ความรับผิดทางแพ่งของอีมาร์เก็ตเพลสกรณีการจำหน่ายสินค้าที่ละเมิดเครื่องหมายการค้า
Files
Publisher
Issued Date
2019
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
138 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b210737
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ธีราภา ฉิมวัย (2019). ความรับผิดทางแพ่งของอีมาร์เก็ตเพลสกรณีการจำหน่ายสินค้าที่ละเมิดเครื่องหมายการค้า. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5252.
Title
ความรับผิดทางแพ่งของอีมาร์เก็ตเพลสกรณีการจำหน่ายสินค้าที่ละเมิดเครื่องหมายการค้า
Alternative Title(s)
Civil Liability of E-Marketplace in the Case of Trademark Infringement
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
ในปัจจุบันมีการนำสินค้าที่ละเมิดเครื่องหมายการค้ามาจำหน่ายบนอีมาร์เก็ตเพลสอย่างแพร่หลายสร้างความเสียหายแก่เจ้าของเครื่องหมายการค้าเป็นอย่างมาก ในพฤติการณ์นี้อีมาร์เก็ตเพลส ไม่ได้เป็นผู้ที่ละเมิดเครื่องหมายการค้าโดยตรง เป็นแต่เพียงผู้ที่อนุญาตให้ผู้ขายนำสินค้าที่ละเมิดเครื่องหมายการค้ามาจัดแสดงบนพื้นที่ออนไลน์ของตนเท่านั้นหรือที่เรียกว่าเป็นผู้ละเมิดลำดับรอง ผู้เสียหายที่เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าสามารถเยียวยาความเสียหายได้โดยเครื่องมือที่สำคัญประการหนึ่งได้แก่การฟ้องร้องเป็นคดีแพ่งเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายจากเจ้าของอีมาร์เก็ตเพลสที่แม้จะไม่ได้เป็นผู้กระทำละเมิดโดยตรงก็ตาม แต่อย่างไรก็ดี กฎหมายแพ่งลักษณะละเมิดประเทศไทยยังไม่ได้บัญญัติเรื่องความรับผิดเพื่อการกระทำในลักษณะดังกล่าวเอาไว้โดยตรงและศาลไทยยังไม่เคยตัดสินคดีที่มีข้อเท็จจริงเช่นว่านี้มาก่อนที่สามารถใช้เป็นบรรทัดฐานได้ หากยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการจัดการกับปัญหาอาจสร้างความเสียหายให้กับการประกอบธุรกิจบนโลกออนไลน์ได้ รวมทั้งภาพลักษณ์ในด้านความน่าเชื่อถือของประเทศ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จัดทำโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงสภาพปัญหาของการจำหน่ายสินค้าที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในประเภทเครื่องหมายการค้าผ่านช่องทางอีมาร์เก็ตเพลส และลักษณะทั่วไปของอีมาร์เก็ตเพลส รวมถึงทฤษฎีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดของอีมาร์เก็ตเพลสจากการทำละเมิดของบุคลอื่น และเพื่อศึกษาถึงหลักกฎหมายและกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการทำละเมิดเครื่องหมายการค้าบนอีมาร์เก็ตเพลสของประเทศไทยและกฎหมายต่างประเทศเพื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบหลักกฎหมายของไทยที่เกี่ยวข้องกับการทำละเมิดเครื่องหมายการค้าที่กระทำผ่านอีมาร์เก็ตเพลสของประเทศไทย ทั้งนี้ ก็เพื่อค้นหาหลักเกณฑ์ความรับผิดของเจ้าของอีมาร์เก็ตเพลสในกรณีที่ผู้ขายสินค้านำสินค้าที่ละเมิดเครื่องหมายการค้ามาจำหน่ายบนอีมาร์เก็ตเพลสที่เหมาะสมกับระบบกฎหมายไทย
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ได้ทำการศึกษาโดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งจะค้นคว้าจากข้อมูลเอกสาร (Documentary Research) เป็นสำคัญ ทั้งที่เป็นข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ ตัวบทกฎหมาย ตำรา ผลงานการวิจัยที่เกี่ยวข้อง บทความ สิ่งตีพิมพ์ทางกฎหมายและข้อมูลจากเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว
จากการศึกษาจากการศึกษาพบว่าการที่จะให้เจ้าของอีมาร์เก็ตเพลสรับผิดในฐานละเมิดและต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหายนั้นในทางกฎหมายไม่ว่าจะเป็นในเชิงทฤษฎีหรือบรรทัดฐานที่ศาลต่างประเทศได้วางเอาไว้ยอมรับว่ามีฐานในทางกฎหมายที่จะเรียกให้เจ้าของอีมาร์เก็ตเพลสรับผิดในทางแพ่งได้ในฐานะที่เป็นผู้ละเมิดลำดับรอง (Secondary Infringer) ซึ่งแตกต่างกันออกไปตามระบบกฎหมาย ในประเทศสหรัฐอเมริกาศาลได้พัฒนาหลักกฎหมายที่เรียกว่าความรับผิดแบบมีส่วนร่วม (Contributory Liability) ส่วนศาลเยอรมันและฝรั่งเศสปรับใช้ประมวลกฎหมายแพ่ง โดยการวินิจฉัยถึงการกระทำของจำเลยที่เป็นเจ้าของอีมาร์เก็ตเพลสว่าจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ประเทศจีนนั้นบัญญัติกฎหมายขึ้นมาเฉพาะเพื่อแก้ปัญหา แต่สำหรับประเทศไทยแนวทางที่เป็นไปได้และเหมาะสมที่สุดคือการ คือ การปรับใช้มาตรา 420 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นบทบัญญัติทั่วไปเรื่องความรับผิดเพื่อการละเมิดสำหรับการกระทำของเจ้าของอีมาร์เก็ตเพลสเองตามแนวทางของประเทศเยอรมนีและฝรั่งเศสเนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์หรือระบบประมวลกฎหมายลายลักษณ์อักษร
การแก้ปัญหาจึงกระทำได้โดยการปรับใช้บทบัญญัติที่มีอยู่แล้วโดยให้เจ้าของอีมาร์เก็ตเพลสรับผิดในการกระทำของตนเอง โดยศาลอาจปรับใช้โดยพิจารณาจากพฤติการณ์อื่น ๆ ประกอบ รวมถึงการแก้ปัญหาด้านนโยบายโดยหน่วยงานภาครัฐ เช่น กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา กับภาคเอกชน เพื่อให้ทันต่อยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งส่งผลให้มีรูปแบบการกระทำละเมิดที่แตกต่าง และหลากหลายมากกว่าในอดีต และเพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าและเพื่อส่งเสริมให้มีการดำเนินธุรกิจออนไลน์โดยอยู่บนพื้นฐานของกฎหมายกล่าวคือ การดำเนินธุรกิจที่เคารพต่อสิทธิที่กฎหมายรับรองของบุคคลอื่น
