• Thumbnail

    ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานส่งเสริมการเกษตรของบริษัทเอกชน 

    เสาวภาคย์ ดีวาจา; จิระวัฒน์ วงศ์สวัสดิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1986)

    วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้แบ่งออกเป็น 4 ประการคือ (1) เพื่อศึกษาหาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานส่งเสริมการเกษตร โดยศึกษาในส่วนของปัจจัยเรื่องความพึงพอใจในการทำงาน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และปัจจัยภูมิหลังทางเศรษฐกิจและสังคม (2) เพื่อศึกษาว่าระหว่างปัจจัยทั้งสามปัจจัยใดที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานมากที่สุด (3) เพื่อหาองค์ประกอบที่มีผลต่อความพึงพอใจในการทำงาน และ (4) เพื่อศึกษาว่าองค์ประกอบใดของความพึงพอใจในการทำงานที่มีผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพในการทำงาน
  • Thumbnail

    ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในกิจกรรมของสหกรณ์การเกษตร 

    นิศากร วินิจฉัยภาค; จิระวัฒน์ วงศ์สวัสดิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1987)

    การศึกษามีวัตถุประสงค์ดังนี้คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่สำคัญบางประการที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของสมาชิกสหกรณ์การเกษตร 2) เพื่อเปรียบเทียบความสำคัญของแต่ละปัจจัยที่จะมีผลต่อการมีส่วนร่วมของสมาชิกสหกรณ์ 3) เพื่อเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของสมาชิกสหกรณ์ในสหกรณ์การเกษตรที่มีระดับขีดความสามารถต่างกัน คือ สหกรณ์ระดับ 1 และระดับ 3 และ 4) เพื่อให้ทราบปัญหาและอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของสมาชิกสหกรณ์ในกิจกรรมของสหกรณ์การเกษตร.
  • Thumbnail

    ความแปลกแยกของแรงงานในอุตสาหกรรมไทย 

    สมชาย ตระการกีรติ; แสวง รัตนมงคลมาศ, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1987)

    จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า แรงงานในอุตสาหกรรมไทยมีความแปลกแยกดำรงอยู่ในระดับสูง เกือบทุกลักษณะของความแปลกแยก อันได้แก่ สภาวะเหินห่างจากตนเอง สภาวะไร้อำนาจ สภาวะไร้ความหมาย สภาวะสิ้นหวัง เว้นแต่สภาวะปรปักษ์เท่านั้นที่ดำรงอยู่ในระดับไม่สูงนัก ลักษณะของความแปลกแยกแต่ละลักษณะมีประเด็นที่ค้นพบแตกต่างกันไปบ้างดังนี้
  • Thumbnail

    วัฒนธรรมทางการเมืองของผู้นำสหภาพแรงงาน : ศึกษาเฉพาะกรณีของสหภาพแรงงานเอกชนในเขตจังหวัดสมุทรปราการ 

    นาทศิริ กาญจนบูรณ์; วิชัย รูปขำดี, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1988)

    นับตั้งแต่มีการจัดตั้งสหภาพแรงงานซึ่งมีพื้นฐานมาจากแนวความคิดประชาธิปไตยขึ้นมาในประเทศไทย การดำเนินกิจกรรมของสหภาพแรงงานยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าไรนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหภาพแรงงานเอกชน สาเหตุแห่งความล้มเหลวส่วนหนึ่งมาจากความไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรมทางการเมืองของไทย จึงน่าจะได้ศึกษาดูว่าผู้นำสหภาพแรงงานเอกชนส่วนใหญ่มีวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยหรือไม่ และการมีวัฒนธรรมทางการเมืองแบบนั้นจะมีผลต่อความเข้มแข็งของสหภาพแรงงานอย่างไร.
  • Thumbnail

    ประเมินผลนโยบายพัฒนาประชาธิปไตย : เปรียบเทียบอุดมการณ์ของประชาชนในเขตกับนอกเขตโครงการศาลาประชาธิปไตยของอำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา 

    วินัย ติยานนท์; ณัฐพล ขันธไชย, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1988)

