โครงสร้างตลาดเงินฝากระยะยาวในประเทศไทย
Files
Publisher
Issued Date
2016
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
82 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b194304
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
กวิน ภักดีกุลสัมพันธ์ (2016). โครงสร้างตลาดเงินฝากระยะยาวในประเทศไทย. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5331.
Title
โครงสร้างตลาดเงินฝากระยะยาวในประเทศไทย
Alternative Title(s)
Market structure of long-term deposits in Thailand
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
เงินฝากระยะยาวถือเป็นแหล่งการออมหลักของบุคคลทั่วไปที่จัดว่ามีความเสี่ยงน้อยที่สุด นอกเหนือจากการออมแล้ว วัตถุประสงค์ของการฝากเงินระยะยาวยังรวมไปถึงการลงทุนเพื่อให้ ได้มาของผลตอบแทนที่เป็นไปตามอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำด้วย และธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งมีการเสนออัตราผลตอบแทนดอกเบี้ยเงินฝากระยะยาวแตกต่างกันอยู่บ้าง ซึ่งเปรียบเสมือนการที่ผู้ผลิตเสนอราคาของสินค้าที่แตกต่างกันในตลาด การศึกษาโครงสร้างตลาดเงินฝากระยะยาวนี้จึงเป็นสิ่งที่มีความน่าสนใจ งานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาโครงสร้างตลาดเงินฝากระยะยาวใน ประเทศไทยว่าเป็นโครงสร้างตลาดที่มีการผูกขาด กึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด หรือว่าแข่งขันสมบูรณ์ โดย ทำการทดสอบด้วยวิธีการของ Panzar Rosse เพื่อทดสอบโครงสร้างตลาดด้วยค่าสถิติ H ที่ หมายถึงผลรวมค่าความยืดหยุ่นของรายรับรวมต่อราคาปัจจัยการผลิต จากนั้นได้มีการจำลองตัว แบบสมการโครงสร้าง ประกอบด้วยสมการต้นทุนรวม และสมการอุปสงค์เงินฝากระยะยาว คำนวณห่าค่าดัชนีชี้วัดอำนาจผูกขาด เพื่อเปรียบเทียบอำนาจผูกขาดของธนาคารพาณิชย์ใน ประเทศไทย จากการศึกษาพบว่าโครงสร้างตลาดเงินฝากระยะยาวของไทยมีลักษณะโครงสร้างเป็นแบบผูกขาดในปี พ.ศ. 2557 และมีแนวโน้มที่ธนาคารพาณิชย์จะผูกขาดน้อยลงในปี พ.ศ. 2558 โดยในปี ดังกล่าวธนาคารพาณิชย์มีโครงสร้างตลาดแบบกึ่งแข่ง กึ่งผูกขาด ซึ่งการเปลี่ยนแปลง เหล่านี้อาจเป็นผลมาจากปัจจัยภายนอก เช่นภาวะเศรษฐกิจในประเทศ การเติบโตขึ้นของตลาด สินเชื่อในปี พ.ศ. 2558 เป็นต้น ส่วนผลการศึกษาจากแบบจำลองสมการโครงสร้าง พบว่าธนาคาร พาณิชย์แต่ละแห่งมีการด าเนินกิจการด้วยต้นทุนส่วนเพิ่มที่แตกต่างกัน แต่โดยภาพรวมแล้ว ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่มีแนวโน้มที่จะมีต้นทุนส่วนเพิ่มน้อยกว่าธนาคารพาณิชย์ขนาดกลาง ในขณะที่ธนาคารพาณิชย์ขนาดกลางจะมีข้อได้เปรียบต่อธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่สำหรับการลงทุนในสินทรัพย์ เนื่องจากหากมีการเพิ่มสินทรัพย์ในปริมาณที่เท่ากันธนาคารพาณิชย์ขนาด กลางจะมีต้นทุนรวมที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ประกอบกับในขณะนี้ธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งให้ความสำคัญกับระบบธนาคารอีเล็กทรอนิกส์ที่ต้องมีการลงทุนสูงในอุปกรณ์ เครื่องมือทางการเงิน ระบบที่สร้างความปลอดภัย และทันสมัย ซึ่งสินทรัพย์ทุนเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะทดแทนแรงงานในระยะยาวได้เป็นอย่างดีดังนั้นจากการศึกษานี้จึงเป็นแนวทางในการกำหนด ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนของธนาคารพาณิชย์ เพื่อสร้างศักยภาพการแข่งขันในอุตสาหกรรม ธนาคารพาณิชย์ทั้งในระยะสั้น และระยะยาวได้
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559