แนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านละคร : กรณีศึกษา ละครโทรทัศน์เรื่อง "บุพเพสันนิวาส"
by วีนัสรินทร์ ศิริผล
ชื่อเรื่อง: | แนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านละคร : กรณีศึกษา ละครโทรทัศน์เรื่อง "บุพเพสันนิวาส" |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The approach to promote tourism through drama : case study Love Destiny television drama |
ผู้แต่ง: | วีนัสรินทร์ ศิริผล |
ผู้ควบคุมงานวิจัย: | เกศรา สุกเพชร |
ชื่อปริญญา: | การจัดการมหาบัณฑิต |
ระดับปริญญา: | Master's |
สาขาวิชา: | การจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ |
คณะ/หน่วยงาน: | คณะการจัดการการท่องเที่ยว |
หน่วยงานที่ประสาทปริญญา: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
หน่วยงานที่เผยแพร่: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ: |
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความรู้ที่ได้จากสื่อละครเรื่องบุพเพสันนิวาสในการส่งอิทธิพลต่อทัศนคติในการมาเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวในละครของนักท่องเที่ยว 2) เพื่อศึกษาความรู้ที่ได้จากสื่อละครเรื่องบุพเพสันนิวาสในการส่งอิทธิพลต่อพฤติกรรมในการมาเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวในละครของนักท่องเที่ยว 3) เพื่อหาแนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านละครโดยใช้ความรู้จากสื่อละครในการส่งอิทธิพลต่อทัศนคติและพฤติกรรมในการมาเที่ยวของนักท่องเที่ยว
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ใช้การดำเนินการวิจัยแบบปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมเป็นแบบสอบถามที่ได้จากการศึกษางานวิจัยและเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องกับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม องค์ประกอบทางการท่องเที่ยว โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยเป็นนักท่องเที่ยวที่มีการรับสื่อละครโทรทัศน์เรื่องบุพเพสันนิวาส จำนวน 400 คน แล้วทำการวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความถี่ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) แบบเส้นตรง พร้อมวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับปัจจัยทางประชากรณ์ศาสตร์แล้วจึงนำเสนอในเชิงพรรณนา (Descriptive) เพื่อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านละคร
ผลการศึกษาวิจัยในครั้งนี้พบว่า
1) ปัจจัยด้านความรู้มีอิทธิพลในทางบวกต่อทัศนคติในการมาเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว โดยปัจจัยด้านความรู้ได้แก่ความเข้าใจ (Comprehension) การนำไปใช้ (Application) และการวิเคราะห์ (Analysis) เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดทัศนคติในการมาเที่ยวแหล่งท่องเที่ยว
2) ปัจจัยด้านความรู้มีอิทธิพลในทางบวกต่อพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวคุณภาพโดยปัจจัยด้านความรู้ได้แก่ความเข้าใจ (Comprehension) และการวิเคราะห์ (Analysis) เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวคุณภาพ
3) หากหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงกลุ่มผู้ผลิตละครและสื่อต่างๆที่ต้องการส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านละครควรมีการบูรณาการความร่วมมือ โดยหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวอาจเป็นผู้เลือกพื้นที่ท่องเที่ยว กิจกรรม ทัศนคติ และพฤติกรรมทางการท่องเที่ยวที่เป็นวัตถุประสงค์หลัก แล้วจึงให้ผู้ผลิตละครมืออาชีพดำเนินการผลิตละครโทรทัศน์ที่สอดแทรกเนื้อหาความรู้ทางการท่องเที่ยว โดยให้ละครโทรทัศน์ที่นำเสนอมีลักษณะเหมือนกับละครโทรทัศน์ทั่วไปทุกประการ เพื่อให้ผู้ชมที่รับสารรู้สึกกำลังเสพสื่อที่ให้ความบันเทิงโดยสอดแทรกความรู้ซึ่งจะสร้างทัศนคติในทางบวกให้กับการมาเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวและเกิดพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่ดี โดยแต่ละด้านสามารถสรุปรายละเอียดได้สามแนวทาง ดังนี้ 1) แนวทางการส่งเสริมความรู้ที่ได้จากละครเพื่อก่อให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อการมาเที่ยวแหล่งท่องเที่ยว 2) แนวทางส่งเสริมความรู้ที่ได้จากละครเพื่อก่อให้เกิดพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวคุณภาพ 3) แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านละคร โดยอิงจากกรณีศึกษาละครโทรทัศน์เรื่องบุพเพสันนิวาส |
รายละเอียดเพิ่มเติม: |
The approach to promote tourism through drama : case study Love Destiny television drama |
หัวเรื่องมาตรฐาน: | การท่องเที่ยว |
คำสำคัญ: | การท่องเที่ยวผ่านละคร
e-Thesis ละครไทย |
ประเภททรัพยากร: | วิทยานิพนธ์ |
ความยาว: | 381 แผ่น |
ชนิดของสื่อ: | Text |
รูปแบบแฟ้มข้อมูล: | application/pdf |
ภาษา: | tha |
สิทธิในการใช้งาน: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5127 |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT) |
|
ดู ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|