    โครงการศาลาประชาธิปไตยเป็นผลมาจากการกำหนดนโยบายทางการเมืองของรัฐบาลในการพัฒนาประชาธิปไตย โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะปลูกฝังอุดมการณ์ประชาธิปไตยให้แก่ประชาชนโดยเน้นพื้นที่ในชนบท มีหน่วยงานของรัฐเป็นผู้รับผิดชอบคือ ศูนย์ประสานงานทหารกองหนุนแห่งชาติ ร่วมกับกองงานความมั่นคง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เริ่มดำเนินการจัดตั้งศาลาประชาธิปไตยเมื่อปี พ.ศ. 2526 เป็นต้นมา ในการดำเนินงานของโครงการศาลาประชาธิปไตยนั้นเน้นการฝึกประชาธิปไตยในทางปฏิบัติให้ประชาชน โดยเป็นศูนย์กลางรองรับการดำเนินกิจกรรมของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนที่ดำเนินการในพื้นที่ ...
  • Thumbnail

    ปัจจัยที่มีผลต่อการชำระคืนเงินกู้ของเกษตรกร : กรณีลูกค้า ธกส. สาขาพระนครศรีอยุธยา 

    มรกต กันทะมา; แตงอ่อน มั่นใจตน, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1988)

    การศึกษาครั้งนี้เพื่อค้นหาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการชำระคืนเงินกู้ของเกษตรกรต่อธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการชำระคืนเงินกู้แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มปัจจัยคือ ความสามารถในการชำระคืนและปัจจัยเสริมเจตจำนงในการชำระคืน เครื่องชี้วัดความสามารถในการชำระคืนที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ รายได้สุทธิและอัตราส่วนระหว่างหนี้สินต่อทรัพย์สิน และเครื่องชี้วัดปัจจัยเสริมเจตจำนงในการชำระคืนพิจารณาจากความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ และการได้รับการยกย่องในสังคม
  • Thumbnail

    การเรียนรู้ทางการเมืองในแนวทางประชาธิปไตยของนักเรียนนายร้อยทหารบก 

    ไสว จันทรุจิรากร; วิชัย รูปขำดี, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1989)

    การศึกษาเรื่อง "การเรียนรู้ทางการเมืองในแนวทางประชาธิปไตยของนักเรียนนายร้อยทหารบก" มีวัตถุประสงค์ดังนี้คือ 1) เพื่อศึกษาทัศนคติทางการเมืองต่อระบอบประชาธิปไตยของนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพื้นฐานทางสังคมของครอบครัวของนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า กับ การเรียนรู้ทัศนคติทางการเมืองในแนวทางประชาธิปไตย 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพื้นฐานทางระบบทางการศึกษาของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า กับ การเรียนรู้ทัศนคติทางการเมืองในแนวทางประชาธิปไตย 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการติดตามข่าวสารทางการเมือง กับ ...
  • Thumbnail

    พื้นฐานการก่อเกิดและการพัฒนานโยบายอีสานเขียวของกองทัพบก 

    ระวีวรรณ กัลยาณสันต์; วิชัย รูปขำดี, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1989)

    วัตถุประสงค์ของการศึกษาเป็นการสำรวจและแสวงหาคำตอบ 3 ประการคือ 1) ศึกษาทบทวนบทบาทของทหารในการพัฒนาชนบท จากยุคของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ถึงยุคของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ 2) ศึกษาวิเคราะห์ถึงพื้นฐานการก่อเกิดนโยบายอีสานเขียวว่าเป็นผลมาจากปัจจัยใดบ้าง และ 3) ศึกษาถึงการพัฒนานโยบายอีสานเขียวว่ามีกระบวนการกำหนดนโยบาย การปรับเปลี่ยนและปรับปรุงนโยบายอย่างไร.
  • Thumbnail

    การพัฒนานโยบายเกี่ยวกับชุมชนแออัด 

    ปราณี พนมเริงไชย; ขัตติยา กรรณสูต, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1989)

