ปัญหาการกำหนดความผิดและบทลงโทษ การกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปี
Files
Publisher
Issued Date
2016
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
170 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b195711
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
จริยาภรณ์ พงษ์รื่น (2016). ปัญหาการกำหนดความผิดและบทลงโทษ การกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปี. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5291.
Title
ปัญหาการกำหนดความผิดและบทลงโทษ การกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปี
Alternative Title(s)
Legal measures on determining criminal offenses and punishment regarding rape of child under 15
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวความคิด เจตนารมณ์ของการบัญญัติ กฎหมาย นิยามความหมาย ของคําว่า “ข่มขืนกระทําชําเรา” และ “กระทําชําเรา” สาระสําคัญของ องค์ประกอบความผิด และการกําหนดโทษ ในประเด็นการกระทําชําเราเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปี โดย การศึกษาวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบกฎหมายอาญาไทยกับกฎหมายอาญาหรือกฎหมายอื่นๆ ของ ต่างประเทศทั้งในระบบ Common Law คือสหรัฐอเมริกา และ Civil Law คือ สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐฝรั่งเศส จากการศึกษาตัวบทกฎหมาย องค์ประกอบความผิด ในการกระทําความผิดฐานกระทําชําเรา เด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีบริบูรณ์ ตามประมวลกฎหมายอาญาของไทยมาตรา 277 นั้น ได้บัญญัติท้าย การกระทําชําเราเด็ก ด้วยคําว่า “ไม่ว่าเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม” ทําให้การกระทําชําเราเด็กที่มี ลักษณะข่มขืนใจเด็กและฐานความผิดการกระทําชําเราเด็กโดยเด็กยินยอมรวมอยู่ในความผิดมาตรา เดียวกันและการกําหนดโทษเช่นเดียวกัน ถึงแม้ว่าประมวลกฎหมายอาญาฉบับปัจจุบัน พ.ศ.2558 จะ มีการแก้ไขโทษในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 277 ก็ตาม แต่เป็นเพียงการแก้ไขในส่วนของโทษ ปรับเท่านั้น โดยเหตุผลของการแก้ไขโทษปรับนั้น คือการปรับไปตามอัตราค่าเงินที่เปลี่ยนแปลงไป ตามสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ซึ่งการแก้ไขโทษปรับนั้น รัฐเป็นผู้ได้เงินจากโทษปรับ มิใช่ผู้เสียหาย ผู้เสียหายจักต้องฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนฐานละเมิดในทางแพ่งอีกทางหนึ่ง หรือใช้วิธีการเรียก ค่าเสียหายคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องอาญาก็ตาม แต่ฐานการกําหนดโทษจําคุกยังคงเป็นไปตามเดิม กล่าวคือ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 277 วรรคหนึ่ง กําหนดโทษจําคุก “ตั้งแต่สี่ปีถึงยี่สิบปี” ซึ่งเป็น อัตราโทษจําคุกที่เท่ากันกับมาตรา 276 วรรคหนึ่ง และตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 277 วรรค สาม กําหนดโทษจําคุก “ตั้งแต่เจ็ดปีถึงยี่สิบปี” สําหรับในส่วนการกําหนดฐานความผิดให้เป็นไปตาม ลักษณะของการกระทําความผิดยังขาดความชัดเจนแน่นอนอยู่ กล่าวคือ ยังคงปรากฏให้เห็นในคํา พิพากษาศาลต่างๆ มาเสมอว่าข้อเท็จจริงที่มีลักษณะเป็นการกระทําชําเราเด็กที่อายุไม่เกินสิบห้าปี ผู้กระทําจะถูกลงโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 277 วรรคหนึ่ง แต่ข้อเท็จจริงที่มีลักษณะ เป็นการกระทําชําเราต่อเด็กที่อายุไม่เกินสิบสามปี ผู้กระทําจะถูกลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 277 วรรคสาม