของป้ายดิจิตัลแสดงคุณภาพอากาศบริเวณรอบนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง |
Other title(s): | Communication efficiency of digital boards indicating air quality at Maptaput Industrial Estate, Rayong |
Author(s): | เวสารัช วรุตมะพงศ์พันธุ์ |
Advisor: | จำลอง โพธิ์บุญ |
Degree name: | วิทยาศาตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การจัดการสิ่งแวดล้อม |
Degree department: | คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2020 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง (Cross sectional study) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการสื่อสารของป้ายดิจิตัลแสดงคุณภาพอากาศบริเวณรอบนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับประชาชน จำนวน 390 ตัวอย่าง ในพื้นที่ตำบลห้วยโป่ง ตำบลมาบตาพุด และตำบลบ้านฉาง จังหวัดระยอง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และพิสูจน์สมมติฐานด้วย ANOVA t-Test และ Pearson Correlation
ผลการศึกษาเชิงพรรณนาพบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย ร้อยละ 57 อายุระหว่าง 26-35 ปี ร้อยละ 33.3 สถานภาพสมรส ร้อยละ 76.4 การศึกษาระดับมัธยมปลาย/ปวช. และ อนุปริญญา ร้อยละ 30.5 รับจ้างโรงงานอุตสาหกรรม ร้อยละ 36 และพักอาศัยในจังหวัดระยอง 6-10 ปี ร้อยละ 43.3 ปัจจัยด้านการสื่อสารมีคะแนนรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 8.66, SD = 2.23) ปัจจัยสนับสนุนพฤติกรรมมีคะแนนรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 16.07, SD = 3.80) และประสิทธิภาพในการสื่อสารของป้ายดิจิตัลแสดงคุณภาพอากาศบริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง (ความรู้ เจตคติ พฤติกรรม) มีคะแนนรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 12.5, SD = 3.20) ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศอายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพและระยะเวลาที่พักอาศัยในจังหวัดระยอง ไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการสื่อสารของป้ายดิจิตัลแสดงคุณภาพอากาศบริเวณรอบนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด (p value >0.05) ขณะที่ปัจจัยด้านการสื่อสารและปัจจัยสนับสนุนพฤติกรรมมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการสื่อสารของป้ายดิจิตัลแสดงคุณภาพอากาศ (p value< 0.001) ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้คือ 1) สมควรจะปรับปรุงการนำเสนอให้ง่ายต่อความเข้าใจของประชาชน 2) สมควรจัดให้มีแผนงานหรือโครงการสำหรับประชาชนที่พักอาศัยรอบๆ บริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดให้ได้มีการฝึกปฏิบัติในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2563 |
Subject(s): | คุณภาพอากาศ -- ไทย -- ระยอง
นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด -- แง่สิ่งแวดล้อม |
Keyword(s): | e-Thesis |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 129 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5111 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|