    สภาพปัญหาชุมชนแออัดในกรุงเทพมหานคร ยังเป็นปัญหาสำคัญในระดับชาติ ทั้งที่รัฐบาลได้มีนโยบายและมาตรการในการแก้ปัญหาชุมชนแออัดเท่าที่ได้ดำเนินการติดต่อกันมานับเป็นเวลานานเกือบ 3 ทศวรรษ แต่ยังไม่ส่งผลตามเจตนารมณ์ที่ตั้งไว้ เหตุผลที่กล่าวเช่นนี้ก็เพราะจากรายงานการวิจัยเกี่ยวกับชุมชนแออัด ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันยังมิได้ลดจำนวนลง ในทางตรงข้ามปริมาณชุมชนแออัดและปัญหากลับเพิ่มมาก ประเด็นดังกล่าวทำให้ผู้วิจัยกำหนดแนวการศึกษาเพื่อทดสอบว่าการพัฒนานโยบายเกี่ยวกับชุมชนแออัดยังมีข้อบกพร่องในด้านต่าง ๆ หากไม่ใช่เนื่องมาจากการกำหนดนโยบาย ก็คงเนื่องมาจากการนำนโยบ ...
  • Thumbnail

    โครงสร้างอำนาจและชนชั้นนำในชนบทไทย : ศึกษากรณีหมู่บ้านดั้งเดิมและหมู่บ้านที่กำลังเปลี่ยนแปลง 

    พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต; ฑิตยา สุวรรณะชฎ, 2474-, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1990)

    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นการศึกษาโครงสร้างอำนาจและภาวะความเป็นชนชั้นนำในหมู่บ้านชนบทไทย ซึ่งฐานคติของการศึกษา คือ หมู่บ้านทุกหมู่บ้านในสังคมชนบทไทยต่างก็มีความสัมพันธ์ติดต่อและได้รับผลกระทบจากภายนอกซึ่งได้แก่ ระบบราชการและระบบทุนนิยมด้วยกันทั้งสิ้น แต่จะต่างกันที่ขนาดความรุนแรงมากน้อยของแรงกระทบ หากหมู่บ้านใดที่มีแรงกระทบจากภายนอกน้อย ลักษณะของโครงสร้างอำนาจและภาวะชนชั้นนำย่อมจะขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในหมู่บ้านมากกว่าปัจจัยภายนอก ในทางตรงกันข้ามหมู่บ้านที่มีแรงกระทบจากภายนอกมาก โครงสร้างอำนาจและภาวะชนชั้นนำย่อมผันแปรตามปัจจัยภายนอกมากกว่าปัจจัยภายในหมู่บ้าน
  • Thumbnail

    ศักยภาพในการพัฒนาตนเองของชาวนาไทย : กรณีชาวนาสามหมู่บ้านในจังหวัดลำพูน 

    บัวพันธ์ พรรคทิง; แสวง รัตนมงคลมาศ, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1990)

    การศึกษานี้ พยายามทำความเข้าใจปัญหาเรื่องศักยภาพในการพัฒนาตนเองของชาวนาไทยว่า มีอยู่หรือไม่อย่างไร ศักยภาพในการพัฒนาตนเองของชาวนา อาจพิจารณาจากเงื่อนไข 2 ด้าน คือเงื่อนไขภววิสัย หรือสภาพแวดล้อมในการดำรงชีพของชาวนา และเงื่อนไขอัตวิสัย หรือลักษณะทางด้านทัศนะ แนวคิดของชาวนา กล่าวอีกนัยหนึ่ง ศักยภาพในการพัฒนาตนเองของชาวนา สำหรับการศึกษาครั้งนี้หมายถึง ความสามารถของชาวนาในการเอาชนะสิ่งแวดล้อม (Environmental mastering) และความสามารถในการเอาชนะตนเอง (Self-mastering) ของชาวนานั่นเอง.
  • Thumbnail

    บรรยากาศองค์การกับความพอใจในงานของครูโรงเรียนมัธยมเพื่อพัฒนาชนบท 

    วุฒินนท์ วิมลศิลป์; สากล จริยวิทยานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1990)

    วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้มี 4 ประการคือ (1) เพื่อศึกษาระดับความพอใจในงานของครูโรงเรียนมัธยมเพื่อพัฒนาชนบท (2) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้บรรยากาศองค์การของครูโรงเรียนมัธยมเพื่อพัฒนาชนบท (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับความพอใจในงานของครูโรงเรียนมัธยมเพื่อพัฒนาชนบท และ (4)เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับความพอใจในงานของครูโรงเรียนมัธยมเพื่อพัฒนาชนบทในระดับอำเภอและตำบล
  • Thumbnail

