GSSDE: Theses
รายการที่เพิ่มล่าสุด
คุณภาพชีวิตแรงงานข้ามชาติ กรณีศึกษา แรงงานสัญชาติพม่า เขตตำบลมหาชัย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)
; การวิจัยเรื่อง “คุณภาพชีวิตแรงงานข้ามชาติกรณีศึกษา แรงงานสัญชาติพม่า เขตตำบล มหาชัย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อ ศึกษาคุณภาพชีวิตของแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่าที่ทำงานในเขตมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร 2) เพื่อศึกษาเงื่อนไขของสภาพปัญหาที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่าที่ เข้ามาทำงานในเขตมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร โดยใช้วิธีการศึกษาโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ทั้งสิ้น 18คน ผลการศึกษาพบว่าคุณภาพชีวิตของแรงงานข้าม...
กระบวนการมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ กรณีศึกษา โพสต์ทูเดย์ และแนวหน้า
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)
; การศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ กรณีศึกษา โพสต์ทูเดย์ และแนวหน้า มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนผ่านสื่อ ออนไลน์ และอิทธิพลของสื่อออนไลน์ที่มีต่อการพัฒนาทางการเมือง โดยใช้ระเบียบวิธีการศึกษา เชิงคุณภาพโดยการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ จัดทำเว็บไซต์ ผู้ดูแลเว็บไซต์บรรณาธกิารฝ่ายข่าวสาร และประชาชนผู้ตดิ ตามเว็บไซต์ข่าว ออนไลน์ จำนวน 16 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) หนังสือพิมพ์ออนไลน์มีบทบาทและมีส่วนร่วม ทางการเมืองผ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์โดยนำเสนอความจริง ให้ความรู้ ...
อัตลักษณ์ และการรักษาอัตลักษณ์ของคนไทยเชื้อสายมลายูที่ย้ายถิ่นมาตั้งถิ่นฐานในกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษา ชุมชนมุสลิม เสรีไทยซอย 4
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)
; งานวิจัยเรื่อง อัตลักษณ์ และการรักษาอัตลักษณ์ของคนไทยเชื้อสายมลายูที่ย้ายถิ่นมาตั้งถิ่นฐานในกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษา ชุมชนมุสลิม เสรีไทยซอย 4 มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ 1) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของคนไทยเชื้อสายมลายูที่อพยพมาอยู่กรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา ชุมชน มุสลิมเสรีไทย 4 2) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลง การปรับตัว และการรักษาอัตลักษณ์ของคนไทยเชื้อสายมลายูที่อพยพมาอยู่กรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา ชุมชนมุสลิมเสรีไทย 4 เป็นการศึกษาตามแนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการศึกษาโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึก มีผู้ให้ข้อ...
การนำนโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาพื้นที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)
; การศึกษาวิจัย “การนำนโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติ: กรณีศึกษา พื้นที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ ยาเสพติดในพื้นที่อำเภอกำแพงแสนจังหวัดนครปฐม 2) เพื่อศึกษาบริบทเชิงโครงสร้างทางสังคมที่ ส่งผลต่อกระบวนการนำนโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติในพื้นที่อำเภอ กำแพงแสน จังหวดันครปฐม และ3) เพื่อศึกษาปัจจยัที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวในการนำนโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติในพื้นที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม การศึกษาวิจัยในคร้ังนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข...
ทุนทางสังคมกับความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของชุมชนย่านเยาวราช
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)
; การศึกษาเรื่องทุนทางสังคมกับความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของชุมชนย่านเยาวราช มี วัตถุประสงค์ในการศึกษา 1) เพื่อศึกษาสถานะของทุนทางสังคมในชุมชนย่านเยาวราช 2) เพื่อ ศึกษาองค์ประกอบของทุนทางสังคมที่สร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจในชุมชนย่านเยาวราช และ 3) เพื่อศึกษาวิธีการนำทุนทางสังคมมาใช้ในการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจในชุมชนย่าน เยาวราช ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ ซึ่งได้ทำการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประวัติความ เป็นมาของชาวไทยเชื้อสายจีน และประวัติความเป็นมาของชุมชนเยาวราช วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ของชาวไทยเชื้อสายจีนในชุมชนย่านเยาวราช รวมถึงทุนทางส...
พลวัตการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติบนพื้นฐานทุนทางสังคมในชุมชนคลองทะเล จังหวัดพังงา
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษากระบวนการเคลื่อนไหวของกลุ่ม
ชาวบ้านและพลวัตของการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติโดยชุมชน บนพื้นฐานทุนทางสังคมในชุมชน
คลองทะเล 2) เพื่อศึกษาลักษณะของทุนทางสังคมที่ชุมชนน ามาใช้ขับเคลื่อนการปกป้อง
ทรัพยากรธรรมชาติ 3) เพื่อศึกษาผลของการน าทุนทางสังคมมาใช้ขับเคลื่อนในกระบวนการปกป้อง
ทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน การด าเนินการวิจัยเป็นไปตามแนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวม
ข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลที่ส าคัญ 15 ราย และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม
วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการท าความเข้าใจกับควา...
ปัญหาของผู้สูงอายุกับการจัดสวัสดิการชุมชนในเขตเมือง: ศึกษากรณี 2 ชุมชน ในเขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)
; การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการดำรงชีพ/การใช้ชีวิตประจำวันของ
ผู้สูงอายุในชุมชนคลองพลับพลาและชุมชนรุ่งมณีพัฒนา 2) ศึกษาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในชุมชน
คลองพลับพลาและชุมชนรุ่งมณีพัฒนา 3) ค้นหาข้อเสนอแนะในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในชุมชน
คลองพลับพลาและชุมชนรุ่งมณีพัฒนา
คุณภาพชีวิตการทำงานและความมั่นคงในอาชีพของนักฟุตบอลไทย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)
; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทําการศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทํางานและความมั่นคงในอาชีพของนักฟุตบอลไทยที่สังกัดบริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จํากัด ทั้ง 8 ด้าน ได้แก่ ด้านรายได้และผลตอบแทน ด้านสวัสดิการและหลักประกันการทํางาน ด้านโอกาสในการพัฒนาทักษะและความสามารถ ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในอาชีพ ด้านความสมดุลระหว่างชีวิตการทํางานและชีวิตส่วนตัว ด้านความสัมพันธ์ที่ดีในทีม ด้านโอกาสทางสังคมและการมีส่วนร่วมที่เท่าเทียมกัน และด้านสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง และเพื่อเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตการทํางานและความมั่นคงในอาชีพของนักฟุตบอลไทยที่สังกัดบริษัท ...
ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมป้องกันการรับและแพร่โรคในชีวิตประจำวันของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)
; การวิจัยเรื่องนี้ เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เปรียบเทียบ ซึ่งมีกรอบแนวคิดพื้นฐานมาจากรูปแบบทฤษฎีปฏิสัมพันธ์นิยม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวทำนายที่สำคัญของปัจจัยด้านจิตลักษณะและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมป้องกันการรับและแพร่โรคในชีวิตประจำวัน กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 จำนวน 485 คน จากมหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประกอบด้วยเพศชาย 166 คน (34.2%) และเพศหญิง 319 คน (65.8%) อายุเฉลี่ย 21 ปี 4 เดือน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นกำหนดโควต้า โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลในกลุ่มรวม และใน 18 กลุ่มย่อย ซึ่งแบ่งตามลัก...
ปัญหาการเลี้ยงดูเด็กและการจัดสวัสดิการชุมชนในเมือง: ศึกษากรณี 4 ชุมชนในเขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)
; การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาการเลี้ยงดูเด็กและการจัดสวัสดิการเด็กในชุมชนเมือง 4 ชุมชน 2) เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาการเลี้ยงดูเด็กของบิดามารดาในชุมชนเมือง 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดสวัสดิการเด็กที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของคนในชุมชนเมือง ด้วยวิธีวิจัยแบบผสมทั้งวิธีวิจัยเชิงปริมาณและวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณในการเก็บรวบรวมข้อมูลครอบครัวที่มีเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 4 ปี ในภาพรวมของทั้ง 4 ชุมชน และวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งเป็นวิธีหลัก โดยการสัมภาษณ์เจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญทั้ง...
