ความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษารายจังหวัดในประเทศไทย
Files
Publisher
Issued Date
2016
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
95 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b194303
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
หัสนี อับดุลมายิส (2016). ความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษารายจังหวัดในประเทศไทย. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5332.
Title
ความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษารายจังหวัดในประเทศไทย
Alternative Title(s)
Educational inequality in Thailand
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
บทความนี้เสนอการวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำ ของการศึกษาระดับจังหวัดพร้อมกับการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการไม่ได้เรียนของประชากรกลุ่มอายุ13 – 18 ปี โดยใช้ทฤษฎีทุนมนุษย์ และแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์เป็นกรอบการวิจัย ใช้ผลการสำรวจครัวเรือนของสำนักงานสถิติแห่งชาติปีพ.ศ. 2556 ซึ่งสะท้อนการไม่บรรลุเป้าหมายของดำเนินนโยบายแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ โดยแบ่งการศึกษาเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่1การวิเคราะห์ขอ้ มูลสถิติและตัวชี้วัดทางการศึกษาที่เป็น ปัจจัยสำคัญต่อการประกอบการตัดสินใจในการพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพเพื่อยกระดับการศึกษา ระดับจังหวัด ผลสรุปสำคัญคือ อัตราการไม่ได้เรียนในระดับประถมศึกษามีค่าเฉลี่ยทั้งประเทศที่ ร้อยละ 13.6ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่ร้อยละ 7.1 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่ร้อยละ 30.2และ ระดับอุดมศึกษาร้อยละ 76.3 เมื่อพิจารณาการไม่ได้เรียนรายจังหวัดพบว่ากลุ่มจังหวัดทางภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีอัตราการไม่ได้เรียนสูงกว่ากลุ่มจังหวัดในภูมิภาคอื่น อย่างไรก็ ตามจากขอ้มูลเชิงประจักษ์พบว่า มีความแตกต่างระหว่างจังหวัดและภูมิภาคพอสมควร ส่วนที่2การวิเคราะห์ทางเศรษฐมิติในการศึกษาปัจจยัที่ส่งผลต่อการไม่ได้เรียนของกลุ่ม ตัวอย่างโดยใช้แบบจำลองสมการเกี่ยวเนื่อง (Simultaneous Equations) ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดย จะวิเคราะห์สมการ 2 ระดับการศึกษา คือ สมการที่หนึ่ง วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่ได้เรียน ของประชากรในระดับการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นพบว่า จำนวนโรงเรียนมัธยมต้น จำนวน ประชากรอายุ 13 -15 ปี ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อประชากร และงบประมาณกระทรวงศึกษาธิการต่อ ประชากร มีความสัมพันธ์กับการไม่ได้เรียนในทิศทางลบ ร้อยละของโรงเรียนที่ได้คะแนนเฉลี่ยผล การสอบ O-NET ม.3 มากกว่า 50คะแนน และจังหวัดชายแดนใต้ มีความสัมพันธ์กับการไม่ได้เรียน ในทิศทางบวก สมการที่สองวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่ได้เรียนของประชากรในระดับ การศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า จำนวนโรงเรียนมัธยมปลาย ประชากรอายุ 16 -18 ปีร้อยละของโรงเรียนที่ได้คะแนนเฉลี่ยผลการสอบ O-NET ม.6 มากกว่า 50คะแนน ผลิตภัณฑ์มวลรวม ต่อประชากรและงบประมาณกระทรวงศึกษาธิการต่อประชากร มีความสัมพันธ์กับการไม่ได้เรียน ในทิศทางลบ และจังหวัดชายแดนใต้ มีความสัมพันธ์กับการไม่ได้เรียนในทิศทางบวก
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559