การบริโภคอาหารของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพมหานคร
by ศลาลิน ดอกเข็ม
Title: | การบริโภคอาหารของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพมหานคร |
Other title(s): | The food consumption of junior high school students in Bangkok |
Author(s): | ศลาลิน ดอกเข็ม |
Advisor: | พาชิตชนัต ศิริพานิช, อาจารย์ที่ปรึกษา |
Degree name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สถิติประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศ) |
Degree level: | ปริญญาโท |
Degree discipline: | สถิติประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศ |
Degree department: | คณะสถิติประยุกต์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2011 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2011.18 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษาเรื่องนีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และพฤติกรรมการบริโภคอาหารตลอดจน ความสัมพันธ์ระหว่างขนาดรูปราง ลักษณะทัวไป ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร และพฤติกรรม การบริโภคอาหารของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการ เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามการบริโภคอาหาร ซึ่งมีความเชื่อมันตามตัวชี้วัดของครอนบาค เท่ากบ 0.8943 เก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวอย่างที่่สุ่มจากนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นใน กรุงเทพมหานคร โดยใช้แผนการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม ขั้น ขนาดตัวอย่างที่่ใช้ในการศึกษา จํานวน 694 คน ซึ่งสุ่มมาจากโรงเรียนในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานครเขต 1 จํานวน 3 โรงเรียน ผลการศึกษา พบว่า เพศ เกรดเฉลี่ยสะสม และระดับการศึกษาสูงสุดของพ่อแม่หรือ ผู้ปกครองมีผลตอความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นใน กรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ 5% แตพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่มีความแตกต่างระหว่างเพศ ระดับชั้นที่ศึกษา เงินที่ได้รับจากพ่อแม่หรือผู้ปกครองเฉลี่ยต่อวัน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของพ่อแม่หรือผู้ปกครอง นอกจากนี้ยังพบว่า ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารและพฤติกรรม การบริโภคอาหารมีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกอย่างมีนัยสําคัญระดับสูง ( และพบว่า เพศและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของพ่อแม่หรือผู้ปกครองมีความสัมพันธ์กับขนาดรูปร่างอย่างมีนัยสําคัญ ระดับสูง ส่วนเงินที่ได้รับจากพ่อแม่หรือผู้ปกครองเฉลี่ยต่อวันและระดับการศึกษาสูงสุดของพ่อแม่ หรือผู้ปกครองมีความสัมพันธ์กับขนาดรูปรางอย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ 5% ท้ายที่สุดพบว่า นักเรียนมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการบริโภคอาหารอยู่ในระดับมาก/ดี แต่ มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสมอยูในระดับปานกลาง นั้นคือ แม้นักเรียนมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการบริโภคอาหารแต่อาจไม่ได้เห็นความสําคัญเกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง มากนักจึงไม่ได้นํามาปฏิบัติจริง จากการศึกษาครั้งนี้พบว่านักเรียนที่มีรูปร่างท้วมมากถึงร้อยละ 67.00 และมีรูปร่างเริ่มอ้วนถึงอ้วนร้อยละ 13.69 |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (สถิติประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2011 |
Subject(s): | พฤติกรรมผู้บริโภค
การบริโภคอาหาร |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 12, 82 แผ่น ; 30 ซม. |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/533 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|