การศึกษาส่วนประสมทางการตลาดในพื้นที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
by กมล สงบุญนาค
Title: | การศึกษาส่วนประสมทางการตลาดในพื้นที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย |
Other title(s): | Study of marketing mixed in Chiangkhong District, Chiangrai Province |
Author(s): | กมล สงบุญนาค |
Advisor: | ชัยยุทธ ชิโนกุล |
Degree name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | เทคโนโลยีการบริหาร |
Degree department: | คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2016 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2016.148 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
งานวิจยเรื่องนี้เป็นงานวิจยเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ประกอบการที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดในพื้นที่ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 273 ตัวอย่าง โดยได้ทำการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) แบ่งตามตำบลในอำเภอเชียงของจังหวัดเชียงราย เป็น 7 ตำบล และแบ่ง ตามประเภทของสถานประกอบการในอำเภอเชียงของจังหวัดชียงรายออกเป็น 3 ประเภท แล้วทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) และใช้ แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล ผลการวิจยพบว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายระหว่าง 30-39 ปีมีการศึกษา อยู่ในระดับปริญญาตรีโดยผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีทุนจดทะเบียนของกิจการอยู่ที่ 100,000- 500,000 บาท ดำเนินกิจการมาแลว้ 6-10 ปีและใช้เงินทุนส่วนตัวในการลงทุนดำเนินกิจการ มีรายได้ในการดำเนินกิจการเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 50,000-100,000 บาท โดยผู้ประกอบการส่วนใหญ่ เลือกใช้สื่อสิ่งพิมพ์เช่นนิตยสาร หนังสือพิมพ์แผ่นพับ เป็นสื่อโฆษณาและมีการใช้คอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์เข้ามาใช้ในการดำเนินงานของกิจการ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายนอกโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีความคิดเห็นต่อมีนโยบายการส่งเสริมการค้าของนักการเมืองท้องถิ่นต่อ ผู้ประกอบการในพื้นที่อยู่ในระดับมากที่สุด และมีความคิดเห็นต่อความรู้เกี่ยวกับกฎหมายการค้า ระหว่างประเทศของผู้ประกอบการอยู่ในระดับน้อยที่สุด ในส่วนปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดพบว่า ผู้ประกอบการมีความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในดานกระบวนการอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วน ความคิดเห็นต่อส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ด้านราคาด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากรและด้านลักษณะทางกายภาพอยู่ในระดับมาก และจากการ ทดสอบสมมติฐานพบว่า ผู้ประกอบการที่มีอายุระดับการศึกษา ระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อส่วนประสมทางการตลาดในพื้นที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงรายแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้ประกอบการมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ได้แก่ รัฐบาลควรส่งเสริมเงินลงทุนกับ ผู้ประกอบการรายเล็ก เช่น เงินกู้จากธนาคาร หรือกองทุนต่างๆ ส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว และ จัดการส่งเสริมการตลาดให้มากยิ่งขึ้นเพื่อส่งเสริมการค้าการลงทุนในพื้นที่ |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เทคโนโลยีการบริหาร))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559 |
Subject(s): | พฤติกรรมผู้บริโภค
การตลาด |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 228 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5319 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|