ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมตอบโต้จากการถูกรังแกบนพื้นที่ไซเบอร์ของวัยรุ่นในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร
by ภัททชฎา คำพวง
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมตอบโต้จากการถูกรังแกบนพื้นที่ไซเบอร์ของวัยรุ่นในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors affecting reaction toward cyberbullying among teenagers in vocational colleges in Bangkok |
ผู้แต่ง: | ภัททชฎา คำพวง |
ชื่อปริญญา: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
ระดับปริญญา: | Master's |
สาขาวิชา: | บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ |
คณะ/หน่วยงาน: | คณะสถิติประยุกต์ |
หน่วยงานที่ประสาทปริญญา: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
ตัวระบุวัตถุจิจิทัล (ดีโอไอ): | 10.14457/NIDA.the.2016.149 |
หน่วยงานที่เผยแพร่: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ: |
การวิจัยคร้ังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาพฤติกรรมตอบโต้จากการถูกรังแกบนพื้นที่ไซเบอร์ โดยผ่านช่องทางการสื่อสารออนไลน์ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจตอบโต้จากการถูกรังแก บนพื้นที่ไซเบอร์ ของวัยรุ่นในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งการวิจัยคร้ังนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน นักศึกษา สังกัดอาชีวศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 544 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่ง ชั้นภูมิตามขนาด ของสถานศึกษา ทำการสำรวจโดยมีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมขอ้มูลและวิเคราะห์ ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป โดยสถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ Chi-Square, T-test (Independent Sample T-test) และการถดถอยลอจิสติค (Binary Logistic Regression)นักเรียนนักศึกษาอาชีวศึกษาที่เป็นตัวอย่างของการศึกษานี้ส่วนใหญ่เป็นเพศชายอาศัยอยู่กับบิดา มารดา ลักษณะที่อยู่อาศัยเป็นหมู่บ้าน/บ้านเดี่ยว กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้น ปวช. ประเภทวิชา พณิชยกรรม/บริหารธุรกิจ ส่วนใหญ่เคยถูกรังแกบนพื้นที่ไซเบอร์ในรูปแบบการนินทาลอเลี้ยน ด้วย วิธิการส่งข้อความ โดยพฤติกรรมตอบโต้กลับผ่านช่องทางFacebook ผลของการศึกษานี้พบว่า ร้อยละ 52.21 มีการตอบโต้กลับ แบบแผนที่สำคัญคือ มักจะใช้อินเทอร์เน็ตที่บ้านตอบโต้กลับ ซึ่งจะใช้ใน ช่วงเวลาหลังเลิกเรียนการตอบโตกลับ มีสาเหตุหลักในการตอบโต้มาจากการถูกรังแกก่อน โดยมีลักษณะ การตอบโต้อยู่ในรูปแบบการนินทาล้อเลียน ด้วยการส่งข้อความ และใช้ช่องทางFacebook จาก พฤติกรรมการตอบโต้ดังกล่าวนี้ชี้ให้เห็นว่าได้มีการพิจารณาไตร่ตรองก่อนการตอบโต้และจากผล การวิเคราะห์ปัจจยัที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในตอบโต้จากการถูกรังแกบนพื้นที่ไซเบอร์พบว่า ปัจจัยด้านลักษณะของเพื่อน โดยเฉพาะความรุนแรงของเพื่อน และกลุ่มเพื่อนอ้างอิงซึ่งสะท้อนอยู่ในตัวแปรระดับ ชั้น และประเภทของอาชีวศึกษา ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในตอบโต้จากการถูกรังแกมากกว่า ปัจจัยด้านลกัษณะส่วนบุคคลและครอบครัวอันได้แก่ เพศลักษณะการอยู่อาศัยบุคลิกภาพ รูปแบบของ การได้รับการอบรมเลี้ยงดูและความรู้เกี่ยวกับกฎหมายคอมพิวเตอร์ |
รายละเอียดเพิ่มเติม: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559 |
หัวเรื่องมาตรฐาน: | วัยรุ่น -- พฤติกรรม |
คำสำคัญ: | การรังแกทางไซเบอร์ |
ประเภททรัพยากร: | วิทยานิพนธ์ |
ความยาว: | 127 แผ่น |
ชนิดของสื่อ: | Text |
รูปแบบแฟ้มข้อมูล: | application/pdf |
ภาษา: | tha |
สิทธิในการใช้งาน: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5288 |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT) |
|
ดู ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|