การรังแกทางไซเบอร์ผ่านสื่อออนไลน์ สาเหตุ และแนวทางการจัดการปัญหา
by พินวา แสนใหม่
ชื่อเรื่อง: | การรังแกทางไซเบอร์ผ่านสื่อออนไลน์ สาเหตุ และแนวทางการจัดการปัญหา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Cyber bullying on online media the issue and guideline to solution |
ผู้แต่ง: | พินวา แสนใหม่ |
ผู้ควบคุมงานวิจัย: | พัชนี เชยจรรยา |
ชื่อปริญญา: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
ระดับปริญญา: | Master's |
สาขาวิชา: | นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม |
คณะ/หน่วยงาน: | คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ |
หน่วยงานที่ประสาทปริญญา: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
หน่วยงานที่เผยแพร่: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ: |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.เพื่อทราบสาเหตุการของการรังแกทางไซเบอร์ในสื่อออนไลน์ 2.เพื่อทราบรูปแบบการรังแกทางไซเบอร์ผ่านสื่อออนไลน์ 3.เพื่อทราบผลกระทบจากการกลั่นกลั่นแกล้งทางออนไลน์จากเนื้อหาของสื่อออนไลน์ 4.เพื่อทราบแนวทางในการป้องกันกลั่นแกล้งทางออนไลน์จากการนำเสนอเนื้อหาของสื่อออนไลน์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญ โดยมีขอบเขตการศึกษาเป็นกรณีศึกษาการรังแกทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นในปี 2561 กรณีบุคคลทั่วไป 1 กรณี คือ “เจ้าบ่าวหนีงานแต่ง” และกรณีศึกษาในบุคคลมีชื่อเสียง 3 กรณี คือ กรณี “อ๊บไสไม้””แฟน เจมส์ จิ” และ “แมท - -สงกรานต์ # ไม่ย้อนแล้วจ้า” ผลการศึกษาพบว่าการรังแกทางไซเบอร์มีสาเหตุมาจาก 1.เกิดจากโครงสร้างของสังคมที่ยังไม่วิวัฒนาการมากพอจะเข้าใจ การรังแกทางไซเบอร์ 2.เกิดจากความไม่รู้เท่าทันสื่อออนไลน์ 3.เกิดจากการไม่มีกฎหมายหรือบทลงโทษที่ชัดเจน 4.เกิดจากการเอื้อประโยชน์แก่กันระหว่างสื่อมวลชนกับเหยื่อ 5.เกิดจากความรู้สึกมีสิทธิสนิทสนม 6.เกิดจากความรู้สึกว่ามีศีลธรรมที่เหนือกว่า 7.เกิดจากการที่สื่อมวลชนนำเสนอข่าวโดยไม่ยึดประโยชน์ต่อสาธารณะเป็นหลัก 8.เกิดจากการปรับแต่งเชิงสังคม (Social Custom) มีรูปแบบคือมีผู้รังแก 2 ฝ่าย คือสื่อมวลชนที่นำเสนอเนื้อหาอันเป็นการรังแกทางไซเบอร์ และบุคคลทั่วไปสร้างเนื้อหาขึ้นแล้วเผยแพร่ในแพลตฟอร์มออนไลน์ เป็นการรังแกด้วยเนื้อหา ผลกระทบที่เหยื่อได้รับเป็นผลกระทบต่อจิตใจ ชื่อเสียง ความสัมพันธ์ และอาชีพการงาน โดย โดยปัญหาการรังแกทางไซเบอร์สามารถแก้ไขได้ด้วย 3 ระดับ คือระดับรัฐบาลคือการบังคับใช้กฎหมาย ระดับวิชาชีพสื่อมวลชน และระดับสังคม |
รายละเอียดเพิ่มเติม: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2563 |
หัวเรื่องมาตรฐาน: | การกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต
การข่มเหง อินเทอร์เน็ต -- แง่สังคม |
คำสำคัญ: | e-Thesis
การรังแกทางไซเบอร์ การกลั่นแกล้งทางออนไลน์ การแก้ปัญหาการรังแกทางไซเบอร์ |
ประเภททรัพยากร: | วิทยานิพนธ์ |
ความยาว: | 179 แผ่น |
ชนิดของสื่อ: | Text |
รูปแบบแฟ้มข้อมูล: | application/pdf |
ภาษา: | tha |
สิทธิในการใช้งาน: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5145 |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT) |
|
ดู ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|