    บทบาทคาดหวังของศูนย์เยาวชนตำบลในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 

    อารีย์ จรรยาชัยเลิศ; จิระวัฒน์ วงศ์สวัสดิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1990)

    การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะความสอดคล้องหรือความแตกต่างของความคาดหวังต่อบทบาทของศูนย์เยาวชนตำบลในด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมืองการปกครอง ด้านสังคม ด้านส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและด้านกีฬานันทนาการของผู้ที่เกี่ยวข้องกับศูนย์ฯ โดยเลือกศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างในจังหวัดมหาสารคามได้แก่ กลุ่มเยาวชนที่เป็นสมาชิกศูนย์ฯ จำนวน 67 คน กลุ่มผู้นำท้องถิ่น จำนวน 50 คน กลุ่มผู้ปกครอง จำนวน 50 คน และกลุ่มเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน จำนวน 73 คน รวม 240 คน และเพื่อศึกษาปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อความคาดหวังต่อบทบาทของศูนย์ฯ ในด้านต่าง ๆ 5 ด้าน ผลการศึกษาจะเป็นประโ ...
  • Thumbnail

    ลักษณะการขยายตัวของชุมชนแออัดในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 

    เมธี พยอมยงค์; แตงอ่อน มั่นใจตน, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1990)

    ชุมชนแออัดในกรุงเทพมหานคร ได้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งขนาดและปริมาณของพื้นที่ และจำนวนประชากรในชุมชน อันเป็นผลมาจากสาเหตุหลายประการ จากการขยายตัวดังกล่าวนี้ ก่อให้เกิดความแออัดยัดเยียด และส่งผลให้เกิดปัญหานานัปการต่อชุมชนนั้น ๆ และปริมณฑลในเขตเมืองในส่วนรวม
  • Thumbnail

    ค่านิยมของนิสิตนักศึกษาไทยที่เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง 

    ทรรศิน สุขโต; สนิท สมัครการ, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1990)

    ค่านิยมเป็นพลังที่ซ่อนเร้นอยู่ในพฤติกรรมทางสังคมส่วนใหญ่ของมนุษย์ ทั้งในฐานะตัวกำหนด ตัวตัดสิน ตัวนำ หรือตัวผลักดันพฤติกรรม การแสดงออกในกิจกรรมทางการเมืองของนิสิตนักศึกษาไทยภายใต้ขบวนการนักศึกษา จึงมีค่านิยมเป็นแกนกลาง การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทราบถึงลักษณะของระบบค่านิยมของนิสิตนักศึกษาไทยที่เข้าร่วมในกิจกรรมทางการเมืองในปัจจุบันว่ามีลักษณะอย่างไร และศึกษาบทบาทของตัวแปร เพศ ภูมิลำเนา และสถาบันการศึกษาว่า มีความสัมพันธ์ต่อการจัดลำดับความสำคัญของค่านิยมของกลุ่มประชากรหรือไม่อย่างไร อันจะเป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาต่อไป การวิจัยครั้งนี้ได ...
  • Thumbnail

    ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ 

    นภา ศรีพรรธนกุล; จิระวัฒน์ วงศ์สวัสดิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1990)

    การวิจัยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงปัจจัยต่าง ๆ 12 ปัจจัย ที่มีผลต่อความสำเร็จในการทำกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ ที่นำมาใช้ในหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ บริษัทเอกชนงานบริการ และบริษัทเอกชนงานอุตสาหกรรม และตัวแปรสำคัญในการอธิบายพฤติกรรมในการทำกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ การรับความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมกลุ่มคุณภาพและทัศนคติต่อกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ.
  • Thumbnail

    การยอมรับบทบาทพัฒนากรเขตชานเมือง : ศึกษาเปรียบเทียบการคาดหวังบทบาทพัฒนากรโดยพัฒนากร และโดยคณะกรรมการสภาตำบล 

    เกศรา อดุลยพิจิตร; รพี สุวรรณะชฎ, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1991)

