• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
  • GSEDA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
  • GSEDA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ความสำเร็จในการจัดการสิ่งแวดล้อมกรณีศึกษาเทศบาลเมืองน่าน

by มาริสา นิ่มกุล

Title:

ความสำเร็จในการจัดการสิ่งแวดล้อมกรณีศึกษาเทศบาลเมืองน่าน

Other title(s):

A success in environmental management : a case study of Nan municipality

Author(s):

มาริสา นิ่มกุล

Advisor:

จุฑารัตน์ ชมพันธุ์

Degree name:

วิทยาศาตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

การจัดการสิ่งแวดล้อม

Degree department:

คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2019

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานในการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลเมืองน่าน รวมถึงความสำเร็จในการดำเนินงานดังกล่าว งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างกับผู้มีส่วนได้เสียในการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลเมืองน่าน ร่วมกับการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วมและการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยนำทฤษฎีระบบการบริหารงานและประเมินผลองค์กร มาใช้ในกระบวนการศึกษาดังกล่าว ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลเมืองน่าน ประกอบด้วยปัจจัยหลายมิติ ได้แก่  มิติด้านการเรียนรู้และพัฒนา พบว่า ทางเทศบาลเมืองน่านได้ให้การสนับสนุนบุคลากรให้มีการพัฒนาตนเองทั้งด้านความรู้ การศึกษาและประสบการณ์ มีการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการอย่างต่อเนื่อง  มิติด้านการบริหารจัดการภายในองค์กร พบว่า เทศบาลมีการปฏิบัติตามกฎหมายและนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลให้ประชาชนรับทราบหลายช่องทาง รวมถึงเปิดโอกาสให้ประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการดำเนินกิจกรรมด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม มิติด้านความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้เสีย พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่พึงพอใจในการดำเนินงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาล รวมถึงการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในเทศบาล และมิติด้านประสิทธิผลในการดำเนินงานของเทศบาล พบว่า เทศบาลเมืองน่านประสบความสำเร็จในการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยได้รับรางวัลด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมหลายรางวัล ข้อเสนอแนะเพื่อให้ทางเทศบาลเมืองน่านมีการดำเนินงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น พบว่าทางเทศบาลเมืองน่านควรร่วมมือกับเทศบาลอื่นเพื่อขยายงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพในวงกว้างมากขึ้น
The purposes of this study were 1) to study the environmental management of Nan Municipality; and 2) to examine factors which affected the environmental management. The study was a qualitative research. Data were collected  through semi-structured interviews with stakeholders of the environmental management of Nan Municipality also studied with non-participant observation and related documents. The management and evaluate organization system theory was used in this study. The results of the study were included many factors perspectives as follows: Learning and growth perspective found that the municipality has provided support to the staff to develop their own knowledge, education and experience keep continue improvement and development of the process. Internal organization management perspective found that the municipality abided by to law and environmental policy clearly. The information was published and informed to the public through multimedia. People and stakeholders were given an opportunities to participate in environmental decision making process. The stakeholders satisfaction perspective found that most people were satisfied in operational environmental management plan of Nan Municipality and operation of municipal officers. As whare, the effectiveness of the municipality operation perspective found that Nan municipality succeeded in sustainable environmental management as it has won several environmental management awards. The recommendations for more effective in environmental management is that Nan municipality should work more co-operative with other town municipalities for spreading and expansion for boarder effectiveness.

Description:

วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562

Subject(s):

การจัดการสิ่งแวดล้อม -- ไทย -- น่าน
การมีส่วนร่วมของประชาชน

Keyword(s):

e-Thesis

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

136 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5113
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b210693.pdf ( 3,303.94 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSEDA: Theses [92]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×