• English
    • ไทย
  • ไทย 
    • English
    • ไทย
  • เข้าสู่ระบบ
ดูรายการข้อมูล 
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ
  • GSCM: Dissertations
  • ดูรายการข้อมูล
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ
  • GSCM: Dissertations
  • ดูรายการข้อมูล
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

เรียกดูข้อมูล

ข้อมูลทั้งหมดของ คลังปัญญาชุมชน & กลุ่มข้อมูลวันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากรกลุ่มข้อมูลนี้วันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากร

บัญชีของฉัน

เข้าสู่ระบบ

Communication factors affecting training effectiveness of business organizations

by Jompon Jeebpinyo

ชื่อเรื่อง:

Communication factors affecting training effectiveness of business organizations

ชื่อเรื่องอื่นๆ:

ปัจจัยทางการสื่อสารที่เอื้อต่อประสิทธิภาพในการจัดการฝึกอบรมขององค์กรธุรกิจ

ผู้แต่ง:

Jompon Jeebpinyo

ผู้ควบคุมงานวิจัย:

Yubol Benjarongkij

ชื่อปริญญา:

Doctor of Philosophy

ระดับปริญญา:

Doctoral

สาขาวิชา:

Communication Arts and Innovation

คณะ/หน่วยงาน:

The Graduate School of Communication Arts and Management Innovation

หน่วยงานที่ประสาทปริญญา:

National Institute of Development Administration

วันที่เผยแพร่:

2563

ตัวระบุวัตถุจิจิทัล (ดีโอไอ):

10.14457/NIDA.the.2020.21

หน่วยงานที่เผยแพร่:

National Institute of Development Administration

บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:

The research is aimed for three objectives:  1) To study communication methods of professional trainers in organizing training, 2) to study training communication factors that affect training effectiveness of business organizations, and 3) to test the researcher’s developed structural equation model of latent variables, namely professional trainers’ qualifications and competence, training environmental management, trainees, and training effectiveness, with empirical data.   Mixed methods of qualitative and quantitative research were conducted. Qualitative methods were to respond to the first and second objective, while quantitative methods to the third objective. The samples of qualitative research were five professional trainers, five skillful training organizers, and five executives of private organizations in the area of human resource development.  For quantitative research, the samples were 520 trainees of in-house training programs with no less than 6 hours. From the study, it was found that   Professional trainers used 13 communication methods in training and speaking methods: lecture, coaching, narration, conversation, and questioning, were found to be used the most. Trainers’ experience, qualifications, reputation, and design of training or program content; training physical environmental management; trainees’ learning motivation and anxiety were found to be communication factors affecting training effectiveness at the highest level, while trainers’ communication; training social and psychological environmental management; trainees’ perceived self-efficacy and perceived valence of training outcome at the moderate level.  Trainers’ qualifications and competence (Trainer) and training environmental management (Management) cannot explain the variance of training effectiveness while trainees (Trainee) can.  If the standard deviation of trainees increases by 1, it will yield a .778 increase in the standard deviation of training effectiveness.  Accordingly, the developed structural equation model can explain the variance of training effectiveness by 48%  
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย 3 ข้อ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาวิธีการสื่อสารของวิทยากรอาชีพในการจัดการฝึกอบรม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยทางการสื่อสารขณะฝึกอบรมที่เอื้อต่อประสิทธิภาพในการจัดการฝึกอบรมขององค์กรธุรกิจ และ 3) เพื่อทดสอบโมเดลสมการโครงสร้างของปัจจัยแฝง ได้แก่ คุณสมบัติและความสามารถของวิทยากรอาชีพ การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมขณะฝึกอบรม ผู้เข้ารับการฝึกอบรม กับประสิทธิภาพการฝึกอบรมที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และมีคำถามนำวิจัย 3 ข้อ ได้แก่ 1) วิทยากรอาชีพใช้วิธีการสื่อสารในการจัดการฝึกอบรมอย่างไร 2) ปัจจัยทางการสื่อสารขณะฝึกอบรมอะไรบ้าง ที่เอื้อต่อประสิทธิภาพในการจัดการฝึกอบรมขององค์กรธุรกิจ 3) โมเดลสมการโครงสร้างของปัจจัยแฝง ได้แก่ คุณสมบัติและความสามารถของวิทยากรอาชีพ การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมขณะฝึกอบรม ผู้เข้ารับการฝึกอบรม กับประสิทธิภาพการฝึกอบรม ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์หรือไม่อย่างไร และมีสมมติฐานการวิจัย ที่ว่า โมเดลสมการโครงสร้างของปัจจัยแฝง ได้แก่ คุณสมบัติและความสามารถของวิทยากรอาชีพ การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมขณะฝึกอบรม ผู้เข้ารับการฝึกอบรม กับประสิทธิภาพการฝึกอบรม ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์  ผู้วิจัยจึงใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ และ เชิงปริมาณผสมผสานกัน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัยในข้อ 1) และ 2) และ เพื่อหาคำตอบตามคำถามนำวิจัยในข้อ 1) และ 2) ส่วนวิธีการวิจัยเชิงปริมาณใช้เพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัยในข้อ 3) และ เพื่อหาคำตอบตามคำถามนำวิจัยในข้อ 3) สุดท้าย เพื่อทดสอบสมมติฐานการวิจัย กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ วิทยากรอาชีพ 5 ท่าน องค์กรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดฝึกอบรม (Training organizer) 5 องค์กร และ ผู้บริหารองค์กรเอกชนในสายงานพัฒนาทรัพยากรบุคคล (Training & Development) 5 ท่าน ส่วนกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรฝึกอบรมภายในองค์กร (In-house Training) และ หลักสูตรนั้นต้องมีระยะการฝึกอบรมรวมไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง 520 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า วิทยากรอาชีพใช้วิธีการสื่อสารในการจัดการฝึกอบรม 13 วิธี โดย การพูด ได้แก่ การบรรยาย การสอน การเล่าเรื่อง การชวนคุยเพื่อชวนคิด และ การตั้งคำถามเพื่อชวนคิด เป็นวิธีการสื่อสารในการจัดการฝึกอบรมที่วิทยากรอาชีพใช้มากที่สุด ปัจจัยทางการสื่อสารขณะฝึกอบรมพบว่า ประสบการณ์ของวิทยากร คุณวุฒิของวิทยากร ชื่อเสียงของวิทยากร การออกแบบเนื้อหาหลักสูตรการฝึกอบรม การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมขณะฝึกอบรมทางกายภาพ แรงจูงใจในการเรียนรู้ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม และ ความวิตกกังวลขณะฝึกอบรมของผู้เข้ารับการฝึกอบรม เป็นปัจจัยทางการสื่อสารขณะฝึกอบรมที่เอื้อต่อประสิทธิภาพในการจัดการฝึกอบรมขององค์กรธุรกิจได้มากที่สุด ส่วน การสื่อสารของวิทยากร การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมขณะฝึกอบรมทางสังคม การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมขณะฝึกอบรมทางจิตสภาพ การรับรู้ความสามารถของตนเองของผู้เข้ารับการฝึกอบรม และ การรับรู้คุณค่าของผลลัพธ์ที่ได้ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม เป็นปัจจัยทางการสื่อสารขณะฝึกอบรม ที่เอื้อต่อประสิทธิภาพในการจัดการฝึกอบรมขององค์กรธุรกิจได้ปานกลาง คุณสมบัติและความสามารถของวิทยากรอาชีพ (Trainer) และ การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมขณะฝึกอบรม (Management) ไม่สามารถอธิบายการแปรผันของประสิทธิภาพการฝึกอบรม (Effective) ได้ แต่ผู้เข้ารับการฝึกอบรม (Trainee) สามารถอธิบายการแปรผันประสิทธิภาพการฝึกอบรม (Effective) ได้ ซึ่งถ้าค่าคะแนนของผู้เข้ารับการฝึกอบรมเพิ่มขึ้น 1 หน่วยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ก็จะส่งผลให้ค่าคะแนนของประสิทธิภาพการฝึกอบรมเพิ่มขึ้น .778 หน่วยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และโมเดลสมการโครงสร้างนี้สามารถอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิภาพการฝึกอบรม ได้ร้อยละ 48  

รายละเอียดเพิ่มเติม:

Thesis (Ph.D. (Communication Arts and Innovation))--National Institute of Development Administration, 2020

หัวเรื่องมาตรฐาน:

Training

คำสำคัญ:

การสื่อสาร
การฝึกอบรม
ประสิทธิภาพการฝึกอบรม
e-Thesis

ประเภททรัพยากร:

Dissertation

ความยาว:

308 leaves

ชนิดของสื่อ:

Text

รูปแบบแฟ้มข้อมูล:

application/pdf

ภาษา:

eng

สิทธิในการใช้งาน:

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5167
แสดงระเบียนรายการแบบเต็ม

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT)

Thumbnail
ดู
  • b210878.pdf ( 4,136.48 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSCM: Dissertations [41]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×