    การศึกษานี้ มุ่งวิเคราะห์การยอมรับ "บทบาท" พัฒนากรใน 3 ประเด็นคือ คุณสมบัติ หน้าที่ และสิทธิของพัฒนากร โดยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) และวิธีการทางสถิติวิเคราะห์ เปรียบเทียบ 1) การคาดหวังบทบาทพัฒนากร โดยพัฒนากร และโดยคณะกรรมการสภาตำบล 2) การคาดหวังบทบาทพัฒนากร โดยพัฒนากร และโดยคณะกรรมการสภาตำบลในทัศนะของพัฒนากร ผู้ศึกษารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการคาดหวังบทบาทจากกลุ่มตัวอย่างพัฒนากร ในเขตจังหวัดชานเมือง ที่จังหวัดนนทบุรี และนอกเขตจังหวัดชานเมือง ที่จังหวัดอ่างทอง และกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสภาตำบล ในเขตจังหวัดชานเมือง ที่ตำบลบางสีทอง ...
  • Thumbnail

    อุดมการของชาวนาในการต่อรอง : ศึกษาเฉพาะกรณีสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่สันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ 

    สุพิตา เริงจิต; วิวัฒน์ชัย อัตถากร, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1991)

    การศึกษาเรื่องอุดมการในการต่อรองของชาวนา : ศึกษาเฉพาะกรณีสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่สันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ มุ่งที่จะทำความเข้าใจกับบทบาทของอุดมการใน ฐานะเป็นองค์ประกอบสำคัญในการต่อรองของชาวนา ซึ่งแสดงออกในการรักษาผลประโยชน์จากการผลิต และวิเคราะห์ถึงกระบวนการ การผลิตและผลิตซ้ำอุดมการในการต่อรอง ตลอดจนศึกษาถึงปัจจัยและเงื่อนไขที่ขัดขวาง และเกื้อหนุนต่อการรวมกลุ่มของชาวนา โดยอาศัยกรอบคิดเกี่ยวกับอุดมการการผลิตและ การผลิตซ้ำทางอุดมการในการวิเคราะห์ ตีความ ปรากฏการณ์ในพื้นที่ โดยใช้วิธีการทางมานุษยวิทยา ในการศึกษา ประกอบด้วย การเข้าไปสังเกตการณ์ในพื้นที่ ...
  • Thumbnail

    ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของคณะทำงานสนับสนุนการปฏิบัติการพัฒนาชนบทระดับตำบล (คปต.) 

    อดาพร สันติธนานนท์; สากล จริยวิทยานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1991)

    การศึกษามีวัตถุประสงค์ดังนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของ คปต. 2) เพื่อศึกษาว่าปัจจัยใดมีอิทธิพลมากน้อยเพียงไรต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของ คปต. 3) เพื่อศึกษาถึงความคิดเห็นของคณะกรรมการสภาตำบล (กสต.) ต่อการปฏิบัติงานของ คปต. และ 4) เพื่อให้ทราบปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานของ คปต. และข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของ คปต.
  • Thumbnail

    การใช้ระบบข้อมูล กชช. ในการวางแผนพัฒนาชนบทระดับจังหวัด : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดนครราชสีมา, จังหวัดหนองคาย, จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดอุบลราชธานี 

    อุทุมพร ศิลปนุรักษ์; รพี สุวรรณะชฎ, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1991)

    การศึกษาเรื่องนี้เป็นการศึกษาถึงประเภทข้อมูล กชช. และปัจจัยที่มีแนวโน้มจะก่อให้เกิดการใช้ระบบข้อมูล กชช. ในขั้นตอนการกำหนดกรอบนโยบายจังหวัดและขั้นตอนการจัดทำแผนพัฒนาชนบทประจำปีระดับจังหวัด ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการวางแผนพัฒนาชนบทระดับจังหวัด ปัญหาอุปสรรคในการใช้ระบบข้อมูล กชช. ในการวางแผนพัฒนาชนบทระดับจังหวัด ตลอดจนความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการปรับปรุงการใช้ระบบข้อมูล กชช. ในการวางแผนพัฒนาชนบทระดับจังหวัด โดยทำการศึกษาเฉพาะกรณีการวางแผนพัฒนาชนบทระดับจังหวัดประจำปี 2535 ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายแผนของหน่วยงานหลักในระดับจังหวัด 5 หน่วยงาน คือ ...