พฤติกรรมการบริโภคน้ำสมุนไพรผสมว่านหางจระเข้ของนักศึกษา
by พัชรี สุวรรณเกิด
Title: | พฤติกรรมการบริโภคน้ำสมุนไพรผสมว่านหางจระเข้ของนักศึกษา |
Other title(s): | University students' consumption behavior on Aloe Vera mixed drinks |
Author(s): | พัชรี สุวรรณเกิด |
Advisor: | พาชิตชนัต ศิริพานิช, อาจารย์ที่ปรึกษา |
Degree name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | ปริญญาโท |
Degree discipline: | สถิติประยุกต์ |
Degree department: | คณะสถิติประยุกต์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2013 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภค้ำสมุนไพรผสมว่านหางจระเข้ โดยข้อมูลที่ศึกษา ได้แก่ เพศ อายุ ชั้นปี ที่ศึกษา กลุ่มวิชาที่ศึกษา พฤติกรรมการบริโภค และ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจบริโภคน้ำสมุนไพรผสมวานหางจระเข้ อีกทั้งทำการทดสอบการยอมรับผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ของน้ำสมุนไพรผสมว่านหางจระเข้สูตร เฉพาะ 3 สูตร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีในกรุงเทพมหานคร ที่เคยบริโภคน้ำสมุนไพรผสมว่านหางจระเข้ ซึ่งมีขนาดตัวอย่าง จำนวน 315 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ค่าสถิติที่ใช้ คือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยแบบเป็นคู่และแบบไคสแควร์ และหา ความสัมพันธ์อย่างง่ายโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า ตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาส่วนใหญ่เป็ นเพศหญิง อายุระหว่าง 21-25 ปี กาลังศึกษาอยู่ชั้นปี ที่ 2 ในกลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ โดยส่วนใหญ่ดื่มน้ำสมุนไพร ผสมว่านหางจระเข้ด้วยเหตุผล คือ เพื่อสุขภาพ และซื้อบริโภคด้วยความชอบส่วนตัว เฉลี่ยดื่ม 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ในปริมาณ 250 ซีซีต่อการดื่มแต่ละครั้ง โดยดื่มแบบบรรจุขวดแช่เย็น ที่มีรสชาติ หวาน และซื้อตามซุ้มจำหน่ายเครื่องดื่มในมหาวิทยาลัย ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดที่นักศึกษาให้ความสำคัญมากที่สุด คือ ปัจจัยด้าน ผลิตภัณฑ์ (ค่าเฉลี่ย 3.98) รองลงมา คือ ปัจจัยด้านราคา (ค่าเฉลี่ย 3.68) ปัจจัยด้านการส่งเสริม การตลาด (ค่าเฉลี่ย 3.45) และปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (ค่าเฉลี่ย 3.42) ตามลำดับ จากผลการทดสอบการยอมรับในผลิตภัณฑ์ของน้ำสมุนไพรผสมว่านหางจระเข้สูตรเฉพาะ 3 สูตร พบว่า คะแนนความชอบเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย เป็ นดังนี้ คือ น้ำใบเตยผสมว่านหาง จระเข้ (ค่าเฉลี่ย 7.47) น้ำอัญชันผสมวานหางจระเข้ (ค่าเฉลี่ย 7.15) และน้ำองุ่นผสมว่านหางจระเข้ (ค่าเฉลี่ย 6.45) อีกทั้งยังพบว่า ความคาดหวังของคุณภาพผลิตภัณฑ์น้อยกว่าการรับรู้ของคุณภาพ ผลิตภัณฑ์ ที่แท้จริงอยางมีนัยสำคัญ ข้อเสนอแนะสำหรับผู้ประกอบการที่หันมาสนในทำธุรกิจน้ำสมุนไพรผสมว่านหางจระเข้ ควรให้ความใส่ใจในเรื่องของคุณภาพ รสชาติ สีสัน และรูปแบบบรรจุภัณฑ์ ที่แตกต่างและโดดเด่น คงไว้ซึ่งความเป็นน้ำสมุนไพรไทย โดยนำกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อให้ ผู้บริโภครู้จักและเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น |
Description: |
วิทยานิพนธ์ ( )--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 91 แผ่น : ; 30 ซม. |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/520 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|