• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ปัญหาการให้ความยินยอมในการใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาของเด็กและเยาวชน

by ธีรพันธ์ ก๋ำดารา

Title:

ปัญหาการให้ความยินยอมในการใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาของเด็กและเยาวชน

Other title(s):

The problem of giving a consent on special measures as an alternative to criminal prosecution against children and juveniles

Author(s):

ธีรพันธ์ ก๋ำดารา

Advisor:

วราภรณ์ วนาพิทักษ์

Degree name:

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree department:

คณะนิติศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2016

Digital Object Identifier (DOI):

10.14457/NIDA.the.2016.8

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

วิทยานิพนธ์เล่นนี้ได้ศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการนำเด็กหรือเยาวชนที่กระทำความผิดอาญา เข้าสู่แผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟู อันเป็นการคุ้มครองเด็กที่กระทำความผิด และเพื่อให้เด็กกลับเป็นคนดีคืน สู่สังคม อีกทั้งยังเป็นการแก้ปัญหาอาชญากรรมที่ต้นเหตุ ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์แห่งอนุสัญญาว่า ด้วยสิทธิเด็กที่ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีสมาชิก โดยวิธีการศึกษาวิจัยกฎหมายของต่างประเทศเพื่อ นำสิ่งที่กฎหมายต่างประเทศมีลักษณะอันไปตามวัตถุประสงค์แห่งอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กมากกว่า ของประเทศไทย อันประกอบไปด้วย ประเทศนิวซีแลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ประเทศญี่ปุ่น ประเทศ แคนาดา และ ประเทศสิงคโปร์โดยศึกษาเฉพาะประเด็นสำคัญอันเป็นเงื่อนไขในการนำเด็กเข้าสู่แผน แก้ไขบำบัดฟื้นฟูเท่านั้น เมื่อพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขฟื้นฟูเด็กที่กระทำความผิดเพื่อให้กลับคืนสู่ สังคมแล้ว ก็จะพบว่ามีมาตรา 86 แห่งพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดี เยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นกรณีที่อยู่ในชั้นก่อนฟ้องคดีที่กฎหมายสามารถนำเด็กสู่การ แก้ไขบำบัดฟื้นฟูได้โดยไม่ต้องฟ้องคดี ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งก็จะมี เงื่อนไขที่สำคัญที่ผู้วิจัยเห็นว่ายังไม่สอดคล้องกับตัวของเด็กผู้กระทำความผิดแต่ละคน อันจะนำไปสู่ การไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์แห่งอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก โดยเงื่อนไขสำคัญก็ได้แก่ อัตราโทษใน ความผิดที่เด็กเป็นผู้กระทำที่ต้องไม่เกิน 5 ปีและต้องได้รับความยินยอมจากผู้เสียหายในการที่จะนำ เด็กผู้กระทำความผิดเข้าสู่การแก้ไขบำบัดฟื้นฟูด้วย ซึ่งอัตราโทษดังกล่าวนั้นยังคงกว้างเกินไป ไม่อาจ แก้ไขกับผู้กระทำผิดที่มีลักษณะจิตใจและสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันได้ ส่วนความยินยอมของ ผู้เสียหายนั้นก็ยังมีปัญหาในความเป็นจริงที่อาจเกิดขึ้นได้ยาก หรืออาจต้องแลกกับบางสิ่งอันเป็นการเพิ่มภาระให้กับครอบครัวเด็กผู้กระทำความผิด เงื่อนไขแห่งกฎหมายเหล่านี้ล้วนเป็นอุปสรรคขัดขวาง การแก้ไขเด็กที่กระทำผิดผู้ซึ่งสมควรได้รับการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูให้เป็นคนดีคืนสู่สังคมทั้งสิ้น โดยผลการศึกษาพบว่าเงื่อนไขการเข้าสู่ แผนแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูของประเทศไทยนั้นยังมี ปัญหาในความไม่ชัดเจนของลักษณะการกระทำความผิดที่มากพอ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการแก้ไขที่ไม่ ตรงจุด ทั้งการกำหนดเงื่อนไขก่อนที่จะนำเด็กผู้กระทำความผิดเข้าสู่แผนการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูก็ยังมี ปัญหาโดยเฉพาะความยินยอมของผู้เสียหายที่เป็นอุปสรรค์สำคัญ ในขณะที่ต่างประเทศไม่ได้วาง หลักเกณฑ์อันเป็นการก่อให้เกิดอุปสรรค์เช่นนี้ แต่ใช้วิธีให้อำนาจกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องสามารถใช้ ดุลพินิจได้ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองเด็กผู้กระทำผิด ดังอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ข้อ 40(3) ข ที่กำหนดให้รัฐภาคีมีหน้าที่ส่งเสริมการตรากฎหมายที่เป็นการใช้เฉพาะกับเด็กที่ถูก กล่าวหาให้มีความแตกต่างจากผู้ใหญ่ โดยต้องใช้วิธีสำหรับเด็กเท่านั้น เพราะการแก้ปัญหาของเด็กนั้น กฎหมายไม่มีความประสงค์ไปที่การลงโทษให้เข็ดหลาบ แต่กฎหมายต้องการแก้ไขให้เด็กได้กลับคืน เป็นคนดีสู่สังคม จากผลการศึกษา ผู้วิจัยจึงได้มีข้อเสนอแนะในการวางเงื่อนไขก่อนที่จะนำเด็กหรือเยาวชน ผู้กระทำความผิดเข้าสู่แผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟู โดยวางหลักเกณฑ์เพิ่มเติมเพื่อให้ตรงกับความผิดและ ลักษณะของปัจจัยแห่งตัวผู้กระทำผิดมากยิ่งขึ้น เพิ่มอำนาจให้เจ้าหน้าที่มีส่วนเข้ามาเป็นผู้ใช้ดุลพินิจ ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์แห่งกฎหมายและอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กมากยิ่งขึ้น เพิ่มรายละเอียดใน เรื่องความยินยอมเพื่อให้สังคมได้มีส่วนเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นการสอดคล้องกับ สังคมและตัวเด็กที่มีความซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

Description:

วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559

Subject(s):

เด็กและเยาวชน -- กระบวนการยุติธรรม -- ไทย
เด็กและเยาวชน -- คดีอาญา
เด็ก -- สถานภาพทางกฎหมาย
สิทธิเด็ก

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

138 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5292
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b195710.pdf ( 2,306.19 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSL: Theses [208]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×