การสื่อสารเพื่อถ่ายทอดภูมิปัญญาและการสืบสานการทอผ้าพื้นเมืองของชุมชนบ้านนาป่าหนาด อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
by ภคพล รอบคอบ
ชื่อเรื่อง: | การสื่อสารเพื่อถ่ายทอดภูมิปัญญาและการสืบสานการทอผ้าพื้นเมืองของชุมชนบ้านนาป่าหนาด อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The communication to convey wisdom and preserving traditional fabric weaving of Ban Na Pa Nat Community, Chiang Khan District, Loei Province |
ผู้แต่ง: | ภคพล รอบคอบ |
ผู้ควบคุมงานวิจัย: | พัชนี เชยจรรยา |
ชื่อปริญญา: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
ระดับปริญญา: | Master's |
สาขาวิชา: | นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม |
คณะ/หน่วยงาน: | คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ |
หน่วยงานที่ประสาทปริญญา: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
หน่วยงานที่เผยแพร่: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ: |
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารเพื่อการถ่ายทอดภูมิปัญญาและการสืบสานการทอผ้าพื้นเมืองของชุมชนบ้านนาป่าหนาดหมู่ 12 อำเภอเชียงคานจังหวัดเลย ศึกษาด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งประกอบด้วย การสัมภาษณ์เชิงลึก การจัดการสนทนากลุ่ม รวมถึงการสังเกตุการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม ด้วยวิธีการดังกล่าวนำมาใช้เก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลภาคสนาม โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วย ช่างทอผ้า กลุ่มผู้สูงวัยและกลุ่มผู้ใหญ่ รวมถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ในชุมชน
ผลการศึกษาการถ่ายทอดภูมิปัญญาพบว่า (1)ด้านผู้ส่งสาร พบว่า การสื่อสารเพื่อการถ่ายทอดภูมิปัญญาการทอผ้าพื้นเมืองใช้การบอกเล่าแบบปากต่อปากร่วมกับการสาธิตและการลงมือทำให้ดู และมีการถ่ายทอดภูมิปัญญาผ่านการแสดงพื้นบ้าน (2)ด้านเนื้อหาสาร พบว่า เนื้อหาสารเน้นการให้สังเกตุการณ์กระทำ การทำให้เห็นหรือการลงมือทำด้วยตนเอง (3)ด้านช่องทางการสื่อสาร พบว่า ช่องทางการสื่อสารเน้นไปที่การสื่อสารผ่านตัวบุคคล การสื่อสารแบบปากต่อปาก และการสื่อสารผ่านเสียงตามสายภายในชุมชน การสื่อสารผ่านไลน์แอพพลิเคชั่น และการสื่อสารผ่านการจัดการประชุมเพื่อดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ (4)ด้านผู้รับสาร พบว่า ผู้รับสารในชุมชนรับสารจากครูภูมิปัญญา ปราชญ์ชุมชน ผู้นำชุมชนและการบอกต่อจากสมาชิกในชุมชน โดยร่วมกันอนุรักษ์วิถีชีวิตและวัฒนธรรมดั่งเดิมให้อยู่ภายในชุมชนและยังโน้มน้าวลูกหลานร่วมกันเรียนรู้วิถีชีวิตดั่งเดิมให้ผสมกลมกลืนกับยุคสมัย
ผลการศึกษาการสืบสานการทอผ้าพื้นเมือง พบว่า ด้านการรับรู้คุณค่าและความหมายผ้าทอพื้นเมืองไทดำนั้นปราชญ์ชุมชนได้สะสมผ้าทอพื้นเมืองโบราณร่วมกับผ้าทอพื้นเมืองภายในชุมชน จนสามารถตั้งพิพิธภัณฑ์ผ้าไทดำเพื่อเก็บผ้าทอพื้นเมืองไว้ในชุมชน นำมาซึ่งการฟื้นฟูองค์ความรู้ที่หายไปเพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้และรู้คุณค่าผ้าทอพื้นเมืองซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ทำให้คนรุ่นใหม่รับช่วงต่อองค์ความรู้เพื่อสืบสานภูมิปัญญาการทอผ้าพื้นเมือง ในขณะที่การจัดกิจกรรมการเรียนรู้การทอผ้าพื้นเมืองช่วยให้คนในชุมชนรู้จักถึงคุณค่าของผ้าทอพื้นเมืองไทดำและเพื่อกระตุ้นให้เด็กและเยาวชนหันกลับมาสนใจการทอผ้าพื้นเมืองอันเป็นเอกลักษณ์ชุมชน ส่วนด้านการรู้รักษาภูมิปัญญาการทอผ้าพื้นเมืองของชุมชนนั้นพบว่าเด็กและเยาวชนในชุมชนมีความสนใจการทอผ้าพื้นเมืองลดลงจึงโน้มนำเด็กและเยาวชนในครอบครัวมาเรียนรู้การทอผ้าผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ชุมชนเพื่อปลูกฝังวัฒนธรรมท้องถิ่นให้กับเยาวชนและกระตุ้นให้คนในชุมชนมาสนใจการทอผ้าพื้นเมือง ส่วนกลุ่มคนรุ่นใหม่ให้ความเห็นว่า ปัจจุบันเด็กให้ความสนใจที่จะสืบสานและรับช่วงต่อภูมิปัญญาการทอผ้าพื้นเมืองลดน้อยลงเนื่องจากส่วนใหญ่ใช้เวลาในการเรียนภายนอกชุมชนและมองว่าผ้าทอพื้นเมืองไม่ทันสมัย ซึ่งการเรียนรู้การผลิตผ้าทอมือในชุมชนช่วยทำให้รู้จักชุมชนว่ามีเอกลักษณ์อะไรทำให้เกิดความภูมิใจชุมชนของตนเอง และมีความคิดที่จะสืบสานและรับช่วงต่อภูมิปัญญาท้องถิ่นให้อยู่คู่กับชุมชนต่อไป |
รายละเอียดเพิ่มเติม: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2563 |
หัวเรื่องมาตรฐาน: | การทอผ้า -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ผ้า -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ภูมิปัญญาชาวบ้าน |
คำสำคัญ: | การถ่ายทอดภูมิปัญญา
ภูมิปัญญาท้องถิ่น การทอผ้าพื้นเมือง e-Thesis |
ประเภททรัพยากร: | วิทยานิพนธ์ |
ความยาว: | 156 แผ่น |
ชนิดของสื่อ: | Text |
รูปแบบแฟ้มข้อมูล: | application/pdf |
ภาษา: | tha |
สิทธิในการใช้งาน: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
ผู้ครอบครองสิทธิ์: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5144 |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT) |
|
ดู ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|