• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ
  • GSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ
  • GSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การศึกษาผลตอบแทนและความเสี่ยงตามกรอบระยะเวลาและสภาวะเศรษฐกิจกรณีศึกษาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

by อัจจนา ม่วงสุข

Title:

การศึกษาผลตอบแทนและความเสี่ยงตามกรอบระยะเวลาและสภาวะเศรษฐกิจกรณีศึกษาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Other title(s):

The study of return and risk based on investment period and economic condition: case study in the stock exchange of Thailand

Author(s):

อัจจนา ม่วงสุข

Advisor:

วิศิษฎ์ ชัยศรีสวัสดิ์สุข

Degree name:

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

เศรษฐศาสตร์การเงิน

Degree department:

คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2020

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและแนะนำกลยุทธ์การคัดเลือกหลักทรัพย์เพื่อพิจารณาการลงทุน โดยงานวิจัยได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1) การศึกษากลยุทธ์การคัดเลือกหลักทรัพย์ตามกรอบระยะเวลา สำหรับนักลงทุนที่ตัดสินใจลงทุนตามกรอบระยะเวลาในการลงทุนที่แตกต่างกัน และ 2) การศึกษากลยุทธ์การคัดเลือกหลักทรัพย์ตามสภาวะเศรษฐกิจ สำหรับนักลงทุนที่คำนึงถึงสภาวะเศรษฐกิจก่อนตัดสินใจลงทุน โดยกลยุทธ์ในการคัดเลือกหลักทรัพย์จะสร้างจากการนำอัตราส่วนทางเงินและอัตราส่วนมูลค่าตลาด ได้แก่ ROA, PE, และ PBV ของแต่ละบริษัทที่อยู่ในดัชนี SET ไปเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ย (Mean) และค่ามัธยฐาน (Median) ของอัตราส่วนทางการเงินในแต่ละหมวดธุรกิจ ผลการวิจัยในส่วนที่ 1 พบว่า นักลงทุนที่มีระยะเวลาการถือครองหลักทรัพย์ 1 และ 10 ปี ควรเลือกใช้กลยุทธ์การคัดเลือกหลักทรัพย์เมื่อสร้างจากการเปรียบเทียบกับค่ามัธยฐาน (Median) โดยนักลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงได้ในระดับต่ำ ระดับปานกลางค่อนข้างสูงจนถึงระดับสูงมากควรเลือกใช้กลยุทธ์การคัดเลือกหลักทรัพย์กลุ่มที่ 3 สำหรับนักลงทุนรับความเสี่ยงได้ในระดับปานกลางค่อนข้างต่ำควรเลือกใช้กลยุทธ์กลุ่มที่ 25 และเลือกใช้กลยุทธ์กลุ่มที่ 3 เมื่อมีระยะเวลาการถือครอง 10 ปี สำหรับนักลงทุนที่มีระยะเวลาการถือครองหลักทรัพย์ 5 ปี ควรเลือกใช้กลยุทธ์การคัดเลือกหลักทรัพย์กลุ่มที่ 3 เมื่อสร้างกลยุทธ์จากการเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ย (Mean) ซึ่งจะทำให้ได้รับผลตอบแทนสูงที่สุดในทุก ๆ ระดับความเสี่ยง ผลการวิจัยในส่วนที่ 2 พบว่า นักลงทุนที่ตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์ตามสภาวะเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจแบบขยายตัวหรือชะลอตัว นักลงทุนควรเลือกใช้กลยุทธ์การคัดเลือกหลักทรัพย์เมื่อสร้างจากการเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ย (Mean) โดยหากสภาวะเศรษฐกิจอยู่ในช่วงขยายตัว (Expansion) นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ในระดับปานกลางค่อนข้างต่ำจนถึงระดับความเสี่ยงสูงมากควรเลือกใช้กลยุทธ์การคัดเลือกหลักทรัพย์กลุ่มที่ 35 และนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ในระดับต่ำควรเลือกใช้กลยุทธ์การคัดเลือกหลักทรัพย์กลุ่มที่ 11 สำหรับสภาวะเศรษฐกิจที่อยู่ในช่วงชะลอตัว (Slowdown) หากนักลงทุนรับความเสี่ยงได้ในระดับสูงและสูงมากควรเลือกใช้กลยุทธ์การคัดเลือกกลุ่ม 19 และหากนักลงทุนรับความเสี่ยงได้ในระดับต่ำจนถึงระดับปานกลางค่อนข้างสูง ควรเลือกใช้กลยุทธ์ในกลุ่มที่ 31 ซึ่งจะเป็นกลุ่มที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้สูงสุด
A purpose of this research is made for creating and suggesting stock selection strategy for investment. For this research was divided into 2 parts which are 1) stock selection strategy based on investment period and 2) based on economic states for those who concern about economic condition. The strategy was created from comparing the financial ratio and market value ratio between each company from SET and the mean / median of the business. For the first part, The results of the study showed that short-term and long-term investors holding period 1 and 10 years ought to choose the strategy that was created from comparison against Median. Investors who can accept risk taking in low level, and high medium to very high level are suggested to use the stock selection strategy of group 3 . Investors who can accept risk taking in low medium level are suggested to use the stock selection strategy of group 25.  For those who have holding period 10 years are suggested to use stock selection strategy of group 3. For investors who have holding period stocks 5 years are suggested to use stock selection strategy of group 3 when issuing the strategy from comparison against Mean which is the only group generating the highest return in every risk level acceptance. For the second part, it was found that investors who make decision to stock investment based on economic condition are suggested to use stock selection strategy created from comparison against Mean. If economic condition is expanding, investors who can accept risk taking in low medium to very high level are supposed to use stock selection strategy of group 35 and ought to choose group 11 for low risk level. For economic condition is slowdown, if investors who can accept risk taking in high to very high level are suggested to use the stock selection strategy of group 19. Other investors who can accept risk taking in low to high medium level are suggested to use the stock selection strategy of group 31 which can generate the highest return.

Description:

วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์การเงิน))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2563

Subject(s):

หลักทรัพย์
การลงทุน

Keyword(s):

กลยุทธ์การคัดเลือกหลักทรัพย์
กรอบระยะเวลา
อัตราส่วนทางเงิน
อัตราส่วนมูลค่าตลาด
e-Thesis

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

205 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์

Rights holder(s):

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5247
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b211016.pdf ( 8,428.88 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSDE: Theses [67]
Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Education Service Center | สำนักบริการการศึกษาและบรรณสาร
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Education Service Center | สำนักบริการการศึกษาและบรรณสาร
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×