การเสริมสร้างความจงรักภักดีต่อจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มีศักยภาพสูง
by จารุวรรณ พิลา
ชื่อเรื่อง: | การเสริมสร้างความจงรักภักดีต่อจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มีศักยภาพสูง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Guidelines for loyalty of Thailand's destination for Chinese high-value tourists |
ผู้แต่ง: | จารุวรรณ พิลา |
ผู้ควบคุมงานวิจัย: | เกศรา สุกเพชร |
ชื่อปริญญา: | การจัดการมหาบัณฑิต |
ระดับปริญญา: | Master's |
สาขาวิชา: | การจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ |
คณะ/หน่วยงาน: | คณะการจัดการการท่องเที่ยว |
หน่วยงานที่ประสาทปริญญา: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
หน่วยงานที่เผยแพร่: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ: |
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบเรื่องการตระหนักรู้ต่อจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยว ภาพลักษณ์ต่อจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยว และความจงรักภักดีต่อจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มีศักยภาพสูง 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลการตระหนักรู้ต่อจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวที่มีต่อความจงรักภักดีต่อจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มีศักยภาพสูง 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลภาพลักษณ์ต่อจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวที่มีต่อความจงรักภักดีต่อจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มีศักยภาพสูง 4) เพื่อศึกษาวิธีการเสริมสร้างความจงรักภักดีต่อจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มีศักยภาพสูง การศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้การดำเนินการวิจัยแบบเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยมีเครื่องมือในการเก็บรวบรวมป็นแบบสอบถามที่ได้จากการศึกษางานวิจัยและเอกสารวิจัยต่างๆที่ความเกี่ยวข้องกับปัจจัยการตระหนักรู้ ภาพลักษณ์และความจงรักภักดี โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทย ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จำนวน 400 คน วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน การวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) แบบเส้นตรง และหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient) จากนั้นจึงทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) ผลการศึกษวิจัยในครั้งนี้พบว่า 1)ปัจจัยการตระหนักรู้ ซึ่งประกอบด้วย ตราสินค้าที่อยู่ในใจของผู้บริโภค การระลึกถึงตราสินค้า การรู้จักตราสินค้า มีความสัมพันธ์กับความจงรักภักดีต่จุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มีศักยภาพสูงกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 2) ปัจจัยภาพลักษณ์ ซึ่งประกอบด้วย วัฒนธรรมประเพณี โครงสร้างพื้นฐานที่ดี สภาพแวดล้อมที่ดี ทัศนคติที่ดี มีความสัมพันธ์กับความจงรักภักดีต่จุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มีศักยภาพสูงกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 3)การเสริมสร้างความจงรักภักดีต่อจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวจำเป็นต้องสร้างภาพลักษณ์ต่อจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวต้องคำนึงถึงด้านทัศนคติที่ดี ด้านวัฒนธรรมประเพณี ด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ดี และด้านสภาพแวดล้อมที่ดี ตามลำดับ จากนั้นควรสร้างการตระหนักรู้โดยต้องคำนึงถึงด้านตราสินค้าที่อยู่ในใจของผู้บริโภค ด้านการระลึกถึงตราสินค้า ด้านการรู้จักตราสินค้า ตามลำดับ |
รายละเอียดเพิ่มเติม: |
วิทยานิพนธ์ (กจ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2563 |
หัวเรื่องมาตรฐาน: | นักท่องเที่ยวต่างชาติ -- ไทย |
คำสำคัญ: | e-Thesis
การตระหนักรู้ ความจงรักภักดี นักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพสูงชาวจีน นักท่องเที่ยวจีน ภาพลักษณ์ |
ประเภททรัพยากร: | วิทยานิพนธ์ |
ความยาว: | 238 แผ่น |
ชนิดของสื่อ: | Text |
รูปแบบแฟ้มข้อมูล: | application/pdf |
ภาษา: | tha |
สิทธิในการใช้งาน: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5130 |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT) |
|
ดู ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|