ปัจจัยการพยากรณ์พฤติกรรมการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่และการวิเคราะห์แบ่งกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ
by ธนธรณ์ แสงสว่าง
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยการพยากรณ์พฤติกรรมการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่และการวิเคราะห์แบ่งกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The forecasting methods for tourism behavior in Chiangmai and cluster analysis of Thai and foreign tourism |
ผู้แต่ง: | ธนธรณ์ แสงสว่าง |
ผู้ควบคุมงานวิจัย: | พัชนี เชยจรรยา |
ชื่อปริญญา: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
ระดับปริญญา: | Master's |
สาขาวิชา: | นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม |
คณะ/หน่วยงาน: | คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ |
หน่วยงานที่ประสาทปริญญา: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
หน่วยงานที่เผยแพร่: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ: |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการแสวงหาข้อมูลข่าวสาร ความพึงพอใจในการแสวงหาข่าวสาร และพฤติกรรมการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการแสวงหาข่าวสารและความพึงพอใจในการแสวงหาข่าวสารกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อศึกษาตัวแปรที่มีประสิทธิภาพในการทำนายพฤติกรรมการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ 4) เพื่อจัดกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศที่เดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ตามช่องทางการแสวงหาข่าวสาร ประชากรกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศที่เดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง จำนวน 83 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์ในการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย ดังนี้ 1) การวิเคราะห์เชิงพรรณนา โดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) 2) การวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์แบ่งกลุ่มแบบ K-mean Cluster
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศมีการแสวงหาข่าวสารและความพึงพอใจในการแสวงหาข่าวสารจากสื่อใหม่มากกว่าสื่อเดิม และส่วนของพฤติกรรมการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศให้ความสำคัญกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่มีต่อสถานที่ท่องเที่ยวมากที่สุด 2) การแสวงหาข่าวสารมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยวตามวัตถุประสงค์การท่องเที่ยวที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 และความพึงพอใจในการแสวงหาข่าวสารมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ตามวัตถุประสงค์ในการท่องเที่ยวที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 3) ตัวแปรที่อธิบายวัตถุประสงค์การท่องเที่ยวแบบความบันเทิง ได้อธิบายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.001 คือ ความพึงพอใจในข่าวสารโดยรวมที่ได้รับสามารถอธิบายวัตถุประสงค์การท่องเที่ยวแบบความบันเทิงในจังหวัดเชียงใหม่ของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ ได้ร้อยละ 7.9 ในส่วนของการแสวงหาข่าวสารจากสื่อดั้งเดิมและความพึงพอใจโดยรวมร่วมกันอธิบายวัตถุประสงค์การท่องเที่ยวแบบหาสาระความรู้ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.001 และสามารถร่วมกันอธิบายได้ร้อยละ 10.2 โดยการแสวงหาข่าวสารจากสื่อดั้งเดิมอธิบายได้ร้อยละ 5.2 และความพึงพอใจโดยรวมอธิบายได้ร้อยละ 5.0 4) นักท่องเที่ยวชาวไทยมีการแสวงหาข่าวสารตามช่องทางการสื่อสาร สามารถแบ่งกลุ่มได้ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเปิดใจรับทุกสื่อ กลุ่มสื่อสารไฮเทค และกลุ่มสื่อสารดั้งเดิม ส่วนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศมีการแสวงหาข่าวสารตามช่องทางการสื่อสาร สามารถแบ่งกลุ่มได้ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มสื่อสารแนวนิยม กลุ่มสื่อสารแนวใหม่ และกลุ่มสื่อสารย้อนยุค โดยที่นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศมีช่องทางการสื่อสารที่คล้ายกัน และลักษณะด้านประชากรที่แตกต่างกันไปของแต่ละกลุ่ม |
รายละเอียดเพิ่มเติม: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2563 |
หัวเรื่องมาตรฐาน: | นักท่องเที่ยว -- ไทย -- เชียงใหม่ -- พฤติกรรม
พฤติกรรมการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวต่างชาติ |
คำสำคัญ: | e-Thesis
การแสวงหาข้อมูลข่าวสาร |
ประเภททรัพยากร: | วิทยานิพนธ์ |
ความยาว: | 238 แผ่น |
ชนิดของสื่อ: | Text |
รูปแบบแฟ้มข้อมูล: | application/pdf |
ภาษา: | tha |
สิทธิในการใช้งาน: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5143 |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT) |
|
ดู ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|