Nowadays, counterfeit goods have been widely sold on E-marketplace which cause serious damage to trademark holders. In this circumstance, E-marketplaces do not directly infringe trademark but they merely allow sellers to trade goods on their online places which has been described as secondary infringement. Trademark holders may seek remedy over a trademark infringement and the most important mechanism is to sue E-marketplace for civil lawsuit for the wrongful act. However, under Thai Tort law does not provide ways in which trademark holders may claim damages from such infringement. So far, there have been no judicial decisions in this regard since no cases have ever been brought before any Thai courts. Consequently, there is no jurisprudence which can be used as stare decisis to make the ruling. If there are no clear approach to address this problem and such a situation persisted, online businesses will face a serious problem as well as the country's reputation and image. This thesis is aimed at portraying the problem associated with the selling of counterfeit goods on E-marketplaces as well as general characteristics of E-marketplaces, legal theories relevant to the secondary liability of E-marketplace. In addition, the thesis studied legal principles and cases which are relevant to the infringement of goods on E-marketplaces in Thailand and foreign countries with a view to analysing Thai laws so as to find criteria of liability of E-marketplaces which are suitable for Thai legal system. The methodology used in this thesis was qualitative research. All relevant documents, such as books, articles, past research, legal documents and other electronic sources were consulted as a basis for the study. The research found that there is a legal basis, either in theory or in jurisprudence rendered by courts, for holding E-marketplaces liable for any damage and pay compensation as secondary infringer which may differ from country to country. In the United States of America, the courts have developed legal principles which is so called contributory liability. For the German and French courts, they apply civil code by considering whether E-marketplace has acted intentionally or negligently. In China, the solution was to enact new laws. The most appropriate way for Thailand would be the application of Article 420 of the Civil and Commercial Code which is general principle for holding E-marketplaces liable for any damage in the same way as German and French courts have done. This is because Thailand is the civil law country so that the existing provisions have to be applied and relevant circumstances need to be considered.
Nowadays, counterfeit goods have been widely sold on E-marketplace which cause serious damage to trademark holders. In this circumstance, E-marketplaces do not directly infringe trademark but they merely allow sellers to trade goods on their online places which has been described as secondary infringement. Trademark holders may seek remedy over a trademark infringement and the most important mechanism is to sue E-marketplace for civil lawsuit for the wrongful act. However, under Thai Tort law does not provide ways in which trademark holders may claim damages from such infringement. So far, there have been no judicial decisions in this regard since no cases have ever been brought before any Thai courts. Consequently, there is no jurisprudence which can be used as stare decisis to make the ruling. If there are no clear approach to address this problem and such a situation persisted, online businesses will face a serious problem as well as the country's reputation and image. This thesis is aimed at portraying the problem associated with the selling of counterfeit goods on E-marketplaces as well as general characteristics of E-marketplaces, legal theories relevant to the secondary liability of E-marketplace. In addition, the thesis studied legal principles and cases which are relevant to the infringement of goods on E-marketplaces in Thailand and foreign countries with a view to analysing Thai laws so as to find criteria of liability of E-marketplaces which are suitable for Thai legal system. The methodology used in this thesis was qualitative research. All relevant documents, such as books, articles, past research, legal documents and other electronic sources were consulted as a basis for the study. The research found that there is a legal basis, either in theory or in jurisprudence rendered by courts, for holding E-marketplaces liable for any damage and pay compensation as secondary infringer which may differ from country to country. In the United States of America, the courts have developed legal principles which is so called contributory liability. For the German and French courts, they apply civil code by considering whether E-marketplace has acted intentionally or negligently. In China, the solution was to enact new laws. The most appropriate way for Thailand would be the application of Article 420 of the Civil and Commercial Code which is general principle for holding E-marketplaces liable for any damage in the same way as German and French courts have done. This is because Thailand is the civil law country so that the existing provisions have to be applied and relevant circumstances need to be considered.
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562