อิทธิพลของปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในที่มีต่อความสุขของผู้สูงอายุ
by วิทมา ธรรมเจริญ
ชื่อเรื่อง: | อิทธิพลของปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในที่มีต่อความสุขของผู้สูงอายุ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The influence of external and internal factors on happiness of the elderly |
ผู้แต่ง: | วิทมา ธรรมเจริญ |
ผู้ควบคุมงานวิจัย: | เดือนเพ็ญ ธีรวรรณวิวัฒน์ |
ชื่อปริญญา: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
ระดับปริญญา: | Master's |
สาขาวิชา: | สถิติประยุกต์ |
คณะ/หน่วยงาน: | คณะสถิติประยุกต์ |
หน่วยงานที่ประสาทปริญญา: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
ตัวระบุวัตถุจิจิทัล (ดีโอไอ): | 10.14457/NIDA.the.2012.54 |
หน่วยงานที่เผยแพร่: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ: |
การศึกษาคร้ังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสุขของผู้สูงอายุ เปรียบเทียบระดับ ความสุขของผู้สูงอายุ และศึกษาอิทธิพลของปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในที่มีต่อความสุขของ ผู้สูงอายุ โดยใช้การวิเคราะห์เส้นทาง เพื่อทำความเข้าใจกับกระบวนการของอิทธิพลที่ปัจจัย ภายนอกและปัจจัยภายในมีต่อความสุขของผู้สูงอายุใช้ข้อมูลจากโครงการนำร่องสำรวจและศึกษา สุขภาพ การสูงอายุ และการเกษียณในประเทศไทยโดยการใช้ตัวอย่างซ้ำ (รอบที่ 1) ตัวอย่างที่ใช้ใน การศึกษานี้เป็น ผู้สูงอายุที่มีอายุ60 ปีขึ้นไป จำนวน 550 คน โดยศึกษาเฉพาะผู้ที่ ณ ขณะที่เก็บ ข้อมูลมีสถานภาพ สมรส หม้าย หย่า หรือแยกกันอยู่และมีบุตรอย่างน้อย1 คน มากกว่าครึ่งของตัวอย่างที่ศึกษาเป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 69.27 ปี ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 8.47 ด้านการศึกษาส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาถึงร้อยละ 73.10 ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุมีความสุขโดยเฉลี่ย 76.80 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน ซึ่งจัดว่ามีความสุขอยู่ใน ระดับมาก และผู้สูงอายุตอนต้นและตอนปลายมีความสุขโดยเฉลี่ย 76.63 คะแนน และ 77.05 คะแนน ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 19.76 และ 22.97 ตามลำดับ ซึ่งการศึกษาอิทธิพลของปัจจัยภายนอก และปัจจัยภายในใช้สถิติวิเคราะห์เส้นทาง ผลการศึกษาพบว่า โมเดลตามสมมติฐานการวิจยัของ ผู้สูงอายุมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในระดับดี( 2 =0.819, p-value = 0.664, RMSEA = 0.000, GFI = 1.000, TLI= 1.070, CFI = 1.000 และ CMIN/DF = 0.410) โดยปัจจัยภายนอกและ ปัจจัยภายในสามารถอธิบายความแปรปรวนของความสุขของผู้สูงอายุได้ร้อยละ 19 ผลการ วิเคราะห์พบว่า ปัจจัยภายนอกอันได้แก่ เขตที่อยู่อาศัยมีอิทธิพลโดยรวมต่อระดับ ความสุขของ ผู้สูงอายุมากที่สุดรองลงมาคือเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติภารกิจทางสังคมและศาสนา และสถานภาพ สมรส ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าอิทธิพลที่มีต่อความสุขของตัวแปรทั้ง 3 ส่วนใหญ่เป็นอิทธิพลทางตรงมากกว่าทางอ้อม ด้านการทำงานและการพบปะติดต่อกับบุตรมีอิทธิพล ทางอ้อมต่อความสุขการทำงานมีอิทธิพลทางอ้อมโดยผ่านภาวะสุขภาพกาย และผ่านภาวะทาง อารมณ์ส่วนการพบปะติดต่อกับบุตรก็มีอิทธิพลต่อความสุข โดยผ่านภาวะทางอารมณ์สำหรับ ปัจจัยภายในพบว่าภาวะสุขภาพกายก็มีอิทธิพลมากกว่าภาวะทางอารมณ์ นอกจากนี้ได้ทำการศึกษาอิทธิพลของปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในที่มีต่อความสุขของ ผู้สูงอายุตอนต้น และตอนปลาย พบว่า การพบปะติดต่อกับบุตรมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านภาวะทาง อารมณ์ของผู้สูงอายุตอนต้น ส่วนเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติภารกิจทางสังคมและศาสนา มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อระดับความสุขของผู้สูงอายุตอนปลายเพียงอย่างเดียวเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ภาวะสุขภาพกายของทั้งผู้สูงอายุตอนต้นและตอนปลายต่างก็มีอิทธิพลต่อความสุขมากกว่าภาวะ ทางอารมณ์ |
รายละเอียดเพิ่มเติม: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (สถิติประยุกต์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2012 |
หัวเรื่องมาตรฐาน: | ความสุขในผู้สูงอายุ |
ประเภททรัพยากร: | วิทยานิพนธ์ |
ความยาว: | 126 แผ่น |
ชนิดของสื่อ: | Text |
รูปแบบแฟ้มข้อมูล: | application/pdf |
ภาษา: | tha |
สิทธิในการใช้งาน: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/524 |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT) |
|
ดู ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|