ผลกระทบของการลดภาวะเจริญพันธุ์ที่มีต่อการจัดการประถมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่และขอนแก่น
Publisher
Issued Date
1984
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฎ, 139 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
สุชีพ ชั้นสูง (1984). ผลกระทบของการลดภาวะเจริญพันธุ์ที่มีต่อการจัดการประถมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่และขอนแก่น. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/518.
Title
ผลกระทบของการลดภาวะเจริญพันธุ์ที่มีต่อการจัดการประถมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่และขอนแก่น
Alternative Title(s)
Impact of fertility decline on elementary school management in Chiang Mai and Khon Kaen
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การประกาศใช้นโยบายวางแผนครอบครัวเมื่อสิบกว่าปีที่ผ่านมาเริ่มปรากฏผลให้เห็นชัดขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งจะเห็นได้จากปริมาณนักเรียนที่เข้าสู่ระบบโรงเรียนมีจำนวนลดลง เป็นผลให้จำนวนนักเรียนทั้งหมดลดลงด้วย หากสถานการณ์เช่นนี้ยังดำรงอยู่ต่อไป การจัดการประถมศึกษาก็จะต้องประสบปัญหามากยิ่งขึ้น รูปแบบการจัดการโรงเรียนก็จะต้องมีหลายรูปแบบตามความเหมาะสมของแต่ละโรงเรียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก
จากการคาดประมาณประชากรวัยเรียนของจังหวัดเชียงใหม่พบว่า ประชากรอายุ 6 ปี ซึ่งเป็นอายุที่เริ่มเข้าสู่ระบบโรงเรียนมีแนวโน้มลดลงในช่วง 10 ปีข้างหน้า ขณะเดียวกัน จำนวนนักเรียนทั้งหมดก็มีแนวโน้มลดลงด้วย และโดยที่จังหวัดเชียงใหม่มีโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กมากกว่าครึ่งหนึ่งของโรงเรียนประถมศึกษาทั้งหมด ดังนั้น การที่ปริมาณนักเรียนทั้งหมดลดลงจะทำให้มีโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กเพิ่มมากขึ้น จากการวิจัยพบว่าวิธีการจัดการโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กที่เหมาะสม 4 วิธี คือ การเกณฑ์นักเรียน 2 กลุ่มอายุ สอนโดยการใช้สื่อการเรียนโครงการส่งเสริมสมรรถภาพการสอน การเกณฑ์นักเรียน 2 กลุ่มอายุ สอนโดยวิธีปกติ การเปิดสอนครบทุกชั้นเรียน และการยุบเป็นโรงเรียนสาขา.
สำหรับจังหวัดขอนแก่น แม้ว่าการคาดประมาณจะไม่พบว่าประชากรอายุ 6 ปี มีแนวโน้มลดลง แต่กลับพบว่าประชากรอายุ 6-12 ปี มีแนวโน้มลดลง ขณะเดียวกันจำนวนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และจำนวนนักเรียนทั้งหมดมีแนวโน้มลดลงด้วยเนื่องจากภาวะเจริญพันธุ์ของจังหวัดขอนแก่นเริ่มลดลงเมื่อไม่นานมานี้ ประกอบกับหมู่บ้านที่โรงเรียนตั้งอยู่มีขนาดใหญ่ จึงทำให้โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กมีจำนวนเพิ่มขึ้นไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็กมีความคิดเห็นว่าวิธีการที่เหมาะสม 4 วิธี ในการจัดการโรงเรียนที่กำลังดำรงตำแหน่งอยู่ โดย 3 วิธีแรกจะเป็นเช่นเดียวกับจังหวัดเชียงใหม่ ส่วนอีกวิธีหนึ่งได้แก่การจัดพาหนะรับส่งนักเรียน
จากการคาดประมาณประชากรวัยเรียนของจังหวัดเชียงใหม่พบว่า ประชากรอายุ 6 ปี ซึ่งเป็นอายุที่เริ่มเข้าสู่ระบบโรงเรียนมีแนวโน้มลดลงในช่วง 10 ปีข้างหน้า ขณะเดียวกัน จำนวนนักเรียนทั้งหมดก็มีแนวโน้มลดลงด้วย และโดยที่จังหวัดเชียงใหม่มีโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กมากกว่าครึ่งหนึ่งของโรงเรียนประถมศึกษาทั้งหมด ดังนั้น การที่ปริมาณนักเรียนทั้งหมดลดลงจะทำให้มีโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กเพิ่มมากขึ้น จากการวิจัยพบว่าวิธีการจัดการโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กที่เหมาะสม 4 วิธี คือ การเกณฑ์นักเรียน 2 กลุ่มอายุ สอนโดยการใช้สื่อการเรียนโครงการส่งเสริมสมรรถภาพการสอน การเกณฑ์นักเรียน 2 กลุ่มอายุ สอนโดยวิธีปกติ การเปิดสอนครบทุกชั้นเรียน และการยุบเป็นโรงเรียนสาขา.
สำหรับจังหวัดขอนแก่น แม้ว่าการคาดประมาณจะไม่พบว่าประชากรอายุ 6 ปี มีแนวโน้มลดลง แต่กลับพบว่าประชากรอายุ 6-12 ปี มีแนวโน้มลดลง ขณะเดียวกันจำนวนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และจำนวนนักเรียนทั้งหมดมีแนวโน้มลดลงด้วยเนื่องจากภาวะเจริญพันธุ์ของจังหวัดขอนแก่นเริ่มลดลงเมื่อไม่นานมานี้ ประกอบกับหมู่บ้านที่โรงเรียนตั้งอยู่มีขนาดใหญ่ จึงทำให้โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กมีจำนวนเพิ่มขึ้นไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็กมีความคิดเห็นว่าวิธีการที่เหมาะสม 4 วิธี ในการจัดการโรงเรียนที่กำลังดำรงตำแหน่งอยู่ โดย 3 วิธีแรกจะเป็นเช่นเดียวกับจังหวัดเชียงใหม่ ส่วนอีกวิธีหนึ่งได้แก่การจัดพาหนะรับส่งนักเรียน
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (สถิติประยุกต์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2527.