Show simple item record

dc.contributor.advisorณพงศ์ นพเกตุth
dc.contributor.authorศาลิมาร์ เกิดกลิ่นหอมth
dc.date.accessioned2021-03-11T03:36:33Z
dc.date.available2021-03-11T03:36:33Z
dc.date.issued2019th
dc.identifier.otherb210692th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5114th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562th
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การจัดการขยะมูลฝอยชุมชนของเทศบาลนครนครศรีธรรมราช และระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน เพื่อเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช การศึกษานี้เป็นงานวิจัยเชิงผสมระหว่างคุณภาพและปริมาณโดยใช้แบบสัมภาษณ์กับตัวแทนภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้นำชุมชน และใช้แบบสอบถามกับผู้มีบทบาทในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน 400 ครัวเรือน ใช้การวิเคราะห์ทางสถิติเชิงพรรณนาและอนุมาน รวมถึงการทำ SWOT Analysis และ TOWS Matrix ผลการศึกษาพบว่า 1) เทศบาลนครนครศรีธรรมราชมีขยะมูลฝอยตกค้างในสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย 1.12 ล้านตัน ใช้วิธีการกำจัดแบบเทกอง ระบบการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บและการกำจัดขยะมูลฝอย แต่ยังขาดแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนและไม่มีระบบการคัดแยกขยะมูลฝอยชุมชนที่ต้นทาง 2) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนอยู่ในระดับปานกลาง โดยประชาชนมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์อยู่ในระดับสูง ส่วนการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและการมีส่วนร่วมในการประเมินผลอยู่ในระดับต่ำ และ 3) ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ คือ เทศบาลต้องสร้างโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนตั้งแต่การตัดสินใจร่วมวางแผน การปฏิบัติ และการประเมินผล โดยแบ่งเป็น 2 แนวทาง ได้แก่ 1) ผลักดันนโยบายการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนให้เป็นรูปธรรม และ 2) กำหนดปฏิบัติการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน โดยมุ่งเน้นระดับ “ครัวเรือนและชุมชน” ให้ได้ตระหนักถึงปัญหาขยะมูลฝอยชุมชนร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “ตั้งแต่ต้นทาง” และให้ชุมชนเป็นผู้จัดการขยะมูลฝอยด้วยตัวเอง โดยเทศบาลให้การสนับสนุนความรู้ งบประมาณ อุปกรณ์ พร้อมใช้เครื่องมือทางการเงินและการบังคับใช้กฎระเบียบ เพื่อให้การจัดการขยะมูลฝอยชุมชนของเทศบาลนครนครศรีธรรมราชเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนth
dc.description.abstractThis thesis studies municipal solid waste (MSW) management of Nakhon Si Thammarat Municipality and its level of public participation. The purpose is to find the right guidelines for public participation in MSW management for this municipality. Research methodology is mixed method, combining qualitative and quantitative methods. The structured interview covers opinions from public officers, community leaders and villagers. The questionnaire covers those of the 400 households’ representatives who responsible for family's waste. Besides the descriptive and inference statistical analysis, this paper also provides SWOT Analysis and TOWS Matrix interpretation. The findings are three-folds; 1) Using dumping disposal method, today Nakhon Si Thammarat municipality has 1.12 million tons of msw at its dumping site. The city has tried to improve both waste collection and disposal capacity, however, it still lacks the proactive guidelines to manage the waste from upstream at the household level. 2) Statistically, The level of public participation for household waste management of this city is ‘medium’. The levels of involvement for benefit is ‘high’. In contrast, the levels of involvement for decision making and evaluation are ‘low’. 3) This study suggests that Nakhon Si Thammarat municipality must create opportunities for people to participate in msw management including the decision making in waste management planning, implementation, and evaluation. Moreover, the city's policy need the active guidelines for public participation in MSW management and the active public participation to manage waste. Both of these must 'involve' and 'be driven' by the people. ‘Household and community’ must aware of the problem and collaborating management solid waste. In short, we need a paradigm shift so that people change their behaviors to manage waste at home. Finally, the communities solid waste managers and the municipality must provide assistance, knowledge, budgets, equipment, financial tools and regulatory enforcements to make the reality of efficient and sustainable msw management.th
dc.description.provenanceMade available in DSpace on 2021-03-11T03:36:33Z (GMT). No. of bitstreams: 2 5810921014.pdf: 6982861 bytes, checksum: b1b443d71712f00408bb45c12db68f8d (MD5) license.txt: 115 bytes, checksum: 2047cfd32b272b6ffc853575a013e11b (MD5) Previous issue date: 7th
dc.format.extent179 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjecte-Thesisth
dc.subjectการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนth
dc.subject.otherการจัดการขยะ -- ไทย -- นครศรีธรรมราชth
dc.subject.otherการมีส่วนร่วมของประชาชนth
dc.titleแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน : เทศบาลนครนครศรีธรรมราชth
dc.title.alternativeGuidelines for public participation in municipal solid waste management : Nakhon Si Thammarat municipalityth
dc.typeTextth
mods.genreวิทยานิพนธ์th
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.nameวิทยาศาตรมหาบัณฑิตth
thesis.degree.levelMaster'sth
thesis.degree.disciplineการจัดการสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.departmentคณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อมth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record