การพัฒนาแบบวัดทักษะด้านจริยธรรม การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และการทำงานเป็นทีม เพื่อคัดกรองพนักงานใหม่
by วรัญญา คลังเพ็ชร
Title: | การพัฒนาแบบวัดทักษะด้านจริยธรรม การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และการทำงานเป็นทีม เพื่อคัดกรองพนักงานใหม่ |
Other title(s): | The development of measurement of ethic, learning and team-work skills to selection new employee |
Author(s): | วรัญญา คลังเพ็ชร |
Advisor: | นันทา สู้รักษา |
Degree name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ |
Degree department: | คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2019 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบวัดทักษะด้านจริยธรรม การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และการทำงานเป็นทีม โดยใช้แบบวัดเชิงสถานการณ์ สำหรับการคัดเลือกบุคลากรเข้าทำงานในบริษัทสื่อสิ่งพิมพ์แห่งหนึ่ง พร้อมทั้งหาคุณภาพจากแบบวัดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยการศึกษาครั้งนี้ทำการศึกษากับบุคลากรบริษัทสิ่งพิมพ์แห่งหนึ่ง จำนวน 9 ฝ่ายงาน รวมทั้งสิ้น 350 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้วิจัยในครั้งนี้คือแบบวัดทักษะด้านจริยธรรม ด้านการเรียยนรู้อย่างต่อเนื่องและด้านการทำงานเป็นทีมจำนวน 12 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระว่าง 0.52 – 0.77และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.73 สถิติที่ใช้ในการทำวิจัยได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตราฐาน การวิเคราะห์หาค่าความยากง่าย การหาค่าอำนาจจำแนก การหาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบัค (Cronbach's Alpha Coefficient) การหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรและทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความสัมพันธ์ระหว่างแบบวัดคุณลักษณะเฉพาะมาตรฐานฉบับเดิมและแบบวัดฉบับใหม่ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยใช้ค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product-Moment Correlation Coefficient)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ค่าความยากง่ายของแบบวัดทักษะด้านจริยธรรมมีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.57 - 0.81
ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.52 – 0.77 ด้านการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องมีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.54 – 0.71 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.62 – 0.82 และด้านการทำงานเป็นทีมมีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.56 – 0.78 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.51 – 0.76
2. ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดในแต่ละด้านอยู่ระหว่าง 0.72 – 0.74 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับมีค่าเท่ากับ 0.73 แสดงว่าแบบวัดมีค่าความเชื่อมั่นสูง
3. ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่คำนวณโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน พบว่า ตัวแปรทุกตัวในแบบวัดทักษะด้านจริยธรรม การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และการทำงานเป็นทีมมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) แสดงให้เห็นว่า ตัวแปรทักษะทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านจริยธรรม ด้านการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และการทำงานเป็นทีม มีความสัมพันธ์กันมากพอและมีความเหมาะสมที่จะนำตัวแปรทั้ง 3 มาพัฒนาเป็นแบบวัดสำหรับใช้เป็นเครื่องมือในการคัดกรองบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและสะดวกต่อการใช้งานมากขึ้นได้ |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562 |
Subject(s): | การทำงานเป็นทีม
จริยธรรม |
Keyword(s): | e-Thesis
การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 126 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5119 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|