การปรับตัวทางวัฒนธรรมของคนไทยเชื้อสายจีน: กรณีศึกษาคนไทยเชื้อสายจีน ย่านเยาวราช
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)
; การศึกษาเรื่องการปรับตัวทางวัฒนธรรมของคนไทยเชื้อสายจีน กรณีศึกษาคนไทยเชื้อสายจีน ย่านเยาวราช มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 1) เพื่อศึกษาถึงวิถีชีวิตของคนไทยเชื้อสายจีนผ่านทางขนบธรรมเนียมประเพณี 2) เพื่อศึกษาถึงการปรับตัวทางวัฒนธรรมของคนไทยเชื้อสายจีน ในย่านเยาวราช 3) เพื่อศึกษาถึงวิธีการขัดเกลาทางสังคมในระดับครอบครัวของคนไทยเชื้อสายจีนในย่านเยาวราช ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ ซึ่งได้ทําการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการปรับตัวทางวัฒนธรรมของคนไทยเชื้อสายจีน โดยศึกษาจากการทบทวนเอกสารที่มีความน่าเชื่อถือ ตํารา บทความทางวิชาการ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง...
ผลของการท่องเที่ยวต่อการเปลี่ยนแปลง และการปรับตัวของชุมชนบึงสีไฟ จังหวัดพิจิตร
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)
; การศึกษาเรื่องผลของการท่องเที่ยวต่อการเปลี่ยนแปลง และการปรับตัวของชุมชนบึงสีไฟจังหวัดพิจิตร มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อ 1) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของชุมชนบึงสีไฟ ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เมื่อมีการพัฒนาการท่องเที่ยว ตําบลท่าหลวง อําเภอเมือง จังหวัดพิจิตร 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของชุมชนบึงสีไฟเพื่อสนองต่อการท่องเที่ยวและ 3) ศึกษาการปรับตัวของชุมชนบึงสีไฟต่อการพัฒนาการท่องเที่ยว กรณีศึกษาชุมชนบึงสีไฟ ตําบลท่าหลวง อําเภอเมือง จังหวัดพิจิตร โดยการศึกษาครั้งนี้ใช้การศึกษาโดยการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก เพื่อให้ไ...
วัฒนธรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของวัยรุ่นในสังคมพหุวัฒนธรรม: กรณีศึกษา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
(สถาบันบัณพิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)
; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการมีส่วนร่วมทางการเมืองของวัยรุ่นใน
สังคมพหุวัฒนธรรม เพื่อศึกษาทัศนะของวัยรุ่นต่อลักษณะการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่พึงประสงค์
และเพื่อศึกษาแนวทางการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมทางการเมืองของวัยรุ่น โดยใช้วิธีการวิจัยเชิง
คุณภาพ (Qualitative Research) เป็นหลักโดยอาศัยกระบวนการและวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก
(In-depth Interview) กับผู้รู้หรือผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ (Key-Informant)และทำการตรวจสอบข้อมูล
โดยใช้เทคนิคสามเส้า (Triangulation Technique)
การประเมินโครงการบ้านมั่นคง: กรณีศึกษาชุมชนตำบลบางโปรง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
(สถาบันบัณพิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)
; การประเมินโครงการบา้นมนั่ คง:กรณีศึกษา ชุมชนตำบลบางโปรง อำเภอเมือง จังหวัด
สมุทรปราการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินการดำเนินงานโครงการบ้านมั่นคง ชุมชนตำบลบาง
โปรง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ในด้านปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และผลลัพธ์
2) ศึกษาปัญหา อุปสรรคทั้งให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการดำเนินงานโครงการบ้านมั่นคง
ความอยู่ดีมีสุขของผู้สูงอายุกับการพัฒนาอุตสาหกรรมในอำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา
(สถาบันบัณพิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)
; การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในชุมชนอันเนื่องมาจาก
การพัฒนาอุตสาหกรรมในอ าเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา 2) ศึกษาความอยู่ดีมีสุขของผู้สูงอายุ
ในชุมชนที่ตั้งอยู่ใกล้เขตนิคมอุตสาหกรรมและชุมชนที่ตั้งอยู่ห่างจากเขตนิคมอุตสาหกรรม และ
3) วิเคราะห์ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมต่อความอยู่ดีมีสุขของผู้สูงอายุในชุมชน
วิธีการศึกษาใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research Approach) ท าการรวบรวม
ข้อมูลด้วยกรณีศึกษา (Case Study) และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-participant
Observation) การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางก...
