การเข้าถึงการศึกษาปฐมวัยและพัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียนในประเทศกำลังพัฒนา : หลักฐานเชิงประจักษ์จากประเทศไทย
by อรพรรณ บัวอิ่น
Title: | การเข้าถึงการศึกษาปฐมวัยและพัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียนในประเทศกำลังพัฒนา : หลักฐานเชิงประจักษ์จากประเทศไทย |
Other title(s): | Access to pre-primary education and child development outcomes in developing countries: empirical evidences from Thailand |
Author(s): | อรพรรณ บัวอิ่น |
Advisor: | พิริยะ ผลพิรุฬห์ |
Degree name: | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ |
Degree department: | คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2016 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2016.134 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
เนื่องจากการศึกษาในระดับชั้นปฐมวัยโดยส่วนใหญ่ไม่ได้จัดอยู่ในระบบการศึกษาภาคบังคับ จึงส่งผลให้การส่งลูกเข้าเรียนในระดับการศึกษาดังกล่าวเป็นความสมัครใจของแต่ละครอบครัว และส่งผลทำให้บางครอบครัวเลือกที่จะไม่ส่งลูกหลานเข้าเรียนในชั้นการศึกษาดังกล่าว โดยปัญหาการเข้าถึงในระดับชั้นปฐมวยัจะยิ่งรุนแรงขึ้นในประเทศกำลังพัฒนาที่การจัดการเรียน การสอนในชั้นปฐมวัยยังไม่สามารถครอบคลุมได้อย่างทั่วถึง งานศึกษาชิ้นนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ ประมาณการโอกาสในการเข้าเรียนในระดับชั้นปฐมวัยและวิเคราะห์ถึงผลได้ของการเข้าเรียน ดังกล่าวต่อพัฒนาการของเด็กก่อนวัยเรียนในกรณีของประเทศกำลังพัฒนาโดยใช้ข้อมูลการสำรวจ ระดับชาติในประเทศไทยเป็นกรณีศึกษา จากการใช้ข้อมูลดิบจากการสำรวจสถานการณ์เด็กและ สตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2555 พบว่า นอกเหนือจากปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและสังคมโดยทั่วไป แล้วระดับการศึกษาของมารดาหรือผู้ดูแลหลักเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความน่าจะเป็นในการได้รับ โอกาสการเข้าเรียนในช้ันปฐมวัยของลูก โดยการประมาณพบว่าเมื่อมารดาหรือผู้ดูแลหลักมีการศึกษาที่สูงขึ้นเด็กจะมีโอกาสในการเข้าถึงการเรียนในชั้น ปฐมวัยเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่า การเข้าถึงการศึกษาช้ันปฐมวัยยังคงมีความเหลื่อมล้า โดยสังเกตได้จากปัจจัยทางด้านฐานะทาง เศรษฐกิจของครอบครัวซึ่งก็มีผลต่อโอกาสในการได้เรียนด้วยเช่นกัน และในการประมาณการ ผลได้ของการศึกษาในระดับปฐมวัยต่อพัฒนาการของเด็กพบว่า เมื่อควบคุมตัวแปรทุกอย่างแล้ว เด็กที่ได้เรียนในระดับชั้นปฐมวัยจะมีแนวโน้มที่จะมีพัฒนาการที่สูงกว่าเด็กที่ไม่มีโอกาสเรียนในชั้นปฐมวัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยเฉพาะพัฒนาการทางด้านสติปัญญา การศึกษานี้จึงเป็นงาน หนึ่งที่สนับสนุนการที่รัฐควรพยายามขยายโอกาสในการเข้าถึงการเรียนในระดับชั้น ปฐมวัยให้อย่างทั่วถึง พร้อมทั้งยกระดับ การให้บริการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ตั้งอยู่ในชนบทห่างไกลของประเทศ |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559 |
Subject(s): | การศึกษาปฐมวัย
การศึกษา -- แง่เศรษฐกิจ พัฒนาการของเด็ก -- ไทย -- วิจัย เด็กวัยก่อนเข้าเรียน |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 63 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5333 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|