• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะสถิติประยุกต์
  • GSAS: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะสถิติประยุกต์
  • GSAS: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ระบบการจัดหาน้ำสะอาดในชนบท : ศึกษาเฉพาะกรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

by เดชา เดชาดิลก

Title:

ระบบการจัดหาน้ำสะอาดในชนบท : ศึกษาเฉพาะกรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Author(s):

เดชา เดชาดิลก

Advisor:

เอนก หิรัญรักษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

สถิติประยุกต์

Degree department:

คณะสถิติประยุกต์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1978

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาคที่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคมากที่สุด หน่วยราชการต่าง ๆ ของรัฐได้ช่วยจัดหาแหล่งน้ำหลาย ๆ ประเภทให้กับหมู่บ้าน เช่น ขุดบ่อน้ำ เจาะบ่อบาดาล ขุดสระ สร้างระบบประปา เป็นต้น เพื่อที่ชาวชนบทจะได้มีน้ำสะอาดสำหรับกินและใช้ แต่ความเดือดร้อนเรื่องน้ำก็ยังคงมีอยู่ในบางหมู่บ้าน การศึกษาครั้งนี้ต้องการหาระบบการจัดหาน้ำสะอาดที่ดีที่สุด กล่าวคือต้องการหาดัชนีหรือตัวชี้ (Indicators) ที่บอกว่าหมู่บ้านขาดแคลนน้ำหรือไม่ และดัชนีที่บอกว่าควรสร้างหรือพัฒนาแหล่งน้ำชนิดใด (หากรู้ว่าหมู่บ้านนั้นขาดแคลนน้ำ) ขอบข่ายของการศึกษาจำกัดเฉพาะน้ำเพื่อการอุปโภค และการบริโภคสำหรับคน รวมถึงน้ำสำหรับวัวควายซึ่งเป็นสัตว์ใช้งานที่มีในหมู่บ้าน
วิธีการศึกษา ในชั้นแรกศึกษาจากเอกสารและข้อมูลจากส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาน้ำสะอาด เพื่อให้ทราบภูมิหลังและลักษณะทั่ว ๆ ไปเกี่ยวกับการสร้างหรือพัฒนาแหล่งน้ำ ต่อมาใช้ข้อมูลและผลที่ได้จากการประเมินผลโครงการจัดหาน้ำสะอาดในชนบททั่วราชอาณาจักร การประเมินผลนี้สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และยูนิเซฟได้จัดทำขึ้น ข้อมูลอีกส่วนหนึ่งได้จากการศึกษาเพิ่มเติม การหาข้อมูลของการประเมินผลและการศึกษาเพิ่มเติมนี้ ใช้วิธีสุ่มหมู่บ้านตัวอย่างในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แล้วสัมภาษณ์ผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านตัวอย่าง ณ ที่ตั้งของหมู่บ้าน พร้อมกับสังเกตแหล่งน้ำที่มีในหมู่บ้าน
ผลการศึกษาพบว่า ดัชนีหรือตัวชี้ (Indicators) ที่บอกว่า หมู่บ้านขาดแคลนน้ำหรือไม่ ได้แก่ จำนวนครัวเรือนในหมู่บ้าน ความเห็นของบุคคลในหมู่บ้าน และแหล่งน้ำที่มีในหมู่บ้าน โดยมีขั้นตอนในการตัดสินใจดังนี้ ขั้นแรกให้ถามความเห็นของบุคคลที่อยู่ในหมู่บ้าน หากบุคคลเหล่านี้ตอบว่า หมู่บ้านมีน้ำเพียงพอจะสรุปได้ว่า หมู่บ้านมีน้ำกินน้ำใช้เพียงพอ หากตอบว่าขาดแคลนน้ำ เรายังหาข้อสรุปไม่ได้ ต้องหาข้อมูลจำนวนครัวเรือนและแหล่งน้ำที่มีในหมู่บ้าน นำข้อมูลทั้งสองนี้มาคำนวณประกอบกัน หากประเภทและจำนวนแหล่งน้ำที่มีอยู่ไม่สามารถให้บริการครัวเรือนทั้งหมดได้ ก็ถือว่าหมู่บ้านนั้น ๆ เดือดร้อนเรื่องน้ำ รัฐควรเข้าช่วยเหลือจัดหาแหล่งน้ำให้
