ความรับผิดทางแพ่งของอีมาร์เก็ตเพลสกรณีการจำหน่ายสินค้าที่ละเมิดเครื่องหมายการค้า
by ธีราภา ฉิมวัย
Title: | ความรับผิดทางแพ่งของอีมาร์เก็ตเพลสกรณีการจำหน่ายสินค้าที่ละเมิดเครื่องหมายการค้า |
Other title(s): | Civil Liability of E-Marketplace in the Case of Trademark Infringement |
Author(s): | ธีราภา ฉิมวัย |
Advisor: | กฤษฎากร ว่องวุฒิกุล |
Degree name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree department: | คณะนิติศาสตร์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2019 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
ในปัจจุบันมีการนำสินค้าที่ละเมิดเครื่องหมายการค้ามาจำหน่ายบนอีมาร์เก็ตเพลสอย่างแพร่หลายสร้างความเสียหายแก่เจ้าของเครื่องหมายการค้าเป็นอย่างมาก ในพฤติการณ์นี้อีมาร์เก็ตเพลส ไม่ได้เป็นผู้ที่ละเมิดเครื่องหมายการค้าโดยตรง เป็นแต่เพียงผู้ที่อนุญาตให้ผู้ขายนำสินค้าที่ละเมิดเครื่องหมายการค้ามาจัดแสดงบนพื้นที่ออนไลน์ของตนเท่านั้นหรือที่เรียกว่าเป็นผู้ละเมิดลำดับรอง ผู้เสียหายที่เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าสามารถเยียวยาความเสียหายได้โดยเครื่องมือที่สำคัญประการหนึ่งได้แก่การฟ้องร้องเป็นคดีแพ่งเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายจากเจ้าของอีมาร์เก็ตเพลสที่แม้จะไม่ได้เป็นผู้กระทำละเมิดโดยตรงก็ตาม แต่อย่างไรก็ดี กฎหมายแพ่งลักษณะละเมิดประเทศไทยยังไม่ได้บัญญัติเรื่องความรับผิดเพื่อการกระทำในลักษณะดังกล่าวเอาไว้โดยตรงและศาลไทยยังไม่เคยตัดสินคดีที่มีข้อเท็จจริงเช่นว่านี้มาก่อนที่สามารถใช้เป็นบรรทัดฐานได้ หากยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการจัดการกับปัญหาอาจสร้างความเสียหายให้กับการประกอบธุรกิจบนโลกออนไลน์ได้ รวมทั้งภาพลักษณ์ในด้านความน่าเชื่อถือของประเทศ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จัดทำโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงสภาพปัญหาของการจำหน่ายสินค้าที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในประเภทเครื่องหมายการค้าผ่านช่องทางอีมาร์เก็ตเพลส และลักษณะทั่วไปของอีมาร์เก็ตเพลส รวมถึงทฤษฎีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดของอีมาร์เก็ตเพลสจากการทำละเมิดของบุคลอื่น และเพื่อศึกษาถึงหลักกฎหมายและกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการทำละเมิดเครื่องหมายการค้าบนอีมาร์เก็ตเพลสของประเทศไทยและกฎหมายต่างประเทศเพื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบหลักกฎหมายของไทยที่เกี่ยวข้องกับการทำละเมิดเครื่องหมายการค้าที่กระทำผ่านอีมาร์เก็ตเพลสของประเทศไทย ทั้งนี้ ก็เพื่อค้นหาหลักเกณฑ์ความรับผิดของเจ้าของอีมาร์เก็ตเพลสในกรณีที่ผู้ขายสินค้านำสินค้าที่ละเมิดเครื่องหมายการค้ามาจำหน่ายบนอีมาร์เก็ตเพลสที่เหมาะสมกับระบบกฎหมายไทย
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ได้ทำการศึกษาโดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งจะค้นคว้าจากข้อมูลเอกสาร (Documentary Research) เป็นสำคัญ ทั้งที่เป็นข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ ตัวบทกฎหมาย ตำรา ผลงานการวิจัยที่เกี่ยวข้อง บทความ สิ่งตีพิมพ์ทางกฎหมายและข้อมูลจากเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว
จากการศึกษาจากการศึกษาพบว่าการที่จะให้เจ้าของอีมาร์เก็ตเพลสรับผิดในฐานละเมิดและต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหายนั้นในทางกฎหมายไม่ว่าจะเป็นในเชิงทฤษฎีหรือบรรทัดฐานที่ศาลต่างประเทศได้วางเอาไว้ยอมรับว่ามีฐานในทางกฎหมายที่จะเรียกให้เจ้าของอีมาร์เก็ตเพลสรับผิดในทางแพ่งได้ในฐานะที่เป็นผู้ละเมิดลำดับรอง (Secondary Infringer) ซึ่งแตกต่างกันออกไปตามระบบกฎหมาย ในประเทศสหรัฐอเมริกาศาลได้พัฒนาหลักกฎหมายที่เรียกว่าความรับผิดแบบมีส่วนร่วม (Contributory Liability) ส่วนศาลเยอรมันและฝรั่งเศสปรับใช้ประมวลกฎหมายแพ่ง โดยการวินิจฉัยถึงการกระทำของจำเลยที่เป็นเจ้าของอีมาร์เก็ตเพลสว่าจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ประเทศจีนนั้นบัญญัติกฎหมายขึ้นมาเฉพาะเพื่อแก้ปัญหา แต่สำหรับประเทศไทยแนวทางที่เป็นไปได้และเหมาะสมที่สุดคือการ คือ การปรับใช้มาตรา 420 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นบทบัญญัติทั่วไปเรื่องความรับผิดเพื่อการละเมิดสำหรับการกระทำของเจ้าของอีมาร์เก็ตเพลสเองตามแนวทางของประเทศเยอรมนีและฝรั่งเศสเนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์หรือระบบประมวลกฎหมายลายลักษณ์อักษร
การแก้ปัญหาจึงกระทำได้โดยการปรับใช้บทบัญญัติที่มีอยู่แล้วโดยให้เจ้าของอีมาร์เก็ตเพลสรับผิดในการกระทำของตนเอง โดยศาลอาจปรับใช้โดยพิจารณาจากพฤติการณ์อื่น ๆ ประกอบ รวมถึงการแก้ปัญหาด้านนโยบายโดยหน่วยงานภาครัฐ เช่น กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา กับภาคเอกชน เพื่อให้ทันต่อยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งส่งผลให้มีรูปแบบการกระทำละเมิดที่แตกต่าง และหลากหลายมากกว่าในอดีต และเพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าและเพื่อส่งเสริมให้มีการดำเนินธุรกิจออนไลน์โดยอยู่บนพื้นฐานของกฎหมายกล่าวคือ การดำเนินธุรกิจที่เคารพต่อสิทธิที่กฎหมายรับรองของบุคคลอื่น |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562 |
Subject(s): | Electronic commerce -- Law and legislation
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายการค้า -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ ความรับผิดทางแพ่ง |
Keyword(s): | e-Thesis
E-Marketplace |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 138 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์ |
Rights holder(s): | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5252 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|