• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  • GSHRD: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  • GSHRD: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ประสิทธิภาพของระบบงานทรัพยากรมนุษย์ที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากร กรณีศึกษา อุตสาหกรรมเกมในประเทศไทย

by พนสณฑ์ ภาวกังวาลวงษ์

Title:

ประสิทธิภาพของระบบงานทรัพยากรมนุษย์ที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากร กรณีศึกษา อุตสาหกรรมเกมในประเทศไทย

Other title(s):

Efficacy of human resource systems influence toward the quality of work life : a case study in gaming industry of Thailand

Author(s):

พนสณฑ์ ภาวกังวาลวงษ์

Advisor:

ดาวิษา ศรีธัญรัตน์

Degree name:

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

Human Resource and Organization Development

Degree department:

คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2019

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านประสิทธิภาพของระบบงานทรัพยากรมนุษย์กับปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากร และการค้นหาข้อมูลเชิงลึกของความสัมพันธ์เชิงอำนาจการทำนายระหว่างปัจจัยทั้งสอง อันนำไปสู่การเสนอแนะแนวทางการจัดการคุณภาพชีวิตในการทำงานที่เหมาะสมกับบุคลากรในอุตสาหกรรมเกมในประเทศไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจำนวน 319 ฉบับ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรที่ทำงานอยู่ในอุตสาหกรรมเกมในประเทศไทย ซึ่งใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบตามความสะดวกและความสมัครใจที่จะให้ข้อมูลแก่ผู้วิจัย รวมถึงการสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน ซึ่งประกอบด้วย การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้น ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า (1) องค์การมีการดำเนินงานด้านทรัพยากรมนุษย์ทั้งในลักษณะการจัดการทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก (2) บุคลากรในอุตสาหกรรมเกมมีคุณภาพชีวิตในการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก (3) ประสิทธิภาพของการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม การพัฒนาสายอาชีพ พนักงานสัมพันธ์ การสรรหาและคัดเลือกและการบริหารค่าตอบแทนและผลประโยชน์ สามารถร่วมกันทำนายการผันแปรของคุณภาพชีวิตในการทำงานโดยรวมของบุคลากรในอุตสาหกรรมเกมได้ร้อยละ 76.9 (4) การดำเนินกิจกรรมเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตในการทำงาน ได้แก่ 4.1) การคัดเลือกคนควรพิจารณาจากความรู้ ความสามารถ ทักษะ ประสบการณ์ในการทำงานและเรื่องทัศนคติในการทำงาน 4.2) การให้เงินเดือน ค่าตอบแทนรายโปรเจค โบนัสปลายปี ส่วนแบ่งจากรายได้ของบริษัท ค่ารักษาพยาบาล กองทุนเลี้ยงชีพ และค่าเดินทาง 4.3) การให้โอกาสสำหรับการแสดงความคิดอย่างมีอิสระ ลักษณะของงานที่เน้นการทำงานเป็นทีม การมีพื้นที่ในการทำกิจกรรม 4.4) การให้โอกาสในการทำงานที่ท้าทายขึ้น การเรียนรู้งานและการให้คำแนะนำจากหัวหน้า การมอบหมายให้เป็นพี่เลี้ยงนักศึกษา 4.5) การให้เสรีภาพในการแสดงออกของพนักงาน การแสดงออกถึงการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมและเสมอภาค การดำรงอยู่กันแบบพี่น้องและครอบครัว และการให้ความสำคัญต่อสภาพการจ้างงานที่เหมาะสมถูกต้องและสอดคล้องกับกฎหมาย
This research aimed to analyze the relationship between the Efficacy of Human Resource Systems and the quality of work life, which lead to finding in-depth information about the predictive correlational between the two factors. The sample of 319 persons who're working within the game industry in Thailand, this research used a sampling method that was convenient and voluntary. Provided information to researchers, including in-depth interviews of five peoples who were selected by purposive sampling — quantitative data analysis using descriptive statistics including percentage, mean and standard deviation. Inferential statistical analysis contains with Pearson product moment correlation coefficient and stepwise multiple regression analysis. Qualitative data analysis using content analysis. The results of the study showed that (1) the organization has a human resource operation in both HRM and HRD extreme effectively. (2) The personnel in the game industry has a quality of work life at a high level. (3) The efficiency of the human resources system in all nine characteristics that positively correlated with the quality of work life at a high level. (4) Activities to create a quality of work life such as 4.1) selection of peoples who should be considered based on knowledge, skills, work experience and attitude. 4.2) Salary, project remuneration, bonus, profit-sharing, medical fee, provident fund and travel expenses. 4.3) Providing opportunities to feel a free expression of ideas, characteristics of work that focus on teamwork, physical space to do activities. 4.4) Challenging job opportunities, job learning, and advising from the supervisor, trainee mentor. 4.5) Freedom of expression, equality of expression, organization culture and employment conditions that focus on accord with the law.

Description:

วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562

Subject(s):

คุณภาพชีวิตการทำงาน

Keyword(s):

e-Thesis
ระบบงานทรัพยากรมนุษย์
อุตสาหกรรมเกม

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

299 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5118
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b210748.pdf ( 6,936.80 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSHRD: Theses [150]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×