และศาลจะใช้ดุลพินิจ ในการพิจารณาวินิจฉัยเพื่อพิพากษาลงโทษผู้กระทํา ความผิดจากข้อเท็จจริงในคดีที่เกิดขึ้นว่าเด็กผู้เสียหายยินยอมเองหรือถูกข่มขืนใจด้วย เป็นกรณีๆ ไป ทําให้ผู้เสียหายไม่ได้รับความคุ้มครองในเรื่องดังกล่าวอย่างเหมาะสม และยังทําให้การลงโทษผู้กระทํา ความผิดเป็นไปโดยไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ดังนั้น เพื่อให้กระบวนการวินิจฉัยคดีของศาลในการ ลงโทษผู้กระทําความผิดฐานกระทําชําเราเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปี ดําเนินไปได้โดยมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้สามารถลงโทษผู้กระทําความผิดได้ อย่างถูกต้องและเหมาะสมยิ่งขึ้น ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาหลัก ทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ หลักเกณฑ์การกําหนดอายุของบุคคลที่เป็น “เด็ก” วัตถุประสงค์ของการ ลงโทษของความผิดทางอาญา ประเภทของเหยื่ออาชญากรรม ความยินยอมกับการรับผิดทางอาญา การลงโทษในความผิดทั่วไปและความผิดที่ทําให้ผู้กระทําต้องรับโทษหนักขึ้น รวมถึงศึกษาตามแนวคิด การบัญญัติฐานความผิดและการลงโทษในประเทศต่างๆ ตลอดจนทฤษฎีหรือการอธิบายความหมาย ของคําว่า “การข่มขืนกระทําชําเรา” และ “การกระทําชําเรา”ของนักกฎหมายประเทศไทยและ ต่างประเทศ เพื่อให้ได้แนวทางที่เป็นประโยชน์และเหมาะสม ที่จะคุ้มครองผู้เสียหายให้ได้รับความ สงบสุขในสังคมได้อย่างแท้จริง จากการศึกษาหลักทฤษฎีต่างๆ ของนักกฎหมายต่างประเทศ ตลอดจนตัวบทกฎหมายและการกําหนดโทษของต่างประเทศ คือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน ลาว สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐฝรั่งเศส ในเรื่องการข่มขืนกระทําชําเราบททั่วไป การข่มขืนกระทํา ชําเราเด็ก การกระทําชําเราเด็กนั้น เห็นว่าแม้จะมีความแตกต่างในเรื่องการกําหนดเกณฑ์อายุของเด็ก ในแต่ละประเทศ แต่ทั้งสามประเทศมีการกําหนดฐานความผิดการข่มขืนกระทําชําเราเด็กซึ่งมีโทษสูง กว่าแยกออกจากความผิดฐานกระทําชําเราเด็กซึ่งมีโทษน้อยกว่าหรือเท่ากัน เมื่อเปรียบเทียบกับ ความผิดฐานข่มขืนกระทําชําเราบททั่วไป ซึ่งสามารถเรียงลําดับความหนักเบาของโทษตามฐาน ความผิด ดังนี้ ความผิดฐานข่มขืน กระทําชําเราเด็ก ความผิดฐานข่มขืนกระทําชําเรา ความผิดฐาน กระทําชําเราเด็ก เนื่องจากการกระทําชําเราหรือการข่มขืนกระทําชําเราต่อเด็ก เป็นการกระทําที่จะก่อให้เกิด ภยันตรายอันเป็นการละเมิดต่อคุณธรรมทางกฎหมาย (Rechtsgut) ที่กฎหมายประสงค์จะคุ้มครอง หรือเป็นการกระทําให้คนในสังคมเกรงว่าตนเองจะได้รับภยันตราย ผู้วิจัยประสงค์ให้ตัวบทกฎหมาย อาญาของไทยเป็นสิ่งที่คุ้มครองผู้เสียหาย ในเรื่องการข่มขืนกระทําชําเราเด็กอันเป็นเรื่องที่มีความ ละเอียดอ่อนและเป็นอันตรายต่อความรู้สึกของผู้เสียหายที่เป็นเด็กและผู้ปกครองของผู้เสียหายให้มี ประสิทธิภาพ กรณีนี้สมควรที่สภานิติบัญญัติของไทยจะนําแนวคิด และเจตนารมณ์ของการกําหนด ฐานความผิดและบทลงโทษในเรื่องการกระทําความผิดทางเพศต่อเด็ก ของต่างประเทศมาปรับใช้และ เป็นแนวทางในการพิจารณาวินิจฉัยประกอบข้อเท็จจริง เพื่อลงโทษผู้กระทําความผิดฐานข่มขืน กระทําชําเราเด็กหรือกระทําชําเราเด็ก แล้วแต่กรณีซึ่งจะเป็นการนําตัวผู้ต้องหาความผิดมา ลงโทษ ได้อย่างเหมาะสม ตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติกฎหมาย และยังจะเป็นการคุ้มครองผู้เสียหาย ให้ ได้รับความปลอดภัยมากขึ้น อันจะเป็นการส่งผลให้ศาลสามารถตัดสินคดีได้ โดยบริสุทธิ์ยุติธรรมสม กับเป็นที่พึ่งสุดท้ายของประชาชน
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559