การนำนโยบายแรงงานต่างด้าวไปปฏิบัติ: ศึกษาบทบาทของบริษัทจัดหาแรงงานต่างด้าว จังหวัดเชียงใหม่
(สถาบันบัณพิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)
; งานชิ้นนี้เป็นการศึกษาบทบาทของบริษัทจัดหาแรงงานต่างด้าวและปัจจัยที่มีผลต่อ
ความสำเร็จและความล้มเหลว ในการนำนโยบายแรงงานต่างด้าวไปปฏิบัติวิธีการศึกษาเป็นแบบ
ผสมผสาน การศึกษาเชิงคุณภาพเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 13 ราย ประกอบด้วย
ตัวแทนบริษัทจัดหาแรงงานต่างด้าว ผู้ว่าจ้างแรงงานต่างด้าว และเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง เสริมด้วย
การศึกษาเชิงปริมาณจากการเก็บแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างแรงงานต่างด้าว 400 ราย การศึกษา
ชิ้นนี้เป็นการศึกษาภายใต้ขอบเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ วิเคราะห์ผลการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการ
วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ...
ปัจจัยพื้นฐานทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองทีมีผลต่อความเข้มแข็งของชุมชนอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
; การวิจัย มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความเข้มแข็งของชุมชน (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยพื้นฐานทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง กับความเข้มแข็งของชุมชน โดยมีการศึกษาหมู่บ้านตามเขตการปกครองท้องที่ในอําเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณ
ผลการวิจัย พบว่า ความเข้มแข็งของชุมชนอําเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีอยู่ในร...
รูปแบบและวิธีการควบคุมทางสังคมต่อความเป็นหนึ่งเดียวกัน: กรณีศึกษาชุมชนพฤกษา
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
; การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) รูปแบบการควบคุมทางสังคมของชุมชน 2) วิธีการนำการควบคุมทางสังคมไปใช้เพื่อความเป็นหนึ่งเดียวกันของชุมชน 3) แนวโน้มของการควบคุมทางสังคม ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเน้นไปที่การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จากผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ
(Key-informant) เป็นจำนวน 15 คน การวิเคราะห์ใช้วิธีการตีความและใช้การวิเคราะห์บริบท (Contextual Analysis) ควบคู่ไปกับการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลด้วยเทคนิคสามเส้าในทุก ๆ ขั้นตอนเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริง
การเสริมสร้างลักษณะผู้ประกอบการในชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนบ้านหนองนาคา ตำบลหนองระเวียง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
; การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) ศึกษาความหมาย คุณลักษณะของผู้ประกอบการในชุมชน 2) ศึกษาวิธีและแหล่งเสริมสร้างคุณลักษณะของผู้ประกอบการในชุมชน 3) ศึกษาปัญหา/อุปสรรค แนวทางแก้ไขการเสริมสร้างลักษณะผู้ประกอบการในชุมชน ส่วนการศึกษาใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In–depth Interviews) เก็บข้อมูลจากผู้ประกอบการในชุมชน จำนวน 15 คน ในการศึกษาวิเคราะห์ใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ผลการศึกษาพบว่า
การมีส่วนร่วมในวิสาหกิจชุมชนกับคุณภาพสังคมของประชาชนในชุมชนท่าข้าม ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
; การศึกษานี/มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในวิสาหกิจชุมชนในชุมชนท่าข้าม 2) ศึกษาคุณภาพสังคมในมิติต่าง ๆ ของประชาชนในชุมชนท่าข้าม 3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมในวิสาหกิจชุมชนกับคุณภาพสังคมของประชาชนในชุมชนท่าข้าม 4) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพสังคมของผู้ที่เป็นสมาชิกวิสาหกิจชุมชนจํานวนแตกต่างกัน
การศึกษาครั้งนี้เลือกพื้นที่ศึกษาแบบเฉพาะเจาะจง คือ ชุมชนท่าข้าม ตําบลท่าข้าม อําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งมีจํานวนหมู่บ้านทั้งหมด 8 หมู่บ้านและมีประชากรที่เป็นสมาชิกวิสาหกิจชุมชนต่าง ๆ รวมทั้งสิ้นจํานวน 4,223 คน ทําการศึ...