ระบบกฎหมายพิเศษว่าด้วยสถานการณ์ฉุกเฉินสาธารณะในประเทศไทยกับหลักความเป็นนิติรัฐ
Publisher
Issued Date
2016
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
529 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b196944
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
สมยศ จันทรสมบัติ (2016). ระบบกฎหมายพิเศษว่าด้วยสถานการณ์ฉุกเฉินสาธารณะในประเทศไทยกับหลักความเป็นนิติรัฐ. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5222.
Title
ระบบกฎหมายพิเศษว่าด้วยสถานการณ์ฉุกเฉินสาธารณะในประเทศไทยกับหลักความเป็นนิติรัฐ
Alternative Title(s)
The exceptional legal system of the public emergency situation in Thailand under the principles of legal state
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาประวัติความเป็นมา แนวความคิด ทฤษฎี วัตถุประสงค์ รวมทั้งเกณฑ์มาตรฐานระหว่างประเทศที่กําหนดกรอบของระบบกฎหมายพิเศษว่าด้วยสถานการณ์ ฉุกเฉินสาธารณะ 2. เพื่อศึกษาความสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยสถานการณ์ฉุกเฉินสาธารณะของกฎหมายต่างประเทศ และ 3. เพื่อวิเคราะห์แนวทางและกรอบของระบบ กฎหมายพิเศษว่าด้วยสถานการณ์ฉุกเฉินสาธารณะที่เหมาะสมและสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐาน ระหว่างประเทศ เพื่อนํามาปรับใช้ในระบบกฎหมายพิเศษว่าด้วยสถานการณ์ฉุกเฉินสาธารณะของ ประเทศไทย ผลจากการศึกษาพบว่า โดยหลักการของประเทศเสรีประชาธิปไตยที่ยึดถือหลักความเป็นนิติ รัฐ การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและการใช้อํานาจในสถานการณ์ฉุกเฉินนั้น เป็นสิ่งที่ยอมรับให้สามารถกระทําได้ต่อเมื่อรัฐมีความจําเป็นต้องแก้ไขปัญหาวิกฤติเพื่อการดํารงอยู่ของรัฐ แต่ต้องกระทํา บนพื้นฐานของคุณค่าแห่งประชาธิปไตยและหลักความเป็นนิติรัฐ นั่นคือ ต้องมีหลักประกันในสิทธิ และเสรีภาพขั้นพื้นฐานให้แก่ราษฎร เนื่องจากการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและการใช้อํานาจใน สถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว มีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน ดังนั้น ใน เอกสารกฎหมายระหว่างประเทศ ไม่ว่ากติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการ เมือง อนุสัญญายุโรปว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน อนุสัญญาอเมริกาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน รวมทั้งเกณฑ์มาตรฐานและหลักการที่นําเสนอโดยองค์กรที่เกี่ยวข้องกับอนุสัญญาดังกล่าวข้างต้น อาทิ เกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําปารีสของการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในสถานการณ์ฉุกเฉิน หลักการสิราคูซาว่า ด้วยบทบัญญัติของข้อจํากัดและการเลี่ยงหรือระงับการปฏิบัติตามพันธกรณีในกติการะหว่างประเทศ ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ. 1984 จึงได้กําหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ เพื่อที่รัฐภาคีจะ ได้นําไปปฏิบัติให้ถูกต้องในระหว่างการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินสาธารณะ ในงานวิจัยฉบับนี้ได้เสนอแนะแนวทางและกรอบของระบบกฎหมายพิเศษว่าด้วยสถานการณ์ ฉุกเฉินสาธารณะที่เหมาะสมและสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานระหว่างประเทศ โดย 1. ในระดับ บทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ให้มีการบัญญัติคํานิยามของคําว่าสถานการณ์ฉุกเฉินสาธารณะ เงื่อนไขและ วิธีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินสาธารณะ มาตรการการใช้อํานาจในสถานการณ์ฉุกเฉิน ขอบเขต ระยะเวลาการสิ้นสุด และการควบคุมการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินสาธารณะไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อเป็นเกณฑ์มาตรฐานกลางในการบัญญัติเกี่ยวกับสถานการณ์ฉุกเฉินสาธารณะ ต่อไป 2. ส่วนในระดับพระราชบัญญัตินั้น ก็ได้นําเสนอโดยจําแนกข้อเสนอแนะออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 1. ในฐานะที่ระบบกฎหมายพิเศษดังกล่าวยังคงใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ก็ควรพิจารณาจัดลําดับการ ใช้บังคับก่อนหลังตามลําดับของความรุนแรงของสถานการณ์และความเข้มข้นของมาตรการการใช้ อํานาจในสถานการณ์ฉุกเฉิน และในแต่ละฉบับควรวางหลักเกณฑ์เรื่องการกําหนดระยะเวลาและการ ขอขยายระยะเวลาเมื่อสิ้นสุดออกไป โดยจะต้องอยู่ภายใต้การพิจารณาให้ความเห็นชอบจากฝ่ายนิติ บัญญัติและ 2. ในฐานะที่เป็นข้อเสนอแนะในการปรับปรุงระบบกฎหมายพิเศษดังกล่าวต่อไปใน อนาคต ควรจัดโครงสร้างระบบกฎหมายพิเศษว่าด้วยสถานการณ์ฉุกเฉินสาธารณะออกเป็น 3 ระดับชั้น คือ 1. จะเป็นกฎหมายระดับนโยบายที่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการในการบริหารจัดการ สถานการณ์ฉุกเฉินสาธารณะ ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2. จะเป็นการบัญญัติกฎหมาย ระดับพระราชบัญญัติ โดยมีรายละเอียดในการบริหารจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินสาธารณะ ที่มุ่งเน้น ภัยคุกคามที่เกิดจากมนุษย์(Man-Made Disaster) อาทิ สงคราม การจลาจล การก่อการกบฏ การ ก่อการร้ายฯลฯ ได้แก่ พระราชบัญญัติการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. .... 3. จะเป็นการ บัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยมีรายละเอียดในการป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัย อันเป็นภัยพิบัติที่เกิดจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Natural and Environmental Disaster) ได้แก่ พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. ....
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (น.ด.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559