สำหรับดัชนีที่บอกว่าควรสร้างแหล่งน้ำประเภทใดนั้นได้แก่ ความนิยม ความต้องการแหล่งน้ำประเภทต่าง ๆ ของชาวชนบท อุปนิสัยการใช้น้ำของชาวบ้าน ความเป็นไปได้ทางภูมิประเทศและวิชาการ ราคาค่าก่อสร้าง จำนวนครัวเรือนในหมู่บ้าน ความคงทนถาวรและการซ่อมบำรุงรักษา หลักการทางด้านอนามัย แหล่งน้ำที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ และเงื่อนไขเฉพาะสำหรับแหล่งน้ำแต่ละประเภท อย่างไรก็ตามหากนำแหล่งน้ำประเภทต่าง ๆ มาเปรียบเทียบกันโดยใช้เกณฑ์ 5 อย่าง คือ ความนิยม และความต้องการของประชาชน ราคาค่าก่อสร้าง ความคงทนถาวรและการซ่อมบำรุงรักษา หลักการทางด้านอนามัย และเงื่อนไขอื่น ๆ พบว่า บ่อน้ำตื้นเป็นแหล่งน้ำที่ดีที่สุด รองลงมาเป็นบ่อน้ำบาดาล บ่อตอก การลอกสระที่มีอยู่แล้ว ประปา ถังเก็บน้ำฝน ขุดสระใหม่ และบาดาลติดสูบยนต์ ตามลำดับ.
จากการศึกษาพบว่า หมู่บ้านขนาดเล็กควรแก้ปัญหาความเดือดร้อนเรื่องน้ำด้วยการขุดบ่อน้ำตื้นเป็นอันดับแรก หากไม่สามารถขุดบ่อน้ำให้เจาะบ่อตอกเป็นอันดับต่อมา หากเจาะบ่อตอกไม่ได้ให้ใช้วิธีขุดลอกสระ แล้วจึงพิจารณาขุดบ่อบาดาล ตามลำดับ หมู่บ้านขนาดกลางเลือกการขุดบ่อน้ำเป็นอันดับแรก หากขุดไม่ได้ให้ใช้วิธีเจาะบ่อตอก บ่อบาดาลหรือลอกสระที่มีอยู่แล้วตามลำดับ หมู่บ้านขนาดใหญ่ควรใช้วิธีสร้างบ่อน้ำตื้นก่อน แล้วจึงเลือกสร้างบ่อบาดาล บาดาลติดสูบยนต์และลอกสระตามลำดับ หมู่บ้านขนาดใหญ่มาก ต้องแก้ปัญหาด้วยการสร้างประปาหรือบาดาลติดสูบยนต์ก่อน แล้วจึงพิจารณาแหล่งน้ำอื่นต่อไป.
ส่วนการแก้ปัญหาน้ำปศุสัตว์ ใช้วิธีลอกห้วย หนอง สระ หรือสร้างทำนบสำหรับกั้นลำห้วยจะดีที่สุด หากจำเป็นจริง ๆ จึงใช้วิธีขุดสระขึ้นใหม่
ในบทสุดท้ายได้มีข้อเสนอแนะต่าง ๆ เพื่อช่วยแก้ปัญหาเรื่องน้ำกินน้ำใช้ให้ดียิ่งขึ้น หลักสำคัญอยู่ที่การพยายามรักษาแหล่งน้ำที่มีอยู่แล้วให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุด ใช้การได้นานที่สุด
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ยังมีข้อบกพร่องอยู่เป็นต้นว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาคที่มีพื้นที่และบริเวณกว้างขวางมาก การหาข้อมูลจึงไม่ละเอียดพอ นอกจากนี้ การศึกษาครั้งนี้ได้ใช้ประมาณการจำนวนครัวเรือนที่แหล่งน้ำแต่ละประเภทสามารถให้บริการได้ ประมาณการดังกล่าวนี้ยังไม่ได้มีการศึกษาอย่างละเอียดและจริงจัง จึงควรมีการศึกษาในเรื่องนี้เป็นโครงการเฉพาะด้วย.

Description:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (สถิติประยุกต์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2521.

Subject(s):

น้ำ -- การทำให้บริสุทธิ์

Keyword(s):

ไทย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

92 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/522
Show full item record

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b11025ab.pdf ( 92.45 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b11025.pdf ( 2,718.45 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSAS: Theses [219]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×